อิทธิพลของการรับรู้ความรุนแรง ความแตกฉานด้านสุขภาพ และ การสนับสนุนจากครอบครัวต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • จิตอารี ซอนสุข Faculty of Public Health, Chiang Mai University
  • เพียรชัย คำวงษ์ Faculty of Associated Medical Science, Chiang Mai University

คำสำคัญ:

การรับรู้ความรุนแรง, ความแตกฉานด้านสุขภาพ, การสนับสนุนจากครอบครัว, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, โรคข้อเข่าเสื่อม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของการรับรู้ความรุนแรงของโรค ความแตกฉานด้านสุขภาพ และการสนับสนุนจากครอบครัวต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ อายุเฉลี่ย 69 ± 7.31 ปี จำนวน 411 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม ความแตกฉานด้านสุขภาพขั้นพื้นฐาน การสนับสนุนจากครอบครัว และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ความรุนแรงของโรคอยู่ในระดับสูงร้อยละ 70.56 ความแตกฉานด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานของโรคข้อเข่าเสื่อมอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 61.80 ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 62.29 และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 79.30 ตัวแปรทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุได้ ร้อยละ 7.62 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2=0.076, p<0.001) โดยความแตกฉานด้านสุขภาพสามารถทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุได้มากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) รองลงมาคือการรับรู้ความรุนแรง (p<0.01) และการสนับสนุนจากครอบครัว (p<0.05) จากผลการศึกษานี้ สรุปได้ว่าควรจัดให้มีการพัฒนาและส่งเสริมความแตกฉานด้านสุขภาพในผู้สูงอายุ เน้นการเรียนรู้ที่ฝึกปฏิบัติ และสนับสนุนให้บุคคลในครอบครัวมีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงและสามารถดูแลตนเองได้อย่างยั่งยืน

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.2552. ผู้สูงอายุ. สำนักพิมพ์ เจ.เอส.การพิมพ์. กรุงเทพฯ.

เตือนใจ ทองคำ. (2549). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในอำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร).

นภัส ทับกล่ำ. (2549). ผลของการออกกำลังกายแบบไท่ จี๋ ชี่กง ต่อความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

พรทิพย์ มาลาธรรม. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนจากครอบครัวและแรงสนับสนุนจากเพื่อนกับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 15(3), 431-448.

พิพัฒน์ เพิ่มพูล. (2553). ความรุนแรงของโรคและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในโรงพยาบาลศิริราช. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการสังคมและการจัดการระบบสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ยุวดี สารบูรณ์. (2557). อาการ ความรู้ และการรับรู้ความเจ็บป่วยด้วยโรคข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุในชุมชน การศึกษานำร่อง. วารสารวิทยาลัยการพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ, 30(2), 12-24.

ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย. (2554). แนวปฏิบัติบริการดูแลรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม.

วาสนา สิทธิกัน. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่).

สมบูรณ์ วัฒนะ. (2560). การดูแลบิดามารดาสูงอายุตามหลักคำสอนเรื่องทิศหกในพระพุทธศาสนาของครอบครัวไทยพุทธ. วารสารวิชาการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 25(49), 147-164.

แสงเดือน กิ่งแก้ว. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(3), 43-54.

อังศุมาลิน บัวแก้ว. (2560). การดูแลสุขภาพด้วยตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนจากครอบครัวที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมอำเภอลองจังหวัดแพร่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

Bai, Y., Chiou, C., & Chang, Y. (2009). Self-care behavior and related factors in older people with type 2 diabetes. Journal of Clinical Nursing, 18(23), 3308-3315.

Becker, M. H., Maiman, L. A., Kirscht, J. P., Haefner, D. P., & Drachman, R. H. (1977). The Health Belief Model and prediction of dietary compliance: a field experiment. Journal of Health and Social behavior, 348-366.

Bostock, S., & Steptoe, A. (2012). Association between low functional health literacy and mortality in older adults: longitudinal cohort study. British Medical Journal.2012; 334, e1602. doi: 10.1136/bmj.e1602.

Cole, M.T. & Newton, K.S. (2005). Supporting self-management in patients with chronic illness. American Family Physician, 72, 1503-1510.

Orem, D. E. Nursing: Concepts of practice. (6thed.). St. Louis: Mosby; 2001.

Parker, R. M., Baker, D. W., Williams, M. V., & Nurss, J. R. (1995). The Test of Functional Health Literacy in Adults (TOFHLA): A new instrument for measuring patients’s literacy skills. Journal of general internal medicine, 10(10), 537-541.

WHO Scientific Group on the Burden of Musculoskeletal Conditions at the Start of the New Millennium, & World Health Organization. (2003). The burden of musculoskeletal conditions at the start of the new millennium: report of a WHO Scientific Group (No. 919). World Health Organization.

Zhang, W., Moskowitz, R. W., Nuki, G., Abramson, S., Altman, R. D., Arden, N. et al. (2008). OARSI recommendations for the management of hip and knee osteoarthritis, Part II: OARSI evidence-based, expert consensus guidelines. Osteoarthritis and cartilage, 16(2), 137-162.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-26

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป