การเตรียมความพร้อมของผู้สูงอายุในการรับสถานการณ์ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ในภาคเหนือตอนบนประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • นารถลดา ขันธิกุล Office of Disease Prevention and Control No.1 Chiang Mai
  • อังคณา แซ่เจ็ง Office of Disease Prevention & Control, 1 Chiangmai
  • ประยุทธ สุดาทิพย์ Bureau of Vector Borne Disease Control, Department of Disease Control
  • สุรเชษฐ์ อรุโณทอง Office of Disease Prevention & Control, 1 Chiangmai

คำสำคัญ:

การเตรียมความพร้อม, ภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุข, ภัยพิบัติ, ภัยหนาว, น้ำท่วม, แผ่นดินไหว, หมอกควัน, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมของผู้สูงอายุในการรับสถานการณ์ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ได้แก่ ภัยหนาว น้ำท่วม แผ่นดินไหว และหมอกควัน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60–74 ปี ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 16 หมู่บ้านของ 8 จังหวัดภาคเหนือ จำนวนทั้งสิ้น 641 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน chi square Test และ Multiple Logistic Regression ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องหมอกควันและ
ภัยหนาว ร้อยละ 80.19 และ 61.93 ตามลำดับ ส่วนความรู้เรื่องแผ่นดินไหวและน้ำท่วม ร้อยละ 67.24 และ 50.08 ตามลำดับ มีการรับรู้เรื่องน้ำท่วม ภัยหนาว หมอกควัน และแผ่นดินไหว ร้อยละ 92.67, 90.48, 85.96 และ 83.62 ตามลำดับ มีการเตรียมความพร้อมรับภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขด้านภัยหนาว น้ำท่วม แผ่นดินไหวและหมอกควัน ร้อยละ 81.12, 78.63, 69.73 และ 59.91 ตามลำดับ ปัจจัยของการเตรียมความพร้อมของผู้สูงอายุในการรับภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับภัยหนาว คือ จำนวนผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกับผู้สูงอายุ การรับรู้เกี่ยวกับภัยหนาว พฤติกรรมการดูแลตนเองในภาวะปกติ และการได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว สำหรับปัจจัยของการเตรียมความพร้อมรับมือน้ำท่วมคือ ความรู้และการรับรู้เกี่ยวกับน้ำท่วม การได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว การได้รับข้อมูลจากสื่อ  และจากเจ้าหน้าที่ ปัจจัยของการเตรียมความพร้อมที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวที่ดี คือ ระดับการศึกษา อาชีพ ความรู้เรื่องแผ่นดินไหว การรับรู้เกี่ยวกับแผ่นดินไหว และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมที่เกี่ยวข้องกับหมอกควันที่ดีคือ รายได้ต่อเดือน พฤติกรรมการดูแลตนเองในภาวะปกติ และการได้รับข้อมูลจากสื่อ ดังนั้นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุหาแนวทางที่จะเผชิญกับภัยพิบัติจะนำไปสู่การป้องกันการเกิดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน สามารถที่จะกลับฟื้นคืนสู่ภาวะการใช้ชีวิตที่ปกติได้เร็ววัน เป็นส่วนสำคัญในการจัดการภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพต่อไป

References

กชกร สังขชาติ. (2536). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับผู้สูงอายุ. ชลบุรี: ภาควิชาการศึกษานอกระบบ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

เจียรนัย ทรงชัยกุล. (2546). รายงานการวิจัยเรื่องการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในสังคมไทยด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทวิดา กมลเวชช. (2554). คู่มือการจัดการภัยพิบัติท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมดาเพรส จำกัด.

บุญเยี่ยม ตระกูลวงษ์. (2528). “จิตวิทยาสังคมกับการสาธารณสุข,” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาสังคมวิทยา

การแพทย์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2559.

รัตนา เพ็ชรอุไร และอดุลย์ วิริยเวชกุล. (2538). “ผู้สูงอายุในประเทศไทย: ประเด็นที่ควรศึกษาวิจัย” ผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

วริยา จันทร์ขำ หทัยชนก บัวเจริญ และ ชันวุฒิ อาสน์วิเชียร. (2558). รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง กรณีศึกษา: องค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 7(3), 22–41.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). ค่าเฉลี่ยกับการแปลความหมาย : เรื่องง่าย ๆ ที่บางครั้งก็พลาดได้. ข่าวสารการวิจัยการศึกษา,18, 8–11.
American Red Cross. Diaster preparedness for seniors by seniors. [Accessed onNovember 1,2013] Available from:https://www.redcross.org/images/MEDIA_CustomProductCatalog/m4640086_Disaster_Preparedness_for_Srs-English.revised_7-09.pdf.

Aldrich, N., & Benson, W. F. (2008). Disaster preparedness and the chronic disease needs of vulnerable older adults.Preventing Chronic Disease, 5(1), 1-7.

Bloom BS. “Learning for Mastery. Instruction and curriculum. USA: Washington DC; 1968.

Chan, E. Y. (2009). Why are older peoples' health needs forgotten post-natural disaster relief in developing countries? A healthcare provider survey of 2005 Kashmir, Pakistan earthquake. American journal of disaster medicine, 4(2), 107-112.

Chan, E. Y., & Kim, J. (2011). Chronic health needs immediately after natural disasters in middle-income countries: the case of the 2008 Sichuan, China earthquake. European Journal of Emergency Medicine, 18(2), 111-114.

Daugherty, J. D., Eiring, H., Blake, S., & Howard, D. (2012). Disaster preparedness in home health and personal-care agencies: are they ready?. Gerontology, 58(4), 322-330.

Fernandez, L. S., Byard, D., Lin, C. C., Benson, S., & Barbera, J. A. (2002). Frail elderly as disaster victims: emergency management strategies. Prehospital and disaster medicine, 17(2), 67-74.

Lemeshow, S., Hosmer, D.W., Klar, J., Lwanga, S.K. (1990). Adequacy of Sample Size in Health Studies. World Health Organization, John Wiley and Sons Ltd..,1-8.

Mertz, L. (2013). Prepareing for the unthinkable, and taking action when it happens: disaster relief and preparedness projects for before, during, and after emergenies. IEEE Pulse. 4(3): 28-34.

Orem, D.E. (1985). Nursing Concepts of Practise. 3rded. New York: McGrew Hill Co.

Pender NJ. (1987). Health Promotion in Nursing Practise. 2nded . Carifornia: Appleton and Lange. Victor CR. (1994). Old age in modern society: A textbook of social gerontology (2nd ed.). San Diego, CA: Chapman & Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-26

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป