การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี หลังจากได้รับการวินิจฉัยในจังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • กัญญาลักษณ์ ศักดิ์สิทธิ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่
  • อักษรา ทองประชุม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วราภรณ์ บุญเชียง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี, พฤติกรรมสุขภาพ, แรงสนับสนุนทางสังคม

บทคัดย่อ

โรคมะเร็งท่อน้ำดีเป็นโรคที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตสูงในจังหวัดแพร่ พฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็งส่งผลกระทบต่อการมีชีวิตที่ยืนยาวและคุณภาพชีวิตที่ดี การศึกษาเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีหลังได้รับการวินิจฉัย โดยการเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยก่อนและหลังจากได้รับการวินิจฉัย และศึกษาบทบาทของครอบครัวต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วย โดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นจากการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและแนวทางการคัดกรองโรคมะเร็งท่อน้ำดีของกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี จำนวน180 คน ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยก่อนและหลังของการได้รับการวินิจฉัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) พฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคดีขึ้น โดยค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มจาก 3.98 เป็น 4.69 ด้านออกกำลังกายและการพักผ่อนเพิ่มขึ้นจาก 1.23 เป็น  3.67 ด้านสังคมเพิ่มขึ้นจาก 1.12 เป็น 3.62 ด้านการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้นจาก 0.28 เป็น 0.34 บทบาทของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีต่อครอบครัวพบว่า ผู้ป่วยเตือนให้สมาชิกในครอบครัว ญาติหรือผู้อื่นลดเลี่ยงบริโภคอาหารสุกๆ ดิบๆ มากขึ้น  ครอบครัวมีบทบาทในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยด้านการบริโภค ออกกำลังกายและดูแลสุขภาพมากขึ้น ซึ่งการได้รับการเอาใจใส่ดูแลจากคนในครอบครัว การได้รับความรู้และการดูแลจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ การได้รับข่าวสารและสื่อต่างๆ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี ผลจากการศึกษาครั้งนี้ สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้ที่เกี่ยวข้องในการกำหนดแนวทางการดูแลและจัดรูปแบบสุขศึกษาให้กับผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีต่อไป

References

ทัศนี ขาว, เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์, ทิพมาส ชินวงศ์. (2556). ประสบการณ์เสริมพลังอำนาจตนเองของผู้ป่วยมะเร็งที่ประสบความผาสุกในชีวิต. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 36(1), 46-48.

บรรจบ ศรีภา, พวงรัตน์ ยงวณิชย์, ชวลิต ไพโรจน์กุล. (2554). สาเหตุและกลไกการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี : ปฐมบทความสัมพันธ์กับพยาธิใบไม้ตับ. วารสารศรีนครินทร์เวชสาร. 20(3), 122–134.

พงศกร เล็งดี, อุฬาร วิเลขา, นิวัฒน์ ศรีวิจารย์, สาคร สามดาว, ณัชชา เจริญภัทราวุฒิ. (2552). มุมมองของผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อการได้รับการวินิจฉัยโรค. วารสารโรคมะเร็ง. 29(4), 143-151.

วารุณี มีเจริญ. (2557). ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง : การปรับตัวต่อบทบาทและการส่งเสริมคุณภาพชีวิต Rama Nurs J. January - April 2014, 11–17.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. Hospital–based cancer registry 2554 [online] 2554. [สืบค้นเมื่อ 24 ส.ค. 2555]; แหล่งข้อมูล: URL: https://www.nci.go.th/th/File_download/Nci%20Cancer%20Registry/Hospital%20Based%
20Cancer%20Registry2010.pdf.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่. (2558). ผลการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ. รายงานการตรวจราชการ และนิเทศงานกรณีปกติ รอบที่ 1 ปี 2558. 1 มิถุนายน 2558; โรงพยาบาลแพร่. แพร่: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่.

อุบล จ๋วงพานิช, อาภรณ์ ทวะลี, สุรีพร คณาเสน, สุพัสตรา กุสุมาลย์. (2559). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับยาเคมีบำบัด. Rama Nurs J. 12(1), 56-60.

Edwards, B., & Clarke, V. (2004). The psychological impact of a cancer diagnosis on families: the influence of family functioning and patients' illness characteristics on depression and anxiety. Psycho‐Oncology: Journal of the Psychological, Social and Behavioral Dimensions of Cancer. 13(8), 562-576.

Oncodog. หมอมะเร็งอยากบอก [online] 2015 [สืบค้นเมื่อ 14 ธ.ค. 2560]; แหล่งข้อมูล: URL: https://oncodog.blogspot.com/2014/04/blog-post_27.html

Zimet, G. D., Dahlem, N. W., Zimet, S. G., & Farley, G. K. (1988). The multidimensional scale of perceived social support. Journal of personality assessment. 52(1), 30-41.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-27

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป