การสอบสวนโรคไข้หวัดใหญ่ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เดือนสิงหาคม 2561

ผู้แต่ง

  • ธนาสิทธิ์ วิจิตราพันธ์ sanpatong hospital

คำสำคัญ:

สอบสวนโรค, ไข้หวัดใหญ่, สันป่าตอง, เชียงใหม่

บทคัดย่อ

        เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2561 ศูนย์ระบาดอำเภอสันป่าตอง ได้รับแจ้งว่ามีผู้ป่วยสงสัยเป็นไข้หวัดใหญ่ รวมจำนวน 6 ราย ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในเขตอำเภอสันป่าตอง จึงได้ดำเนินการสอบสวนโรคเพื่อยืนยันการวินิจฉัย ยืนยันการระบาดของโรค ขอบเขตการระบาดและการกระจายของโรค และหาแนวทางการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่  ทำการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาโดยการทบทวนเวชระเบียน และค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม  การศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์จากเหตุไปหาผลแบบย้อนหลังโดยใช้แบบสอบถามเพื่อหาปัจจัยหรือพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ การศึกษาสภาพแวดล้อมโดยการสำรวจสภาพทั่วไปของโรงเรียนและการสัมภาษณ์ครู และการศึกษาทางห้องปฏิบัติการโดยการเก็บตัวอย่างไม้ป้ายลำคอของผู้ป่วยเพื่อตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ โดยวิธีพีซีอาร์  ผลการสอบสวนพบผู้ป่วยยืนยัน 9 ราย ผู้ป่วยเข้าข่าย 10 ราย อัตราส่วนผู้ป่วยเพศหญิงต่อเพศชาย เท่ากับ 1.38: 1 อายุเฉลี่ย 14.20 ปี คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 12.26 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ในการระบาดครั้งนี้ คือ การนั่งโต๊ะเรียนติดกับผู้ป่วย (RR = 3.21, 95% CI = 1.44 - 7.17) การศึกษาสภาพแวดล้อมพบว่าโต๊ะเรียนอยู่ชิดกัน โดยระยะห่างกันน้อยกว่า 1 เมตร อากาศภายในห้องมีการถ่ายเทไม่สะดวก และการศึกษาทางห้องปฏิบัติการ พบสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A สายพันธุ์ H3N2  ดังนั้นสรุปว่าพบการระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ในโรงเรียนแห่งหนึ่งในอำเภอสันป่าตอง ระหว่างวันที่ 21 สิงหาคม - 2 กันยายน 2561 โดยพบผู้ป่วยทั้งหมด  19 ราย และเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A สายพันธุ์ H3N2เป็นสาเหตุของการเกิดการระบาดในครั้งนี้

References

ถนอม นามวงศ์, เพ็ญศิริ วิศิษฐ์ผจญชัย, สุกัญญา คำพัฒน์ และคณะ. (2559). การสอบสวนการระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาของโรงเรียนแห่งหนึ่ง จังหวัดยโสธร วันที่ 19–22 กุมภาพันธ์ 2557. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 47, 785-91.

พรทิพภา เล็กเจริญสุข. (2557). ไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ และไข้หวัดใหญ่สุกร. กรุงเทพมหานคร: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พิทวัส เหล่าอุดม, โสภิตา เหมาะหมาย, จีรประภา มาเทศ และสุดทิดา ทิพย์เลิศ. (2560). การสอบสวนการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ และ บี ในหน่วยฝึกทหารใหม่ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา วันที่ 10 พฤษภาคม–1 มิถุนายน 2559. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์,48, 17-24.

ภาวพันธ์ ภัทรโกศล. (2551) . ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก. กรุงเทพมหานคร: สมาคมไวรัสวิทยา ประเทศไทย.

ภุชงค์ ไชยชิน และปิยะกาญจน์ สุทธิ. (2559). การสอบสวนโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด A สายพันธุ์ H3N2 ในโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่ง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างวันที่ 10 กรกฎาคม-10 กันยายน 2558. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์,47, 1-8.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561). รายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง 506 โรค influenza [online] [สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2561]; แหล่งข้อมูล: URL: https://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/506wk/y61/d15_3361.pdf

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แนวทางการรายงานโรคติดต่ออันตรายและโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

เอกชัย ยอดขาว, วาที สิทธิ, อัครเดช อวัสดารักษ์ และคณะ. (2555). การสอบสวนการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในบุคคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง จังหวัดบุรีรัมย์ เดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2553. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 43, 23-28.

อัญชลี ระวังการ. (2558). สถานการณ์และการกลายพันธุ์ของไวรัสไข้หวัดใหญ่คน/ไข้หวัดนก. วารสารนเรศวรพะเยา, 8(2), 122-127.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป