ผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลแบบประคับประคองที่บ้านเครือข่ายสุขภาพอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • ช่อทิพย์ พรหมมารัตน์ โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง

คำสำคัญ:

การดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน, การดูแลแบบองค์รวม, ทีมสหสาขาวิชาชีพ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคองมีจำนวนมากขึ้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะได้รับการ ติดตามเยี่ยมบ้านพร้อมกับให้การดูแลแบบประคับประคองโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ แต่จากการปฏิบัติพบว่า รูปแบบการดูแลยังไม่ชัดเจน ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลแบบองค์รวม ตลอดจนการจัดการตามสภาพปัญหา ของผู้ป่วยยังไม่ครบทุกมิติส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในระยะท้าย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผล ของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองที่บ้าน เครือข่ายสุขภาพอำเภอบ้านโฮ่ง ซึ่งการ ศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเตรียมการและวางแผน ระยะดำเนินการ ให้การดูแลแบบประคับประคองที่บ้านตามแนวปฏิบัติและระยะประเมินผล ใช้แบบประเมินผลลัพธ์การ ดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care outcome scale; POS) ในช่วงเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2558 – มิถุนายน พ.ศ. 2559 มีการวัดผลก่อนและหลังการดูแล ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยจำนวน 41 คน ภายหลังที่ผู้ป ่วยได้รับการดูแลต ่อเนื่องแบบองค์รวม และมีการดูแลโดยทีมสหสาขาวิชาชีพร ่วมกับ ภาคีเครือข่ายในชุมชนแล้ว ทำให้ค่าเฉลี่ยของผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคอง (POS) ในผู้ป่วยและ ผู้ดูแลผู้ป่วยลดลงจาก 19.29 (SD. 2.25) เป็น 10.07 (SD. 2.30) และลดลงจาก 17.02 (SD. 1.98) เป็น 8.63 (SD. 2.09) ตามลำดับ ซึ่งดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-Value < 0.001) ดังนั้นสรุปได้ว่า การพัฒนารูปแบบการดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน ของเครือข่ายสุขภาพอำเภอบ้านโฮ่งทำให้ผลลัพธ์ การดูแลแบบประคับประคองดีขึ้น

References

กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. (2557). แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557. 72 ปี กรมการแพทย์, หน้า 1-2.

ทัศนีย์ เทศประสิทธิ์, พิมลรัตน์ พิมพ์ดี, ศศิพินทุ์ มงคลไชย, พวงพะยอม จุลพันธุ์ และยุพยงค์ พุฒธรรม. (2556). การพัฒนาระบบดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยระยะสุดท้ายของโรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารพยาบาล สาธารณสุข, 23(1), หน้า 81-90.

นพพร ธนามี, สมพร รอดจินดา, และวรวรรณ ชำนาญช่าง. (2557). ผลลัพธ์การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง. พุทธชินราชเวชสาร, 31(2), หน้า 183-192.

แบบประเมินระดับผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง วัยผู้ใหญ่ ฉบับสวนดอก. (สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2559) แหล่งข้อมูล:URL:http://www.victoriahospice.org/sites/default/files/pps_thai_01.pdf

ประวีณา ปรีดี. (2556). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองโรงพยาบาล คำม่วง. (สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2559); แหล่งข้อมูล: URL:
http://rdhsj.moph.go.th/62/662/13.pdf.

ปริญญา โตมานะ และระวิวรรณ ศรีสุชาติ. (2548).ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุและปัจจัยเกื้อหนุนอื่นๆ. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 13(1), หน้า 28-37.

ศรีเวียง ไพโรจน์กุล. (2551). Basic palliative care for district hospital team. ศูนย์การุณรักษ์โรงพยาบาล ศรีนครินทร์คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ลดารัตน์ สาภินันท์. (2556). คู่มือการใช้แบบประเมินผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง The palliative care outcome scale: POS. คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, หน้า 1-16.

วณิชา พึ่งชมภู. (2557). สถานการณ์การดูแลระยะสุดท้ายในผู้สูงอายุไทยโรคไตวายเรื้อรัง. พยาบาลสาร,41(4), หน้า 166-177.

สุพัตรา ศรีวาณิชชากร. (2554). การเยียวยาด้วยหัวใจและศรัทธา. ก่อนจะถึงวันสุดท้าย, 2(5), หน้า 1-7.

World Health Organization. WHO Definition of Palliative Care; 2006. (สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2558);แหล่ง ข้อมูล:URL: http://www.who.int/cancer/palliative/definition/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-09

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป