พฤติกรรมการคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากร โรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • ธงชัย มั่นคง โรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา

คำสำคัญ:

การจัดการมูลฝอย, พฤติกรรมการคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อ, บุคลากร, โรงพยาบาล

บทคัดย่อ

การศึกษาพฤติกรรมของบุคลากรด้านการคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อโรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัด พะเยา มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบพฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรม ของบุคลากรในการ คัดแยกมูลฝอยติดเชื้อ และเพื่อทราบปัญหา พร้อมข้อเสนอแนะในการคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อ โดย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการ คัดแยกมูลฝอยติดเชื้อ ในโรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลตาม แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ระหว่างวันที่ 1 – 31 ธันวาคม 2559 จำนวน 330 คน ทำการ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive) และใช้สถิติChi-square ในการทดสอบ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการคัดแยกมูลฝอยติด เชื้อของบุคลากร อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ได้แก่ตำแหน่งงาน การทราบแนวทางปฏิบัติในการ จัดการมูลฝอยติดเชื้อ การรับทราบปัญหาเกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ การได้รับการอบรมการจัดการ มูลฝอยติดเชื้อ และความคิดเห็นเกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อตามลำดับ ส่วนปัจจัยอื่นๆ เช่น เพศ อายุ รายได้ระดับการศึกษาและระยะเวลาปฏิบัติงาน เป็นต้น ไม่มีผลต่อพฤติกรรมการคัดแยกมูลฝอย ติดเชื้อ ผู้ศึกษาเสนอแนะว่า ให้มีการสร้างจิตสำนึก ความตระหนัก ให้ทราบปัญหา และค่าใช้จ่าย ในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ มีการจัดอบรม การรณรงค์ให้ความรู้แก่บุคลากรผู้ป่วยและญาติให้มี ส่วนร่วมในการคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อ ตลอดจน ให้มีการนิเทศและติดตามการจัดการ การคัดแยก มูลฝอยติดเชื้อในหอผู้ป่วยร่วมกัน ระหว่างกลุ่มการพยาบาล และกลุ่มบริหารงานทั่วไป

References

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2553).รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2551. รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด กรุงเทพฯ

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2556). การสำรวจมูลฝอยติดเชื้อ 2556.สาระสุขภาพ, 8(15).

กรมส่งเสริมการปกครอง และกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2559).แผนปฏิบัติการ การคัดแยกมูลฝอย “ประเทศไทยไร้ขยะ” ตามแนวทาง “ประชารัฐ” ระยะ 1 ปี(พ.ศ. 2559-2560). สืบค้นจากhttp://www.pcd.go.th/count/wastedl.cfm?FileName=ThaiPlanswit houtWaste.pdf.

กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม การคัดแยกมูลฝอยการคัดแยกมูลฝอยตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่12(การคัดแยกมูลฝอย พ.ศ.2560-2564). หน้า37.สืบค้นจากhttp://planning.anamai. moph.go.th/download/D_Strategic/2560/down/311059.pdf.

กรมอนามัย. (2557). สถานการณ์อนามัยสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ปี2557. พิมพ์ครั้งที่1. (หน้า21). กองประเมิน ผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย. กรุงเทพฯ.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2538). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). การคัดแยกมูลฝอย กรุงเทพมหานคร: สำนักงานทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พูนพนิต โอ่เอี่ยม. (2556). พฤติกรรมการจัดการขยะติดเชื้อของบุคลากรและเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลการคัดแยก มูลฝอยสมุทรสาคร. วารสารวิทยบริการ, 24(4), 131.

รัตติกาล สิมุเทศ และ ประจักร บัวผัน. (2559). การมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะติดเชื้อของพยาบาลวิชาชีพ การคัดแยกมูลฝอย ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม, 18(3): 51-53.

ลัดดาวรรณ์ ดอกแก้ว, ประมุข โอศิริ, เฉลิมชัย ชัจกิตติกรณ์, สมพร กันทรดุษฏี, เตรียม ชัยศรี, ดุสิต สุจิรารัตน์และ นพกรจงวิศาล. (2559).ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการการคัดแยกมูลฝอยระบบทางเดินหายใจ และสมรรถภาพปอดในกลุ่มพนักงานเก็บขนขยะของกรุงเทพมหานคร. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม, 18(3), 18-29.

วิจารย์ สิมาฉายา. (2559). นโยบายการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายของประเทศไทย. ในงานสัมมนาร่วมไทย-ญี่ปุ่น เรื่อง “การบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนและบทบาทขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น”. (18 มีนาคม 2559).

สุภาวิณี ประดับคำ, วันดีโตรักษา และสุวรรณา จันทร์ประเสริฐ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการคัดแยกมูลฝอยและ การเก็บรวมรวมมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากร โรงพยาบาลกลางกรุงเทพมหานคร. วารสารการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม, 31(2),112.

อภินันท์ สุขบท. (2547). บทบาทของบุคลากรในการจัดการขยะติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีศึกษา การคัดแยกมูลฝอย โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-09

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป