ผลการดำเนินงานระบบสุขภาพอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ระบบสุขภาพ, สุขภาพระดับอำเภอบทคัดย่อ
การศึกษารูปแบบผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานระบบสุขภาพ ระดับอำเภอและค้นหาการกำหนดปัญหาสุขภาพหรือการดูแลที่จำเป็นและการดูแลตนเองในจังหวัด เชียงใหม่การศึกษานี้ดำเนินการในจังหวัดเชียงใหม่ระหว่างเดือนสิงหาคม - พฤศจิกายน พ.ศ.2559 กลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการระบบสุขภาพอำเภอจำนวน 23 อำเภอซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลในการ ประเมินการดำเนินงานระบบสุขภาพอำเภอและผู้ให้ข้อมูลจำนวน 48คนจาก4อำเภอเป็นผู้ร่วม ในการสนทนากลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและวิเคราะห์สถิติโดยใช้จำนวนและร้อยละข้อมูล เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาผลของการวิจัยพบว่ามีผลการประเมินการดำเนินงาน ระบบสุขภาพระดับอำเภอตามแนวทาง UCARE ในระดับคะแนนสูงมาก (4.01-5.00 คะแนน) ใน 4อำเภอ(17.39%)ระดับคะแนนสูง (3.01-4.00คะแนน)15อำเภอ(65.22%)และระดับคะแนน ปานกลาง (2.01-3.00 คะแนน) 4 อำเภอ (17.39%) ปัญหาสุขภาพหรือบริการสุขภาพที่จำเป็น ส่วนใหญ่เป็นเรื่อง 1) การดูแลผู้สูงอายุ2) โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 3) โรคไข้เลือดออกสำหรับการดูแลตนเองพบว่าอำเภอไชยปราการมีการดำเนินการเรื่องการดูแล ตนเองได้เป็นอย่างดีกิจกรรมการดูแลตนเองประกอบด้วย1)การลดอาหารหวาน มัน เค็ม 2)การ ส่งเสริมเมนูผักในงานบุญหรืองานศพ 3) การงดการจุดธูปในงานศพ 4) การงดการดื่มสุราในงาน ศพ 5)การรำวงย้อนยุคหรือการออกกำลังกายด้วยวิธีอื่นๆ6)การเฝ้าระวังโรคเบาหวานและความ ดันโลหิตสูง กิจกรรมการดูแลตนเองและการพัฒนาการดูแลตนเองสามารถนำไปใช้ในอำเภออื่นๆ และพัฒนาให้เหมาะสมกับบริบทต่อไป อย่างไร ก็ตามควรมีการจัดการระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อใช้ ในการสนับสนุนการกำหนดปัญหาสุขภาพและการประเมินผลลัพธ์ทั้งทางคลินิกและจิตสังคม
References
คณิตศักดิจันทราพิพัฒน์. (2557). เครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System: DHS). เอกสารบรรยาย, สืบค้นจาก https://www.facebook.com/DHS.THAI.
สุรีย์ภรณ์ เลิศวัชรสกุล และ สุทธิพร ชมพูศรี. (2557). กระบวนการบริหารจัดการ เครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System: DHS) อย่างเป็นเอกภาพ จังหวัดพะเยา (District Health System: DHS Participatory Action on Unity District Health Team in Phayao Province). กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและ รูปแบบบริการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา.
นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. (2555). วิธีการวิจัยเชิงผสมผสานสำหรับงานสาธารณสุข (Mixed methods research design in public health).The Public Health Journal of Burapha University.7(2) July–December).
นงเยาว์ อุดมวงศ์, พรพรรณ ทรัพย์ไพบูลย์กิจ, พนิดา จันทโสภีพันธ์, ปิยวรรณ สวัสดิ์สิงห์, จินดารัตน์ ชัยอาจ, จิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ, และผกาพันธุ์ วุฒิลักษณ์. (2555). การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน ตำบลชมพู อำเภอสารภีจังหวัดเชียงใหม่ (Development of community health system of Chompoo sub-district Sarapee district Chiang Mai province. Nursing Journal. 39(July-August), 97-106.