ความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคอาหารเช้า และความเหนื่อยล้าในนักศึกษาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ปิยะกุล สิทธิรัตน์ ณ นครพนม ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อนุชาติ มาธนะสารวุฒิ ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

breakfast skipping, medical student, fatigue, breakfast habit

บทคัดย่อ

เชื่อกันว่าอาหารมื้อเช้าเป็นมื้ออาหารที่สำคัญต่อร่างกาย เพื่อเป็นแหล่งพลังงานในการทำกิจกรรมต่างๆระหว่างวัน ช่วยในการเรียนรู้ ความคิดความจำในห้องเรียน การไม่รับประทานอาหารเช้าอาจส่งผลเสียต่อร่างกาย และทำให้มีความเหนื่อยล้าเกิดขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของการไม่รับประทานอาหารเช้า และผลที่มีต่อความเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นในนักศึกษาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง ใช้แบบสอบถามตอบด้วยตนเองสำหรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และใช้ IOWA Fatigue Scale ฉบับภาษาไทยที่พัฒนาขึ้นสำหรับประเมินความเหนื่อยล้าในนักศึกษาแพทย์ ปีที่ 3, 4 และ 5 จำนวน 192, 52 และ 50 จากภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว ปีการศึกษา 2558 ใช้สถิติทดสอบ chi-square และ การวิเคราะห์การถดถอย พบว่า นักศึกษาแพทย์จำนวนทั้งหมด 294 คน เป็นเพศชายและเพศหญิงใกล้เคียงกัน (1.08:1) ในภาพรวมพบว่านักศึกษาแพทย์ ร้อยละ 32.7 มีพฤติกรรมไม่รับประทานอาหารเช้า ซึ่งแบ่งเป็นนักศึกษาปี 3 - 4 ร้อยละ  28.12 และนักศึกษาปีห้า (clinical students) ร้อยละ 71.88.  ในจำนวนนักศึกษาทั้งหมดพบว่าร้อยละ 19.4 เข้าเกณฑ์มีความเหนื่อยล้า แต่ทั้งการรับประทานอาหารเช้าและการไม่รับประทานอาหารเช้าไม่มีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยล้าของนักศึกษาแพทย์ ( = 0.092, p>5) ผู้ที่เข้าเกณฑ์เหนื่อยล้าน่าจะมีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่น

References

พวงทอง ไกรพิบูลย์. เหนื่อยล้า อ่อนล้า อ่อนเพลีย (Fatigue). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2552] เข้าถึงได้จาก:http://haamor.com/th/อ่อนเพลีย.

สุดสายชล หอมทอง. ความสำคัญของอาหารเช้า[ออนไลน์] 2549 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2552]. เข้าถึงได้จาก: http://www.uniserv.buu.ac.th/forum2/topic.asp?TOPIC_ID=1595

Ackuaku-Dogbe EM, Abaidoo B. (2014). Breakfast eating habits among medical students. Ghana medical journal. 48(2):66-70.

Grandjean E. (1979). Fatigue in Industry. British Journal of Industrial Medicine. 120: 175-86.

Hartz A, Bentler S, Watson D. (2003). Measuring Fatigue Severity in Primary Care Patients. Journal of Psychosomatic Research. In press 54(6): 515-21 [online] 2003 [cited 2010 November 2]. Available from: http://www.psy-world.com/iowa.html

Lars Lien. (2006). Is breakfast consumption related to mental distress and academic performance in adolescents?. Public Health Nutrition. 10: 422-428.

Larun L, McGuire H, Edmonds M, Odgaard-Jensen J, Price JR. (2004). Exercise therapy for chronicfatigue syndrome. Cochrane data base of systematic reviews [online] 2004 [cited 2010 February 5]. Available from: http://www.cochrane.org/reviews/en/ab003200.html.

Luksanaporn Krungkraipetch KK. (2009). Relationship between Adequate Breakfast Consumption and Fatigue in the Morning Class among Medical Students, Burapha University. the public health journal of Burapha University. 7(1):35-9.

Masaaki Tanaka, Kei Mizuno, Sanae Fukuda,Yoshihito Shigihara, Yasuyoshi Watanabe. (2008).

Relationships between dietary habits and the prevalence of fatigue in medical students. Nutrition [online] 2008 [cited 2009 November 2]. Available from: http://dx.doi.org/10.1016/j. nut.2008.05.003.

Mayo Clinic staff.(2551). Fatigue [ออนไลน์] 2551[เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2552]. เข้าถึงได้จาก: http://www.mayoclinic.com/health/fatigue/MY00120

Muchinsky PM. (1993). Psychology Applied to Work ; An Introduction to Industrial and Organizational Psychology. Pacific Grove, California.

Ning Zou MK, Ayako Nagai, Ri Ji Jin, Shu Xian Liu. (2009). A study of fatigue status in Chinese adolescents in an urban city, Jixi. Health.3 (1949-4998):271-5.

Watanabe Y, Saito I, Henmi I, Yoshimura K, Maruyama K, Yamauchi K, et al.(2014). Skipping Breakfast is Correlated with Obesity. Journal of rural medicine : JRM / Japanese Association of Rural Medicine. 9(2):51-8.

Yahya Ozdogan. (2010). The Breakfast Habits of Female University Students. Pakistan Journal of Nutrition. 9: 882-886.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-17

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป