การวิเคราะห์สถานการณ์การตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวี ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พัชณี สมุทรอาลัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วราภรณ์ บุญเชียง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ประพิมพ์ พุทธิรักษ์กุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวี, ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย

บทคัดย่อ

การคัดกรองโรค เป็นการค้นหาโรคในระยะเริ่มแรก ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เป็นการป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นและลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคได้ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์การตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แนวคิดการวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของ กรีน และ กรูเตอร์ (Green & Kreuter, 1999) ได้แก่ 1) ปัจจัยนำ (Predisposing factors) 2) ปัจจัยเอื้อ (Enabling factors) และ 3) ปัจจัยเสริมแรง (Reinforcing factors) รวบรวมข้อมูลด้วยวิธีเชิงคุณภาพในเดือนธันวาคม 2556  ถึง กุมภาพันธ์ 2557 จากกลุ่มตัวอย่างรวม 16 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และส่วนที่ 2 แบบสัมภาษณ์รายบุคคลวิเคราะห์ข้อมูลโดยจัดหมวดหมู่ข้อมูลและสรุปประเด็นสำคัญ ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยนำ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่องโรคเอดส์และการตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวีจากทางสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ และจากการศึกษาในสถานศึกษาในเรื่องทั่วไป เช่น สาเหตุการเกิดโรค การติดต่อ เป็นต้น 2) ปัจจัยเอื้อ พบว่าโรงพยาบาลใหญ่จะมีวัสดุ อุปกรณ์และสถานที่เหมาะสม ตั้งอยู่ไม่ไกล สามารถเดินทางมาได้สะดวก แต่มีที่จอดรถไม่เพียงพอ และพบว่าสถานที่ตรวจบางแห่งยังมี อุปกรณ์ในการตรวจไม่เพียงพอ และการจัดสถานที่ยังไม่มีความเป็นส่วนตัว ขาดการประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงสถานที่ตรวจคัดกรอง มีการเปิดให้บริการเฉพาะในเวลาราชการ ส่วนราคาพบว่ามีทั้งเสียค่าใช้จ่ายโดยการเสียค่าใช้จ่ายจะเสียประมาณ 500-600 บาท ซึ่งมีความเหมาะสมสำหรับผู้มีรายได้ แต่ยังแพงไปสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อยและสามารถใช้สิทธิต่างๆในการตรวจคัดกรองได้ ส่วนขั้นตอนการให้บริการตรวจ พบว่ามีการให้คำปรึกษาทั้งก่อนและหลังการตรวจ แต่บางแห่งไม่มีการให้คำปรึกษา และรอผลการตรวจนาน 3) ปัจจัยเสริมแรง พบว่ามีการเสริมแรงจาก 3 กลุ่ม ได้แก่ เพื่อน ครอบครัว และบุคลากรทางด้านสุขภาพจากผลการศึกษา จึงควรเพิ่มประเด็นการพัฒนาระบบบริการทางการพยาบาลในการตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ในประเด็นดังต่อไปนี้
1) ควรเพิ่มการเข้าถึงกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย เพื่อสามารถให้องค์ความรู้ที่เฉพาะเจาะจงในเรื่องโรคเอดส์และการตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวี 2) พัฒนาระบบการเข้าถึงบริการตรวจคัดกรองในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายให้ครอบคลุม เช่น การประชาสัมพันธ์ทุกช่องทางเฉพาะกลุ่ม, การจัดระบบการให้บริการคำปรึกษาก่อนและหลังการตรวจคัดกรอง,การเพิ่มบริการตรวจคัดกรองในวันหยุดและนอกเวลาราชการ 3) ส่งเสริมให้กลุ่มเพื่อนและครอบครัวมีทัศนคติที่ดีและสนับสนุน โน้มน้าวให้กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายเข้ารับบริการตรวจคัดกรอง และกลุ่มบุคลากรต้องให้ความสำคัญกับการเก็บรักษาความลับและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวี ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย มากขึ้นและเหมาะสมต่อไป

References

กีรติกานต์ กลัดสวัสดิ์, เกรียงไกร ยอดเรือน, สัญญา กิตติสุนทโรภาศ, สุดี จารุพันธ์, เฉวตสรร นามวาท, และธนรักษ์ ผลิพัฒน์. (2554). ผลการเฝ้าระวังความชุกของการติดเชื้อเอชไอวีและพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ปี 2553.สืบค้นจากhttp://www.gfaidsboe.com/Downloads/book/2554/IBBS_MSM_2553_Mar%202011.pdf

คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์.(2550).แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์อย่างทั่วถึงและครอบคลุมแห่งชาติ พ.ศ.2550-2554. นนทบุรี: ศูนย์อนวยการบริหารจัดการปัญหาเอดส์แห่งชาติกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์. (2554). ยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติ พ.ศ.2555-2559. นนทบุรี: ศูนย์อำนวยการบริหารจัดการปัญหาเอดส์แห่งชาติ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

จีระศักดิ์เจริญพันธ์,และเฉลิมพลตันสกุล.(2550). พฤติกรรมสุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 6).มหาสารคาม:คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์. (บรรณาธิการ). (2555). สู่สังคมปลอดเอดส์. เมดิคอลไทม์, 13(311).

นิตยาภานุภาค.(2554). ประเด็นสำคัญในการเสวนาครั้งที่ 1: สู่เป้าหมายที่เป็นศูนย์ (Getting to zero): ชายรักชายใน กทม. กับการสู่เป้าหมายที่เป็นศูนย์ (Test & Treat in Bangkok MSM).สืบค้นจากhttp://www.redcross.or.th/article/15421

เบญจพร พงศ์อำไพ, ประณีต ส่งวัฒนา, และ อุมาพร ปุญญโสพรรณ. (2552). ปัจจัยทำนายความตั้งใจของคู่สมรสหญิงตั้งครรภ์ในการมาใช้บริการตรวจคัดกรองเพื่อหาการติดเชื้อเอชไอวี. วารสารสภาการพยาบาล, 24(4),70-82.

ประพันธ์ ภานุภาค. (2553ก). แนวทางการตรวจวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ระดับชาติปี พ.ศ. 2553. ศูนย์พัฒนาระบบบริการยาต้านไวรัสสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทย.กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ประพันธ์ภานุภาค.(ม.ป.ป.). การรณรงค์ป้องกันเอดส์ในประเทศไทย.ศูนย์วิจัยโรคเอดส์สภากาชาดไทย.สืบค้นจาก http://www.trcarc.org/images/Journal/Article5.pdf

ราตรี โชติกพงษ์. (2552). การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะซึมเศร้าที่มารับบริการในโรงพยาบาลโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ (การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช).บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิมลศิริ ศรีคัณฑะ. (2553). ผลของการสอนบนเว็บต่อความรู้และการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลด้านการควบคุมการติดเชื้อ). บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมชาย แสงกิจพร. (บรรณาธิการ). (2550). แนวทางการตรวจการติดเชื้อเอชไอวี คู่มือสำหรับห้องปฏิบัติการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. (2553). ผลการเฝ้าระวังการติดเชื้อเอชไอวีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปี 2553.กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย).

สุจิราบรรจง.(2555). การวิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี ของแกนนำผู้ติดเชื้อเอชไอวี อำเภอปง จังหวัดพะเยา (การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน).บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุธิดา อินทรเพชร, ชมนาด พจนามาตร์, และ นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล. (2551). การพัฒนารูปแบบการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพยาบาล, 23(4), 72-84.

อาภาพร เผ่าวัฒนา, สุรินธร กลัมพากร, สุนีย์ ละกาปั่น, และ ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. (2554). การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน:การประยุกต์แนวคิดและทฤษฏีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-17

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป