การสำรวจความเสี่ยงอาชีวอนามัยด้านจิตสังคมวิทยาของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
คำสำคัญ:
ความเสี่ยงอาชีวอนามัยด้านจิตสังคมวิทยา, สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในการทำงานด้านจิตวิทยาสังคมของบุคลากร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
(สคร. 10 เชียงใหม่ เดิม) ศึกษาและวิเคราะห์ว่าลักษณะทางชีวสังคม ลักษณะทางสังคม ลักษณะทางจิตเดิม และลักษณะทางจิตตามสถานการณ์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทํางานของบุคลากรหรือไม่ และให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการบริหารงาน และการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ คำนวณกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีของ Yamane ทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จากบุคลากร8 กลุ่มงาน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามที่มีการหาค่าความเที่ยงตรง (Validity) และการหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า Chi-square test ผลการศึกษาพบว่ามีการตอบแบบสอบถามกลับ จำนวน 222 คน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีตำแหน่งเป็นลูกจ้างประจำ อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง = 1:1. 5 อายุน้อยที่สุดคือ 24 ปี มากที่สุดคือ 60 ปี (เฉลี่ย 47+9. 59 ปี) มีประสบการณ์ในการทำงานน้อยที่สุดคือ 1 เดือน มากที่สุดคือ 36 ปี (เฉลี่ย 16+9. 78 ปี) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรลักษณะทางชีวสังคม ลักษณะทางสังคม ลักษณะทางจิตเดิม และลักษณะทางจิตตามสถานการณ์ต่อพฤติกรรมการทํางานด้านความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของบุคลากรพบว่า ตัวแปรบทบาทของผู้บริหาร แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และสุขภาพจิตของบุคลากรมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทํางานด้านความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P< 0. 05) ส่วนความสัมพันธ์ของตัวแปรลักษณะทางชีวสังคม ลักษณะทางสังคม ลักษณะทางจิตเดิม และลักษณะทางจิตตามสถานการณ์ต่อพฤติกรรมการทํางานด้านการมีส่วนร่วมของบุคลากร พบว่า ตัวแปรเพศ การถ่ายทอดทางสังคมในการทำงาน บรรยากาศในการทำงานและเจตคติต่อพฤติกรรมการทำงานด้านการมีส่วนร่วมมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P< 0.05) การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหารควรให้ความสำคัญต่อสร้างบรรยากาศในการทำงาน มุ่งเน้นพัฒนากระบวนการถ่ายทอดการทํางานอย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ควรมีการสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้นและวางเป้าหมายในการทำงาน ผู้บริหารควรสร้างความเชื่อมั่นให้กับบุคลากร โดยการพัฒนากระบวนการพิจารณาและสรรหาและแต่งตั้งให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหน่วยงาน และการให้ความสำคัญต่อบทบาทของการเป็นตัวอย่างที่ดีในการทำงานของผู้บริหาร
References
จุฑารัตน์ เขมากร. (2553) ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำงานด้านความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานและด้านการมีส่วนร่วม ของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร-วิโรฒ. กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ .
มยุรฉัตร สุขดำรงค์. (2547). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำงานสินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่สินเชื่อ บมจ. ธนาคารกรุงไทย. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2543) . ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม: การวิจัยและการพัฒนาบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Andrew F. Siegel. (1988). Statistic and data analysis. NY: John Wiley & Sons. Inc.Ophelia M. Mendoza. (1997).