ผลกระทบของปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เขตสุขภาพที่ 1

ผู้แต่ง

  • พิษณุพร สายคำทอน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
  • สิริหญิง ทิพศรีราช สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
  • ขวัญใจ ใจแสน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
  • ฐิติพงษ์ ยิ่งยง สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • กฤษณะ สุกาวงค์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, ผลกระทบของปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

โรคหลอดเลือดสมอง มีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่ ภาวะความดันเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน คอเลสเตอรอลในเลือดสูง และกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่นการสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา โดยในประเทศไทยอัตราป่วยและอัตราตายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเขตสุขภาพที่ 1 มีอัตราป่วยเป็นลำดับที่ 6 และอัตราตายเป็นลำดับที่ 5 ของประเทศ ทั้งนี้หากมีการประเมินผลกระทบของปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคร่วมกับการดำเนินการอื่นๆ จะช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจกำหนดมาตรการที่จำเพาะต่อปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบสูงสุดต่อการป่วยและการตายของโรคหลอดเลือดสมอง และช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงานได้  การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและวัดผลกระทบของปัจจัยที่มีผลต่อการป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา ระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ แบบ Case-Cohort study หาความสัมพันธ์ของปัจจัย และวัดผลกระทบของปัจจัยต่างๆ ต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยการคำนวณ Attributable fraction among Exposed (AFe) และ Attributable fraction among Population (AFp) และ 95%CI ซึ่งเมื่อทำการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยง/โรคร่วม กับการป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง ของเขตสุขภาพที่ 1 พบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีความสัมพันธ์ กับผู้ที่มีประวัติป่วยด้วยโรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อนำปัจจัยเสี่ยง/โรคประจำตัวร่วมที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง เมื่อวัดผลกระทบต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง พบว่าโรคไต มีค่า AFe สูงที่สุด คิดเป็น 0.93 (95%CI, 0.86-0.97) และโรคความดันโลหิตสูง มีค่า AFp สูงที่สุด คิดเป็น 45.45 (95%CI,43.76-46.90) ถ้าหากทำให้ประชากร ไม่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงจะทำให้ผู้ป่วยลดลงได้มากที่สุด เท่ากับ 9,350 คน (95%CI, 9,003-9,650) ดังนั้นหากเขตสุขภาพที่ 1 สามารถมีมาตรการเพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้ จะทำให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเสียชีวิตลดลง

References

นิตยา พันธุเวทย์. ประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาตโลก ปีพ.ศ. 2557 (ปีงบประมาณ 2558) [online] 2558 สืบค้นเมื่อ 27 พ.ย. 2558; แหล่งข้อมูล URL: http://thaincd.com/document/file/download/knowledge/

วิไลพรพุทธวงศ์และคณะ.ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจังหวัดพะเยา. Journal of Public Health. 2014; 44(1):39-40.

ศุภวรรณ มโนสุนทร. (2558). รายงานการพยากรณ์โรคหลอดเลือดสมอง [online] สืบค้นเมื่อ 27 พ.ย. 2558. แหล่ง ข้อมูล URL: www.interfetpthailand.net/forecast/files/report_2014/report_2014_no20.pdf

สวิง ปันจัยสีห์, นครชัย เผื่อนปฐม, กุลพัฒน์ วีรสาร. (2556). แนวทางเวชปฏิบัติโรคหลอดเลือดสมองแตก สำหรับแพทย์. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส จำกัด.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข.2558. สถิติสาธารณสุข 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-18

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป