ความรู้ การปฏิบัติ และความคิดเห็นต่อกระบวนการแก้ไขปัญหาของชุมชนด้วย กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) เพื่อป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบล น้ำดิบ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • กานต์ธีรา เรืองเจริญ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
  • วรรณภา สุวรรณเกิด สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความรู้, การปฏิบัติ, การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก, กระบวนการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค  การป้องกันควบคุมโรค จึงต้องอาศัยความร่วมมือ ในการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุง (สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง, 2555) (สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง, ม.ป.ป) ในปี พ.ศ. 2550 อ.ป่าซาง จ.ลำพูน มีรายงานโรคไข้เลือดออกสูงที่สุดในจังหวัดลำพูน สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลงร่วมกับสาธารณสุขจังหวัดลำพูน และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 ได้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) เพื่อแก้ปัญหาไข้เลือดออก โดยดำเนินการระหว่างปีงบประมาณ 2553 - 2555 (บุษบง เจาฑานนท์, 2555) การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบความรู้ การป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก และความยั่งยืนของกระบวนการแก้ไขปัญหาแบบมีส่วนร่วม ภายหลังสิ้นสุดโครงการฯไปแล้ว 3 ปี ใน 6 หมู่บ้าน ต.น้ำดิบ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย โดยคำนวณตัวอย่างจากการประมาณสัดส่วนของประชากร ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 660 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสำรวจข้อมูลความคิดเห็น ความรู้ และการปฏิบัติฯ ที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.88  ข้อมูลทั่วไป ความคิดเห็นต่อการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วม ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และการป้องกันควบคุมพาหะนำโรค การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติไคสแคว์ ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสำรวจเป็นเพศหญิงร้อยละ 56.2 ร้อยละ 38.5 ของกลุ่มอายุระหว่าง 51-60 ปี ทุกคนรับรู้ถึงการดำเนินโครงการฯ ในปี 2553 - 2555  และมีส่วนเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของโครงการฯ (87.4%) ด้านความคิดเห็นต่อกระบวนการแก้ปัญหาแบบส่วนร่วมตามโครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกนั้น ส่วนใหญ่เห็นว่า ควรให้ความสำคัญกับการปฏิบัติและเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชน เป็นอันดับแรก (78.8%) รองลงมาเป็นการสร้างความตระหนักให้คนในชุมชนตื่นตัวและเข้มแข็ง (65.6%) การพัฒนาคนเพื่อใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหา (55.0%) และการสร้างจิตอาสาในชุมชน (48.6%) ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างทุกรายยังคงมีความรู้ ทราบอาการ การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก และยังคงมีการปฏิบัติเพื่อกำจัดลูกน้ำ ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และมีการแนะนำกระบวนการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วมไปใช้ในชุมชนอื่นด้วย  จึงควรมีการนำกระบวนการแก้ไขปัญหาแบบมีส่วนร่วมนี้เป็นต้นแบบ และขยายผลไปสู่ชุมชนอื่นต่อไป

References

บุษบง เจาฑานนท์. (2555). การพัฒนารูปแบบการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนกรณีศึกษา: ตำบลน้ำดิบ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. รายงานการวิจัย สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง

บุญเสริม อ่วมอ่อง(บรรณาธิการ). (2555). แนวทางการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสานสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน. (2552). เอกสารสรุปรายงานประจำปีงบประมาณ 2551. สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดลำพูน. เอกสารอัดสำเนา.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. (2554). รายงานการประเมินผลการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกภาพรวมระดับประเทศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย .

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. (2555). แนวทางการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสานสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. (ม.ป.ป). 100 วิธีปราบยุงลาย. [เอกสารออนไลน์] เรียกใช้เมื่อ 30 เมษายน 2559 จาก http://www.thaivbd.org/n/uploads/file/file_PDF/คู่มือปฏิบัติงาน/Dengue/a_w%20100%20วิธีปราบยุงลาย.pdf

Achee NL, Gould F, Perkins AT,, Reiner RT, Morrison AC, Ritchie SA ,Gubler DJ, Remy Teyssou R, and Scott TW. A Critical Assessment of Vector Control for Dengue Prevention. PLoS Negl Trop Dis. 2015 May; 9(5): e0003655. Published online 2015 May 7.

Chansang U, Chansang C, Bhumiratana A. Kitayapong P. (2006). Community participation and participatory and appropriate technologies for dengue vector control at transmission foci in Thailand. Journal of the American mosquito control association. 22, 538-46.

Devine GJ, Perea EZ, Killeen GF, Stancil JD, Clark SJ, Morrison AC. (2009). Using adult mosquitoes to transfer insecticides to Aedes aegypti larval habitats. Proc Natl Acad Sci USA. 106(28): 11530-4

Mueller I, and Bryan JH., Phuanukoonnon S. (2005). Effectiveness of dengue control practices in household water containers in Northeast Thailand. Tropical Medicine and International Health. 10, 755–63.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-18

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป