การสอบสวนสาเหตุการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร กรณีรถกระบะชนต้นไม้ เสียชีวิต 6 ศพ จังหวัดลำพูน วันที่ 8 -10 ตุลาคม 2559

ผู้แต่ง

  • กาญจนา เลิศวุฒิ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน
  • วันเพ็ญ โพธิยอด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดลำพูน
  • ชัยธรณ์ อุ่นบ้าน สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดลำพูน

คำสำคัญ:

การสอบสวนบาดเจ็บจากจราจรทางถนน, ทีมสอบสวนสหสาขาลำพูน

บทคัดย่อ

วันที่ 8-10 ตุลาคม 2559 ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วสหสาขา จังหวัดลำพูน ได้ลงสอบสวน
อุบัติเหตุหมู่รถกระบะชนต้นไม้ข้างทางบนทางหลวงหมายเลข 11 บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 523 ถนนเชียงใหม่-
ลำปาง ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เพื่ออธิบายเหตุการณ์ ค้นหาปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ
ส่งผลต่อการบาดเจ็บและเสียชีวิตและเพื่อหาแนวทางป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยการรวบรวม จากเอกสาร
ทางการแพทย์ สำรวจสถานที่เกิดเหตุ การสัมภาษณ์ผู้เห็นเหตุการณ์และญาติผู้ประสบเหตุ วิเคราะห์หาปัจจัย
ที่นำไปสู่การบาดเจ็บด้วยวิธีการของ Haddon matrix ผลการสอบสวนพบว่า อุบัติเหตุครั้งนี้เกิดเมื่อวันที่ 8
ตุลาคม 2559 เวลา 09.00 น จากการที่รถกะบะชนต้นไม้มีผู้ประสบเหตุ 6 ราย เสียชีวิต ณ จุดเกิดเหตุ 4 ราย
เสียชีวิตในรถ 3 ราย กระเด็นออกมานอกรถ1 ราย บาดเจ็บสาหัส 2 รายส่งต่อรักษาที่โรงพยาบาลและได้เสีย
ชีวิตทั้ง 2 ราย รวมผู้เสียชีวิตในครั้งนี้ 6 รายเพศหญิง 4 รายเพศชาย 2 ราย สัญชาติไทย อายุระหว่าง 34 – 52 ปี อายุเฉลี่ย 47 ปี แพทย์วินิจฉัยว่าสาเหตุการเสียชีวิต ของผู้ประสบเหตุทั้ง 6 ราย เป็น severe head injury and injury multiple organs ซึ่งมีการบาดเจ็บที่ศีรษะและคอบริเวณใบหน้า บริเวณในช่องอก ช่องท้อง กระดูกสันหลัง ช่องเชิงกราน ความรุนแรงของการบาดเจ็บพบว่า ส่วนใหญ่บาดเจ็บรุนแรง (severe symptom) สาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ในครั้งนี้เกิดจากความประมาท ขับรถเร็วโดยขับออกจากเลนที่วิ่งออกมาทางด้าน ซ้ายที่เป็นไหล่ถนนด้วยความเร็วสูง และคาดว่าเกิดอาการหลับใน การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะ เชิงนโยบายต่อ คณะกรรมการศูนย์ความปลอดภัยทางถนน จังหวัดลำพูน ให้กำหนดเป็นมาตรการเพิ่ม คือตั้งป้ายเตือนลดความเร็วเพิ่ม ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ตัดแต่งต้นไม้ การจัดการ ให้มีจุดพักรถ สำหรับการเดินทางในเส้นทางที่เป็นเส้นทางตรง การสื่อสารความเสี่ยง เพิ่มความเข้มงวดในการ บังคับใช้กฎหมายในการป้องกันไม่ให้มีการบรรทุกผู้โดยสารในตอนท้ายของรถกระบะที่ไม่มีโครงสร้างป้องกัน อันตรายจากการกระเด็นออกนอกรถ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องวิเคราะห์ปัญหาเชิงลึกเกี่ยวกับจุดเสี่ยงและหา แนวทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและครบวงจร

References

ณัฐกานต์ ไวยเนตร. (2549) แนวทางการสอบสวนสาเหตุการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจรทางถนน (Road Traffic Injury Investigation). นนทบุรี: กลุ่มงานระบาดวิทยา โรคไม่ติดต่อ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

Glennon. J.C. (2008). Effect of Pavement/Shoulder Drop-offs on Highway Safety in state of the Art Report: Number 6.

William Haddon. (1970). The Haddon Matrix [online]. [cited 2018, February] Available form: URL:www.genderandhealth.ca/en/modules/trauma/trauma-injury-and-prevention-03.jsp

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-18

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป