ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาสมรรถนะหลักช่องทางเข้าออกประเทศ ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ตามมาตรฐานกำหนดกฎอนามัย ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548 ประเทศไทย
คำสำคัญ:
กฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548, ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ, ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติงานและปัจจัยที่มีผลต่อการ พัฒนาสมรรถนะหลักช่องทางเข้าออกประเทศท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา ประชากรตัวอย่างคือคณะทำงานพัฒนาสมรรถนะหลักช่องทางเข้าออกประเทศท่าอากาศยานนานาชาติ เชียงใหม่ จำนวน50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม ระยะเวลาดำเนินการ เดือนมกราคมถึงพฤษภาคม2558 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนารูปแบบความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอนุมานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และวิเคราะห์ การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ โดยวิธีStepwise ผลการศึกษาพบว่าคณะทำงานเพศชายเท่ากับเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ50.0 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีคิดเป็นร้อยละ 58.0 มีระยะเวลาทำงานในช่องทาง เข้าออกประเทศในช่วง1– 10 ปีคิดเป็นร้อยละ88.0 เมื่อศึกษาระดับการปฏิบัติตามสมรรถนะหลักทั้ง 9 ด้าน พบว่าทุกด้านมีระดับการปฏิบัติในระดับมาก (x=4.06,S.D. = 0.55) และเมื่อทำการวิเคราะห์การถดถอย เชิงเส้นพหุคูณพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะหลักตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ 1) ด้านสมรรถนะหลักในการประสานกับเหตุการณ์เกิดขึ้นคือ ปัจจัยด้านกำหนดวิสัยทัศน์และปัจจัยด้าน กระบวนการทำงานซึ่งสมการการพยากรณ์สามารถอธิบายได้ร้อยละ65.6 (R Square = 0.65) 2) ด้าน สมรรถนะหลักที่ต้องมีตลอดเวลา (ในภาวะปกติ) คือปัจจัยด้านการกำหนดวิสัยทัศน์และด้านกระบวนการทำงานซึ่งสมการสามารถอธิบายได้ร้อยละ 68.3 (R Square = 0.68) และ 3) ด้านสมรรถนะหลักการ แก้ไขตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข (ในภาวะฉุกเฉิน) คือปัจจัยด้านภูมิหลังและด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในการทำงาน ซึ่งสมการสามารถอธิบายได้ร้อยละ 67.3 (R Square = 0.67)
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2550). สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี 5 มิถุนายน 2550 ณ ห้องประชุม ชั้น 2 ตึกสำนัก เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล. (อัดสำเนา)
กระทรวงสาธารณสุข.(2551ก). คำสั่งกระทรวงสาธารณสุขที่559/2551 เรื่องการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ การพัฒนาช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ IHR 2005 ลงวันที่ 4 มิถุนายน 2551. (อัดสำเนา)
กระทรวงสาธารณสุข.(2551ข). แผนพัฒนางานด้านกฎอนามัยระหว่างประเทศ.. 2548 (2005). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
กระทรวงคมนาคม. (2553). คำสั่งกระทรวงคมนาคมที่99/2553. แต่งตั้งทีมประเมินสมรรถนะหลักช่องทางเข้าออก ประเทศที่กำหนด 18 แห่งตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548. (อัดสำเนา)
กระทรวงสาธารณสุข.(2556). คำสั่งกระทรวงสาธารณสุขที่878/2556 การแต่งตั้งคณะกรรมการกฎอนามัย ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548(2005). (อัดสำเนา)
ปาริตา ชุ่มสา, เมวิกา สุขเน, ณัฎฐาวรกาญ แก้วอุดร, รัตน์พิศุทธิ์ อิกำเหนิด และไอลดา ปราสาทิกะพันธ์. (2 ความพึงพอใจของผู้เข้ามารับการบริการของโรงพยาบาลสัน[วิทยานิพนธ์ปริญญารายวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติ]. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้.
วราลักษณ์ ตังคณะกุลและชวลิต ตันตินิมิตรกุล(2556).การพัฒนาสมรรถนะหลักของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตามข้อกำหนดของกฎอนามัยระหว่างประเทศระหว่างปีพ.ศ. 2550-2555. วารสารวิชาการสาธารณสุข,22(6): 1029.
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่กรมควบคุมโรค.(ม.ป.ป.). รายงานผลการประเมินสมรรถนะหลัก ช่องทางเข้าออกประเทศ เขต 1 ปีงบประมาณ 2557. (เอกสารอัดสำเนา)
สำนักงานระบาดวิทยากรมควบคุมโรค(2556).. กฎอนามัยระหว่างประเทศพ.ศ. 2548 (2005).พิมพ์ครั้งที่3.นนทบุรี:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2557). คู่มือการประเมินตนเอง: การพัฒนาสมรรถนะ หลักช่องทางเข้าออกประเทศ ท่าอากาศยาน ท่าเรือ และพรมแดนทางบก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อดุลย์ศักดิ์ วิจิตร,วีรพงษ์ ปงจันตา,เพรียวภูรินทร์ มะโนเพียว,กุนนิดา ยารวง, อาทิตย์ มะลิดวง,กนกวรรณ ทองชุม,และคณะ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาสมรรถนะหลักช่องทางเข้าออกประเทศพรมแดนบก ท่าเรือและท่าอากาศยานตามมาตรฐานกำหนดกฎอนามัยระหว่างประเทศพ. 2548 ในเขตภาคเหนือตอนบนประเทศไทย.
[ออนไลน์].[7 มีนาคม 2559]. Available from: URL:http://thaigcd.ddc.moph.go.th/knowledges/download/278
Ungchusak K, Prempree P, Thepsoontorn S, Tantinimitkul C. (2008). Thailand National Core Capacity Development Plan in Compliances with International Health Regulations 2005, 2008-2012. 1st ed. Bangkok:The War Veterans Organization of Thailand under Royal Patronage of His Majestry The King press.
World Health Organization. (2009). IHR core capacity monitoring framework: Questionnaire for monitoring progress in the implementation of IHR core capacities in states parties. Geneva. WHO.
World Health Organization. (2011). IHR core capacity monitoring framework: Checklist and Indicator for Monitoring Progress in the Development of IHR Core Capacities in States Parties International Health Regulations. Geneva: WHO.
World Health Organization. (2012). Information to States Parties regarding determination of fulfillment of IHR Core Capacity requirements for 2012 and potential extensions. Geneva: WHO.