โรคที่สัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดดำจอประสาทตาอุดตันในผู้ป่วยโรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • กฤติกา อุปโยคิน โรงพยาบาลลำพูน

คำสำคัญ:

หลอดเลือดดำจอประสาทตาอุดตัน, ปัจจัยเสี่ยงโรคที่สัมพันธ์

บทคัดย่อ

โรคหลอดเลือดดำจอประสาทตาอุดตัน (retinal vein occlusion, RVO) เป็นกลุ่มโรค ที่พบมากเป็นอันดับสองของกลุ่มโรคหลอดเลือดจอประสาทตาผิดปกติรองจากโรคเบาหวานขึ้น จอประสาทตา ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาโรค ที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดดำจอประสาทตาอุดตันโดยเก็บข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective study) จากเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยใหม่ว่าเป็นโรคหลอดเลือดดำ จอประสาทตาอุดตัน ในโรงพยาบาลลำพูน ในช่วงระยะเวลา 3 ปี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไปของ ผู้ป่วยระดับการมองเห็นแรกรับ (Best corrected visual acuity, BCVA) ประวัติโรคทางกาย และ โรคทางตาของผู้ป่วย จากการศึกษาพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดดำจอประสาทตาอุดตันทั้งหมด 103 คน (103 ตา) พบว่า 90 คน (87.4%) เป็นชนิดหลอดเลือดดๆใหญ่อุดตัน (Central retinal vein occlusion, CRVO) ซึ่งมากกว่าชนิดแขนงหลอดเลือดดำอุดตัน (Branchretinal vein occlusion, BRVO) ซึ่งพบ 13 คน (12.6 %) ผู้ป่วย CRVO 51 คน มีการมองเห็นแรกรับน้อยกว่า 3/60 ส่วนผู้ป่วย BRVO มีการมองเห็นแรกรับน้อยกว่า 3/60 จำนวน 4 คน โรคที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดดำจอประสาทตาอุดตันได้แก่โรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง และโรคต้อหิน โรคหลอดเลือดดำจอประสาทตาอุดตันเป็นสาเหตุสำคัญหนึ่งที่ทำให้ ผู้ป่วยมีการมองเห็นลดลงการรักษาที่สำคัญ คือหาสาเหตุ และรักษาโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิด ภาวะนี้เพื่อป้องกันอุบัติการณ์การเกิดซ้ำในตาข้างเดิม หรือตาอีกข้าง และเพื่อให้ผลการรักษา ทางตาของผู้ป่วยดีขึ้น

References

Bertelson, M., Linneberg, A., Rosenberg, T., et al. (2012). Comorbidity in patients with branch retinal vein occlusion: case-control study. BMJ. 345e7885.

Cugati, S., Wang, J. J., Rochtchina, E., & Mitchell, P. (2006). Ten-year incidence of retinal vein occlusion in older population. The Blue Mountains Eye study. Arch ophthalmol.; 124: 726-732.

Fiebai, B., Ejimadu, C. S., & Komolafe, R. D. (2014). Incidence and risk factor for retinal vein occlusion at university of Port Harcourt Teaching hospital, Port Harcourt, Nigeria. Nigerian journal of clinical practice. 17: 463-466.

Karia, N. (2010). Retinal vein occlusion: pathophysiology and treatment options. Clinical ophthalmology. 4: 809-816.

Klein, R., Scot, E., Stacy, M., Barbara, E. & Klein, K. (2008). The 15-year cumulative incidence of Retinal vein occlusion. The Beaver Dam Eye Study. Arch ophthalmol. 126(4): 513-518 Laouri, M., Chen, E., Looman, M. & Gallaggher, M. (2011). The burden of disease of retinal vein occlusion: review of the literature. Eye. 25: 981-988.

Prisco, D., & Marcucci, R. (200). Retinal vein thrombosis: risk factor, pathogenesis and therapeutic approach. Pathophysiol Haemost Thromb. 32: 308-311.

Rehak, J. & Rehak, M. (2008). Branch retinal vein occlusion: Pathogenesis,visual prognosis and treatment modalities. Current Eye Research. 33: 111-1331.

Shrestha, R. K., Shrestha, J. K., Koirala, S., & Shah, D. N. (2006). Association of systemic disease with retinal vein occlusive disease. JNMA. 45: 244-248.

Yasuda, M., Kiyohara, Y., Arakawa, S., et al. (2010). Prevalence and systemic risk factors for retinal vein occlusion in general Japanese population: The Hisayama Study. IOVS. 51: 3205-3209.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-18

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป