การพัฒนาระบบการดูแลรักษาวัณโรคด้วยระบบยาระยะสั้นแบบมีพี่เลี้ยง (DOTS) ของโรงพยาบาลแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ไพฑูรย์ อุ่นบ้าน โรงพยาบาลแม่วาง

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบผู้ป่วยวัณโรค, การดูแลรักษาวัณโรคด้วยระบบยาระยะสั้นแบบมีพี่เลี้ยง(DOTS)

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาระบบ และศึกษาผลของการใช้ระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคด้วยระบบยาระยะสั้นแบบมีพี่เลี้ยง (DOTS) ที่เหมาะสมกับพื้นที่บริการของโรงพยาบาลแม่วางกลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้ใช้ระบบการดูแลรักษา ผู้ป่วยวัณโรคจำนวน 5 คน และผู้ป่วยวัณโรคจำนวน 3 คน ตรวจสอบคุณภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ ที่มีความรู้ และประสบการณ์ด้านการดูแลผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ จำนว5 คน เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสอบถามผลการใช้ระบบที่พัฒนาขึ้นผ่านตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยผู้ทรงคุณวุฒิได้ค่า CVI = 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่าระบบการดูแลรักษาวัณโรคด้วยระบบยาระยะสั้นแบบมีพี่เลี้ยง (DOTS) ที่เหมาะสมกับ พื้นที่บริการของโรงพยาบาลแม่วางประกอบด้วย 1) ระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยเมื่อได้รับการวินิจฉัย ครั้งแรก 2) ระบบการจำหน่ายและส่งต่อผู้ป่วยไปยังรพ.สต. 3) ระบบการติดตามเยี่ยมบ้านและตรวจ คุณภาพการรักษาภายใต้การสังเกตโดยตรง (DOT follow up) 4) ระบบการส่งเสริมคุณภาพการรักษา ภายใต้การสังเกตโดยตรงด้วยวิธีสมุดบันทึกประจำตัวผู้ป่วยวัณโรค 5)ระบบการดูแลติดตามผู้ป่วยหลัง ได้รับการวินิจฉัยวัณโรคปอด (ระบบ follow up ผู้ป่วยที่ OPD) และระบบที่พัฒนาขึ้นผ่านการประเมิน คุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญมีคุณภาพในภาพรวมที่ระดับดี (ค่าเฉลี่ย3.18±0.17) เมื่อศึกษารายด้านพบว่า ทุกด้านมีคุณภาพดี ได้แก่ ด้านขอบเขต/วัตถุประสงค์ และด้านการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง มีค่าเฉลี่ย 3.38±0.16 และ 3.11 ±0.34 ด้านขั้นตอนการพัฒนาระบบ และด้านความชัดเจน/การนําเสนอมี ค่าเฉลี่ย 2.88± 0.15 และ 3.21 ±0.19 ตามลำดับ ส่วนด้านการประยุกต์ใช้และด้านความเป็นอิสระของ ทีมจัดทําระบบมีค่าเฉลี่ย3.19± 0.16 และ 3.29 ±0.20 ตามลำดับผลการทดลองใช้พบว่าระบบที่พัฒนา ขึ้นมีคุณภาพในภาพรวมระดับดี ข้อดีของระบบที่พัฒนาขึ้นคือทำให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปตามมาตรฐาน และแนวทางเดียวกัน อัตราความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรค คิดเป็นร้อยละ 100

References

รุจาภา เจียมธโนปจัย. (2551). พัฒนาโปรแกรม ระบบการติดตามดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่ใช้ระบบยาระยะสั้นภายใต้ การสังเกตตรง ระดับอําเภอ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาล เวชปฏิบัติ. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.

โรงพยาบาลแม่วาง. (2557). สรุปผลผู้มารับบริการด้วยโรควัณโรคปีงบประมาณ 2557. เอกสารอัดสำเนา.

โรงพยาบาลแม่วาง. (2558). สรุปผลผู้มารับบริการด้วยโรควัณโรคปีงบประมาณ 2558. เอกสารอัดสำเนา.

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข.เครื่องมือการประ เมินคุณภาพแนวทางปฏิบัติสำหรับการวิจัยและการประเมินผล [สืบค้นเมื่อ.21ตุลาคม2558]; แหล่งข้อมูล:URL:http://www.agreetrust.org/wp-content/uploads/2013/09/Thai-AGREE-II.pdf

สายใจ เรืองศรีมั่นและคณะ. (2553). ผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมวัณโรคจังหวัดกาฬสินธุ์ปี2552.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 3(1). 18-25.

ศรีประพาเนตรนิยม,บรรณาธิการ(2556).. แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติพิมพ์ครั้งที่.2.กรุงเทพฯ:สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

อภิรักษ์ปาลวัฒน์วิไชยและ สุรจิตสุนทรธรรมแนวทางการพฒนาแนวทางเวชปฏิบัติ.(Guide to Develop Clinical Practice Guidelines). [สืบค้นเมื่อ21ตุลาคม2558]; แหล่งข้อมูล:URL : http://www.rcst.or.th/spaw2/ uploads/files/CPG%20handbook.pdf

WHO. (2015). Global Tuberculosis Report 2015. [สืบค้นเมื่อ21ตุลาคม2558]; แหล่งข้อมูล:URL : http:// apps.who.int/iribitstream/10665/191102/1/9789241565059_eng.pdf?ua=1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-18

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป