การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การประเมินระบบเฝ้าระวัง, โรคไข้เลือดออก, อำเภอเชียงดาวบทคัดย่อ
ปี 2558 พบอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกสูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี และจำนวนผู้ป่วยในที่เพิ่มขึ้นจาก ภาวะแทรกซ้อนการลดอัตราป่วยของโรคปัจจัยส ำคัญหนึ่งคือต้องมีระบบเฝ้าระวังโรคที่มีประสิทธิภาพ จึงดำเนินการศึกษาครั้งนี้เพื่อทราบคุณลักษณะเชิงปริมาณและคุณภาพของระบบเฝ้าระวังโรคดังกล่าว เสนอแนวทางพัฒนาระบบโดยทำการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ใช้นิยามโรคไข้ เลือดออกของสำนักระบาดวิทยาประเมินในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเชียงดาวระหว่าง 1 มกราคม – 31 ธันวาคม2558 ที่ได้รับการวินิจฉัยกลุ่มโรคไข้เลือดออกและการติดเชื้อไวรัสไม่ทราบสาเหตุ ด้วยการสัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้องโดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นเฉพาะวิเคราะห์ข้อมูลด้วย การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำมาจัดทำข้อสรุป วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วย Excel (Pivot Table) และ Epiinfo Version 3.4.5 ด้วยสถิติเชิงพรรณนาพบว่าความครบถ้วนของการรายงานโรคในผู้ป่วยที่เข้านิยาม 47.0% ความถูกต้อง 96.5% โดยตัวแปรที่ส่งผลให้รายงาน 506 เพิ่มขึ้น คือผู้ป่วยที่แพทย์ให้การวินิจฉัย แรกรับและสุดท้ายเป็นโรคไข้เลือดออก (Relative Risk= 2.81, 4.59) ซึ่งในกลุ่มนี้พบว่าผู้ป่วยนอกเป็น ปัจจัยเดียวที่มีผลต่อการรายงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (RR=1.36;95%CI 1. 07-1.73) ความถูกต้อง ของการรายงานต่ำสุด คือวันเริ่มป่วยถูกต้อง 6.1% ระบบเฝ้าระวังโรคมีความง่ายยืดหยุ่นเป็นที่ยอมรับ ของบุคลากรและมีความมั่นคงของระบบ ข้อแนะนำควรเพิ่มมาตรการให้ระบบเฝ้าระวังโรคให้มีความครบ ถ้วนของการรายงานมากขึ้นไม่เฉพาะผู้ป่วยที่แพทย์ให้การวินิจฉัยแต่ควรครอบคลุมถึงรายที่เข้าได้กับนิยาม เพิ่มความถูกต้องของข้อมูลโดยเฉพาะวันเริ่มป่วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการควบคุมโรคได้เร็วและป้องกัน การระบาด และควรเพิ่มการตรวจ Tourniquet test ในผู้ป่วยที่มีไข้สูงโดยเฉพาะระยะที่มีการระบาดของโรค
References
บุญมี โพธิ์สนาม,สุภาภรณ์ มิตรภานนท .การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกจังหวัดร้อยเอ็ดปีพ.ศ.2553. บทความทางระบาดวิทยา 2554; 42: 20-24.
ปภานิจ สวงโท, ดารินทร์ อารีย์โชคชัย.การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อกลุ่มโรคที่ต้องรายงานภายใน.24 ชั่วโมงในศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านต้นยางบ้านแม่สุรินและบ้านใหม่ในสอยปีพ.ศ. 2553. รายงานเฝ้า ระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2555; 43: 129-33.
ปรีชา ลากวงษ์และ พรนภา ศุกรเวทยศิริ(2555). คุณภาพของการรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกในโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดยโสธร ปี พ.ศ. 2555. วารสารวิจัยสาธารณสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(2), 55-64.
ธนรักษ์ ผลิพัฒน์,เสวาพักตร์ ฮิ้นจ้อย,คำนวณ อึ้งชูศักษ์,ปภานิจ สวงโท, และอาทิชา องศ์คำมา.ระบบเฝ้าระวัง.5 กลุ่มโรค 5 มิติ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทฮีร์จำกัด, 2557.
ลดารัตน์ ผาตินาวิน,รุ่งนภา ประสานทอง, และ วรรณา หาญเชาว์วรกุล(2548).. มาตรฐานงานระบาดวิทยา โรคติดต่อ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
สุริยะ คูหะรัตน์,บรรณาธิการ .นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพมหานคร:องค์การรับส่ง สินค้าและพัสดุภัณฑ์.
สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานการพยากรณ์โรค 2558 เข้าถึงได้จาก:https://drive.google.com/file/d/0B8Zl4XfjQfmFLUxLQVI4SjJzeFk /view?pref=2&pli=1 เรียกข้อมูลวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2559.