ผลของหนังสั้นต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่มารับบริ ระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังในโรงพยาบาลจอมทอง

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ อุทัยวรรณ โรงพยาบาลจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความวิตกกังวล, การระงับความรู้สึกด้วยวิธีการฉีดยาชาเข้าสู่ช่องน้ำไขสันหลัง

บทคัดย่อ

ความวิตกกังวลก่อนการผ่าตัดมีผลเสียต่อผู้ป่วยหลายอย่างทั้งต่อร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มารับบริการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าสู่ช่องน้ำไขสันหลัง การให้ดูหนังสั้นก่อนการตรวจเยี่ยม และ ให้ข้อมูลตามปกติโดยวิสัญญีพยาบาล จะลดความวิตกกังวลก่อนการผ่าตัดได้ดีกว่าการให้ข้อมูลตามปกติ เพียงอย่างเดียว วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อวัดระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่มารับบริการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าสู่ช่องน้ำไขสันหลัง ก่อนและหลังการให้ดูหนังสั้น พร้อมให้ข้อมูลตามปกติโดยวิสัญญีพยาบาล เทียบกับการให้ข้อมูลตามปกติโดยวิสัญญีพยาบาลเพียงอย่างเดียว และเพื่อเปรียบเทียบความร่วม มือการปฏิบัติตนขณะเผชิญสถานการณ์จริงของผู้ป่วยในห้องผ่าตัดและวัดความพึงพอใจทั้งสองลุ่ม การ ศึกษานี้ใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งการทดลองคัดเลือกผู้ป่วยจำนวน 60 ราย แบ่งเป็น2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 ราย โดยกลุ่มควบคุมจะได้รับการตรวจเยี่ยมและให้ข้อมูลตามปกติโดยวิสัญญีพยาบาลและกลุ่มทดลองได้ดู หนังสั้นก่อนได้รับการตรวจเยี่ยมและให้ข้อมูลตามปกติด้วยวิสัญญีพยาบาลวัดระดับความวิตกกังวลก่อนและหลังการให้ข้อมูลทั้งสองกลุ่มโดยใช้ State-Trait Anxiety Inventory X-1 Form วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบระดับความวิตก กังวลก่อนและหลังการให้ข้อมูล และความวิตกกังวลทั้งสองกลุ่มด้วยสถิติ dependent T-test และ independent T-test ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ย ระดับความวิตกกังวลในกลุ่มทดลองที่ให้ผู้ป่วยดูหนังสั้นและได้รับการให้ข้อมูลพบว่าระดับความวิตกกัง วลมี ค่าเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (52 .73±4.91 และ 38.20 ± 2.81, p<0.001) ส่วนในควบคุมก่อนและหลัง การให้ข้อมูลระดับความวิตกกังวลมีค่าเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญเช่นเดียวกัน (52.10±6.29 และ 46.33±7.29 , p<0.001) อย่างไรก็ตามกลุ่มที่ได้ดูหนังสั้นก่อนการให้ข้อมูลมีระดับความวิกกังวลต่ำกว่า กลุ่มที่ได้รับข้อมูลตามปกติเพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญ (38.20±2.81 และ 46.33 ± 7.29; p <0.001) พบว่ากลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยการให้ความร่วมมือและการปฏิบัติตนขณะเผชิญสถานการณ์จริงในห้องผ่า ตัดในระดับปานกลางและความพึงพอใจหลังผ่าตัดเสร็จ 24 ชั่วโมงในระดับมากส่วนกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยการให้ ความร่วมมือและการปฏิบัติตนขณะเผชิญสถานการณ์จริงในห้องผ่าตัดในระดับและควาพึงพอใจ หลังผ่าตัดเสร็จ 24 ชั่วโมงในระดับมากที่สุด

References

ดวงดาว อรัญวาสน์,สิริรัตรีพุทธรัตน์,เทพกร สาธิตการมณีและ กชกร พลาชีวะ.(2555). ผลการให้ข้อมูล อย่างมีแบบแผนต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่มารับบริการระงับความรู้สึกแบบทั้งตัววิสัญญีสาร,38(2),.102-108.

ดวงพร ชยุตสาหกิจ(2551).. ประสิทธิผลของกระบวนการพยาบาลต่อการลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนผ่าตัดวารสารวิชาการ. เขต 15, 22(2), 391-395.

ไมตรี ยอดแก้ว,วินีกาญจน์ คงสุวรรณและศรีสุดา วนาลีสิน(2553).. แนวทางปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดความ วิตกกังวลขณะผ่าตัดและระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังวารสารวิจัยมหาวิทยาลัยนราธิวาสราช. นครินทร์,2(3), 50-70.

อังควิภา มูลสุวรรณ(2555).. ผลของการเยี่ยมก่อนรับยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดแบบไม ในโรงพยาบาลขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ,5(2),158-163.

อุราวดี เจริญไชย .(2541). ผลของการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับวิธีการความรู้สึกและแนะน ำสิ่ ปฏิบัติต่อความวิตกกังวลความปวดและความทุกข์ทรมานในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ย วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

Spielberger, C. D., (1966). Anxiety and Behavior. New York, Academic Press.

Spielberger, C. D., Gorsuch, R. L. and Lushene R. E. (1989). Manual for the State-Trait Anxiety Inventory. Palo Alto, CA, Consulting Psychologists Press.

White J. M. (2001). Music as intervention: A notable endeavor to improve patient outcome.Nursing Clinics of North America, 36(1): 83-92.

Wong, K-Y. and Mok E. (2003). Effects of music on patient anxiety research. AORN Journal, 93(2), 1-13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-18

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป