ผลการเข้าร่วมโปรแกรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม ในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก และข้อ โรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • ดุษฎี อุณเวทย์วานิช โรงพยาบาลลำพูน

คำสำคัญ:

ข้อเข่าเสื่อม, โปรแกรมการดูแลตนเอง, หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อ

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ปัญหาสำคัญที่สุดในโรคข้อเข่าเสื่อมคือ อาการปวดและความสามารถในการใช้ข้อเข่าทำงานลดลง การปฏิบัติกิจกรรมที่เสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสม ทำให้ชะลอความเสื่อมและช่วยยืดอายุการใช้งานของข้อเข่า ดังนั้นการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมจึงเป็นสิ่งจำเป็น และที่สำคัญคือผู้ป่วยสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการดูแลตนเองในผู้ป่วย ที่เข้ามารับการรักษาภาวะโรคข้อเข่าเสื่อมในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก และข้อ โรงพยาบาลลำพูนวิธีการศึกษา: การวิจัยนี้เป็น การวิจัยแบบทดลองทางคลินิก (Clinical Trial)โดยกลุ่มศึกษาเป็นผู้ป่วยที่มารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลลำพูน กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน60รายมีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายแบบจับฉลาก แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ30รายกลุ่มทดลองได้รับการสอนโปรแกรม การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1)แบบสัมภาษณ์กลุ่มศึกษาทั้งก่อนและเมื่อสิ้นสุดช่วงเวลาศึกษา 2)โปรแกรมการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม ซึ่งประกอบด้วยแบบแผนการให้ความรู้อย่างเจาะจงด้านการปฏิบัติตัว และการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบเข่า ด้วยท่าบริหาร 3 ท่ากลุ่มตัวอย่างได้รับการติดตามประเมินผลเดือนละ 1 ครั้ง เป็นระยะ
เวลา 3 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบ Mann-Whitney-U test ผลการศึกษา: พบว่าผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่เข้าร่วมโปรแกรมการดูแลตนเอง มีระดับความเจ็บปวดลดลง สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ดี ลดการใช้ยาแก้ปวดปริมาณสูงลงโดยที่อัตราการใช้ยาแก้ปวดน้อยลงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ระดับความพึงพอใจในแต่ละข้อของกลุ่มทดลองดีขึ้น ความพึงพอใจต่อสุขภาพของตนเองและความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันสูงขึ้นตลอดจนสามารถใช้งานข้อเข่าได้ดีขึ้น เนื่องจากความรู้สึกเจ็บปวดเป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตลดลง สรุป: ผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม จึงควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้เพื่อลดความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมและยืดอายุการใช้งานของข้อเข่าต่อไป

References

จันทนา ทองชื่น. ผลของระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมวิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่ :มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2545.

วิวัฒน์ วจนะวิศิษฐ, ภัทรวัณย์ วรรนารัตน์, ชูศักดิ์ กิจคุณาเสถียร์, สุกิจ เลาหเจริญสมบัติ, และสรศักดิ์ ศุภผล. ออร์โธปิดิกส์. พิมพ์ครั้งที่ 1 ฉบับเรียบเรียงใหม่ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาออร์โธปิดิคส์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, 2550.

บุญเรือง พิสมัย, มณีรัตน์ ธีระวัฒน์, นิรัตน์ อิมามี และสุภาพ อารีเอื้อ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2555; 42(2): 54-67.

พิพัฒน์ เพิ่มพูน. ความรุนแรงของโรคและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ในโรงพยาบาลศิริราช[วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศิลปากร;2553.

สารเนตร์ ไวคกุล, วีระชัย โควสุวรรณ, ธไนนิธย์ โชตนภูติ, สุรพล เกษประยูร, กฤษณ์ กาญจนฤกษ์, และธนา ธุระเจน. แนวปฏิบัติบริการดูแลรักษาโรคข้อเข่าโรงพยาบาลรามาธิบดี; 2550.

สิริพรรณ ชาคโรทัย.ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อความรุนแรงของโรคในผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2555.

สุชิตา ปักสังคเน, อุดมศักดิ์ มหาวีรวัฒน์, และปิติ ทั้งไพศาล. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองต่อการลดความเจ็บปวดและความพึงพอใจของผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม. วารสารวิจัย มข.2554; 16 (1) :1-10.

สุรศักดิ์ นิลกานุวงศ์, สุรวุฒิ ปรีชานนท์, บรรณาธิการ. ตำาราโรคข้อ. กรุงเทพมหานคร:สมาคมรูมาติสชั่ม; 2548.

Burns, N., & Grove, S. K. (2009). Study guidefor the practice of nursing research:appraisal, synthesis, and generation ofevidence. (6th ed.). St. Louis: Saunders.

Selfe TK, Innes KE. Mind-body therapies and osteoarthritis of the knee. Curr Rheumatol Rev. 2009; 5: 204–11.

Woo, J., Lau, E., Lau, C. S., Zhang, J., Kwok, T., Chan, C., et al. (2003). Socioeconomic impact of osteoarthritis in Hong Kong: Utilization of health and social services, and indirect costs. Arthritis & Rheumatism (Arthritis Care & Research), 49, 526-534.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-21

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป