การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิด STEMI โดยการจัดการผู้ป่วยรายกรณี ในโรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • นิตยา ชนะกอก โรงพยาบาลลำพูน

คำสำคัญ:

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, รูปแบบพยาบาลผู้จัดการรายกรณี, รูปแบบการดูแลผู้ป่วย

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research ) มีวัตถุประสงค์ ที่จะศึกษาผลลัพธ์ด้านคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิด STEMI (ST segment Elevation Myocardial Infarction) ในการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ของโรงพยาบาลลำพูนโดยใช้การจัดการผู้ป่วยรายกรณี กลุ่มศึกษาคือผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิด STEMI จำนวน 60 ราย เป็นผู้ป่วยก่อนใช้การจัดการผู้ป่วยรายกรณี 30 ราย และหลังใช้การจัดการผู้ป่วยรายกรณี 30 ราย ช่วงเวลาระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2558 โดยมีพยาบาลผู้จัดการรายกรณี (Nurse Case Manager) จำนวน 2 คน ให้การดูแลผู้ป่วยโดยใช้กระบวนการของการพยาบาลแบบการจัดการรายผู้ป่วย และเป็นผู้ดำเนินการตั้งแต่แรกรับที่ห้องฉุกเฉิน ระหว่างได้รับการรักษาที่หอผู้ป่วยหนักและหอผู้ป่วยอายุรกรรม จนกระทั่งจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลเครื่องมือที่ใช้ 1) เครื่องมือดำเนินการวิจัยได้แก่ คู่มือและแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ประกอบด้วย แนวทางปฏิบัติในการรักษาผู้ป่วยระเบียบปฏิบัติในการรักษาผู้ป่วยโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจแผนการดูแลต่อเนื่องหลังจำหน่ายแผนการสอนการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วย รวมทั้งวิดีโอแสดงการตรวจสวนหัวใจ 2) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และแบบประเมินการคัดกรอง Throm-bolysis In Myocardial Infarction (TIMI score) วิเคราะห์ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยด้วยตัวชี้วัดจำนวน 7 ข้อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มศึกษาก่อนและหลังการใช้รูปแบบพยาบาลผู้จัดการรายกรณีโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและทดสอบคุณลักษณะของทั้งสองกลุ่มโดยใช้สถิติทดสอบ Mann-Whitney-U test การศึกษาพบว่า ผลลัพธ์ของตัวชี้วัดคุณภาพในกลุ่มศึกษาที่ใช้การจัดการรายกรณี ให้ผลที่ดีขึ้น ได้แก่
การได้รับยาละลายลิ่มเลือดภายใน 30 นาที (door to needle time) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 33.33 เป็นร้อยละ 69.24จำนวนวันนอนโรงพยาบาลลดลงจาก 7.10 วัน เป็น 4.33 วัน และอัตราผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจำเพาะ (PCI หรือ CABG) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 70 ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติผลของการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้การจัดการผู้ป่วยรายกรณีในการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดSTEMI ด้วยรูปแบบพยาบาลผู้จัดการรายกรณี สามารถทำให้คุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ดีขึ้น

References

กฤษดา จวนวันเพ็ญ บุญทิพย์ สิริธรังศรีและ บุญจง แซ่จึง. การพัฒนารูปแบบการจัดการพยาบาลผู้ป่วยรายกรณีสำหรับการดูแลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน. วารสารวิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนีนครราชสีมา2557; 20(1),80-94.

ข้อมูลหน่วยงานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลลำพูน.(2555-2557).จำนวนผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดSTEMI. งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน; 2555-2557.

ทัศนีย์ แดขุนทด.การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่ โดยรูปแบบผู้จัดการรายกรณี ณ โรงพยาบาลสกลนคร. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2550; 8 (2), 21-36.

นิยดา อกนิษฐ์ สุชาตา วิภวกานต์ และสุภาณี สิทธิสาร. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI โรงพยาบาลกระบี่. วารสารกองการพยาบาล 2556; 40(3),70-84.

ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน. ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน. ในวันชัย วนชิว นาวิน, สุทิน ศรีอัษฎาพร และวันชัย เดชสมฤทธิ์ฤทัย (บรรณาธิการ), ตำราอายุรศาสตร์โรคระบบ II. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน; 2552.

ปัทมา มิตรธรรมศิริ,พยุง เมฆพยัพ,อภินันท์ ชูวงษ์,ภัทรา อารักษ์ พุทธนันท์,บุญมา โอฐธนู,วิมลศรี สมรและคณะ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน โดยการใช้การ จัดการรายกรณีและทีมสหสาขาวิชาชีพ หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี2552[สืบค้นเมื่อ16 มกราคม. 2559]; จาก http://www.suansaranrom.go.th/
chumchon/doc/doc6cm.doc. (29/10/2009).

วัชระ ก้อนแก้ว, ดวงจิตร สมิทธิ์นราเศรษฐ์, อนุวัฒน์ ยิ้มพรม, ลัดดา สิริวีระพันธุ์, รัมภา โสตจาปา, อภินันท์ ชูวงษ์ และคณะการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันโดยการจัดการผู้ป่วยรายกรณีกลุ่มงานอายุรกรรมโรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี ปีงบประมาณ 2552. [สืบค้นเมื่อ16 มกราคม. 2559]; www.photharamhosp.go.th/ptrhos/.../30/pdfd04.pd

สุรพันธ์ สิทธิสุข และฆนัท ครุธกูล.แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุงปี 2557. โรคหลอดเลือดโคโรนารี่. กรุงเทพมหานคร: ศรีเมืองการพิมพ์จำกัด; 2557.

สุวนิตย์ โพธิ์จันทร์. (2554). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิด STEMI.วารสารชมรมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ2554; 29(1), 22-29.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวนอัตราตายโรคไม่ติดต่อและบาดเจ็บรายงานประจำปีงบประมาณ 2557. (จำแนกตามเขตสุขภาพและจำแนกตาม สคร 12 เขต) 2557[สืบค้นเมื่อ 28 ก.ย. 2558]; จากhttp://thaincd.com/information-statistic/non-communicable-disease-data.php

อภิชาต สุคนธสรรพ์. แนวทางการรักษา Acute ST-Elevation Myocardial Infarction ใน:อภิชาต สุคนธสรรพ์ (บรรณาธิการ), Practice Guidelines in Cardiology. เชียงใหม่: ทริคธิงค์; 2552.

Burns, N. & Grove, S. (2009).The Practice of Nursing Research: appraisal, synthesis, and generation of evidence (6th edn) St. Louis: W. B. Saunders.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-21

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป