ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาต้านไวรัส ในผู้ติดเชื้อ HIV ณ โรงพยาบาลดารารัศมี เชียงใหม่
คำสำคัญ:
โปรแกรมการให้ความรู้, ติดเชื้อ HIV, โรคเอดส์, ยาต้านไวรัสบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาต้านไวรัส ต่อการเพิ่มความรู้และความพึงพอใจของผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่รักษาด้วยยาต้านไวรัสสูตร จีพีโอเวียร์ Z 250 ในโรงพยาบาลดารารัศมี จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีความรู้เรื่องยาต้านไวรัสเอดส์ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 30 โดยทุกคนจะได้รับโปรแกรมการให้ความรู้เรื่องการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ประกอบด้วย 3 รูปแบบได้แก่ 1) การให้ความรู้รายบุคคล 2) การแจกฉลากช่วยยาต้านไวรัส 3) การร้องเพลงและเต้นประกอบเพลงยาต้านไวรัสด้วยสื่อภาพเคลื่อนไหว เมื่อเสร็จสิ้นโปรแกรมแล้ว ทำการทดสอบความรู้ด้วยแบบทดสอบชุดเดิมซ้ำทันที และทดสอบซ้ำอีกครั้ง 1 เดือนหลังจากนั้น ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Friedman Test พบว่าคะแนนความรู้ของผู้ป่วยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.005) ทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วย Paired Sample Sign test พบว่าคะแนนความรู้หลังสิ้นสุดการได้รับความรู้ด้วยโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาครั้งนี้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ หลังจากนั้นอีก 1 เดือน คะแนนความรู้จะลดลงไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับความรู้หลังสิ้นสุดโปรแกรม แต่ก็ยังสูงกว่าตอนเริ่มต้น (p<0.005) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อโปรแกรมให้ความรู้นี้ กลุ่มตัวอย่างไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความพึงพอใจระดับมากในทุกประเด็นที่ประเมิน ยกเว้นในข้อที่ให้ประเมินความพึงพอใจเกี่ยวกับภาพที่ใช้ประกอบ เห็นชัดเจนหรือช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น จำนวนคนที่พึงพอใจในระดับมากมีเพียงร้อยละ 36.7 ผลจากการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าการให้ความรู้โดยใช้สื่อหลายรูปแบบร่วมกันนี้สามารถช่วยให้การถ่ายทอดความรู้มีประสิทธิภาพดี และผู้ป่วยพึงพอใจ ดังนั้นน่าจะนำโปรแกรมนี้ไปขยายผลใช้กับโรงพยาบาลอื่นๆต่อไป
References
กองโรคเอดส์ กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการให้การปรึกษาแบบกลุ่มส ำหรับผู้ติด กรุงเทพฯ: เจ .เอส.การพิมพ์. จรินทร สมคู่, 2545.
งานส่งเสริมสุขภาพชุมชน โรงพยาบาลดารารัศมี. สถิติการดูแลผู้ติดเชื้อHIV งานส่งเสริมสุขภาพชุมชน โรงพยาบาล ดารารัศมี 2554-2557. เชียงใหม่; งานส่งเสริมสุขภาพชุมชน โรงพยาบาลดารารัศมี, 2557
ปรีชา อุปโยคิน, อภิสม อินทรลาวัณย์, ทรงสรรค์ อุดมศิลป์ และ รักชนก เจนวรากุล.การรับรู้และการเข้าถึงสื่อ สาธารณสุขในจังหวัดเชียงราย. โครงการวิจัยมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง[สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 25 จาก http://dspace.hsri.or.th/dspace/handle/123456789/1539.
วิไล ชินเวชกิจวานิชย์, กัลยา ซาพวง, ณัฐวรรณ ดีเลิศยืนยง, ปราลบ พรมล้วน และ ศักรินทร์วิมุ การสำรวจความรู้เรื่องโรคเอดส์ของผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีที่เป็นสมาชิกของชมรมผู้ติดเชื้อในโครงการโนแผนพัฒนาวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2557]; จาก http://w cphs.chula.ac.th/Surveillance Center/special issues/ส ำรวจโรคเอดส์ผู้ ติดเชื้อ ราชบุรี.pdf.
สำนัก ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2548). คู่มือการจัดการความรู้: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัต วันที่ 19 มกราคม 2554, จาก http://www.opdc.go.th/oldweb/thai/frame_kpi_49/handbook_2549.doc.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2551). ตัวชี้วัดที่สำคัญ: ผลสำมะโน/ สำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชา สืบค้นเมื่อ วันที่ 21 ธันวาคม 2556, จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/indicator/indSur51.pdf สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2553). คู่มือบริหารงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบ
2554 เล่มที่ 2 การบริหารงบบริการสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี และ ผู้ป่วยเอดส์ และการบริหาร ผู้ป่วยวัณโรค. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์.
Goujard, c., Bernard, N., Sohier, N., Peyramond, D., Lancon, F., Chwalow, J, et al. Impact of a patient education program on adherence to HIV medication A Randomized Clinical Trial. J Acquire Immune Defic Syndrom, 2003;p.34,191-194.