การสอบสวนการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน วันที่ 4-26 กุมภาพันธ์ 2556

ผู้แต่ง

  • อำนาจ ไชยเทศ โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน

คำสำคัญ:

ไข้หวัดใหญ่, โรงเรียนลำพูน, Case - control study

บทคัดย่อ

งานระบาดวิทยา กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลลำพูน ได้รับแจ้งจากโรงเรียนแห่งหนึ่ง เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2556 ว่าพบผู้ป่วยสงสัยโรคไข้หวัดใหญ่  จำนวน ๒๓ ราย ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) อำเภอเมือง จึงได้ดำเนินการสอบสวนโรคและควบคุมป้องกันโรค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการระบาดของโรคค้นหาเชื้อที่เป็นสาเหตุของการระบาด หาแนวทางในการควบคุม และป้องกันโรคไม่ให้แพร่ระบาดต่อไป โดยการใช้วิธีการศึกษาทางระบาดวิทยาเชิงพรรณนา การศึกษาทางห้องปฏิบัติการ การศึกษาทางด้านสภาพแวดล้อมและการศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ แบบ Case - control study ผลการสอบสวน พบผู้ป่วยทั้งหมด 482 ราย โดยแยกเป็นเพศชาย 202 ราย เพศหญิง 280 ราย ผู้ป่วยมีอายุระหว่าง 12-18 ปี พบอัตราป่วยสูงสุดในชั้น ม.2 คือ ร้อยละ 25.63 รองลงมา คือ ชั้น ม.3 อัตราป่วยเท่ากับ 23.20 อาการป่วยที่พบมากที่สุด คือ ไข้ ร้อยละ 100 รองลงมา คือ ไอ คิดเป็นร้อยละ 80.29 เริ่มต้นการระบาดจากผู้ป่วยเพศหญิง นักเรียน ชั้น ม.3 เริ่มมีอาการไข้สูง ไอ เจ็บคอ ในวันที่ 22 มกราคม 2556 ซึ่งป่วยหลังจากสัมผัสใกล้ชิดกับสมาชิกในบ้านที่ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ และอีก 7 วันต่อมา พบเพื่อนร่วมห้องเดียวกับผู้ป่วยจำนวน 2 ราย เริ่มมีอาการไข้และไอ หลังจากนั้นเริ่มพบผู้ป่วยในห้องอื่น ๆ ตามมา ส่วนการทำ Nasopharyngeal swab ผลการตรวจวิเคราะห์ ทางห้องปฏิบัติการพบเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A สายพันธุ์ H3 จำนวน 3 ราย ปัจจัยเสี่ยงในการระบาดครั้งนี้ คือ ผู้ที่มีสมาชิกในบ้านป่วย มีอัตราความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ (ค่า OR) ถึง 12.54 เท่า (95% CI = 5.16 – 31.27) การดำเนินการควบคุมโรค ทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) อำเภอเมือง ได้ให้ สุขศึกษาเรื่อง โรคไข้หวัดใหญ่ วางแนวทางการค้นหาและรายงานผู้ป่วยโรคติดต่อร่วมกับครูอนามัย ให้นักเรียนแจ้งครูประจำชั้นหรือครูอนามัยโรงเรียนทราบในกรณีที่สมาชิกในครอบครัวป่วยด้วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เฝ้าระวังจนผู้ป่วยหายเป็นปกติ และสถานการณ์โรคสงบไม่พบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มเติม

References

ฬุจิศักดิ์ วรเดชวิทยา และคณะ. การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ ณ ศูนย์ขวัญแผ่นดิน จังหวัดนครราชสีมา เดือนสิงหาคม 2554. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2554;44:355-60.

ชนินันท์ สนธิไชย และคณะ. การประเมินประสิทธิผลของมาตรการควบคุมโรคโดยไม่ใช้เภสัชภัณฑ์ ขณะเกิดการระบาด ของโรคไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ ในโรงเรียนแห่งหนึ่งำพูนจังหวัดลเดือนพฤศจิกายน 2550. Outbreak, Surveillance and Investigation Reports 2011;4:1-7.

ศณิษา สันตยากร และคณะ. การสอบสวนการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง จังหวัดอ่างทอง เดือนสิงหาคม 2552. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2552;40:665-8.

กลุ่มระบาดวิทยาโรคติดต่อ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. ไข้หวัดใหญ่.[อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึง 24 กรกฎาคม 2556]. เข้าถึงได้จาก:http://www.boe.moph.go.th/fact/Influenza.htm

ข้อแตกต่างระหว่างไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่.[อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2556]. เข้าถึงได้จากsiamhealth.net/public_html/Disease/infectious/cold_flu.htm

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-22

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป