ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบบริการใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบบริการ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคค ลกระบวนการบริหารและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขที่มีผลต่อการพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเพชรบุรี และผลการพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใน จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจงในกลุ่มผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุข และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 117 แห่งๆ ละ คน รวมทั้งสิ้น 234 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห พหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 71.4 อายุเฉ 41.49 ปี สถานภาพสมรส จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ประสบการณ์การทำงานเฉลี่ย 20 ปี และ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 29,177 บาท ปัจจัยกระบวนการบริหารและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในภาพรวมอยู่ใน ระดับสูง 2) ผลการพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับสูง 3) ปัจจัยที่มีผ ต่อการพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 คือ เพศ แรงจูงใจ ในการปฏิบัติงาน และกระบวนการบริหารจัดการ โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 76.3 และ 4) ปัญหา อุปสรรคที่สำคัญ คือ การพัฒนาฐานข้อมูลบริการ ยังไม่สมบูรณ์ ภาระงานที่เพิ่มมากขึ้น ประชาชนมีความ ต่อการให้บริการสูง และไม่เห็นความสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพ ข้อเสนอแนะ ผู้บริหารควรใช้กระบวนการบริหาร แรงจูงใจ ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นข้อมูลในการพิจารณาสนับสนุนหน่วยงานและบุคลากรในสังกัดอย่างต่อเนื่อง บุคลากร ,การจ่ายค่าตอบแทน และควรพัฒนาระบบข้อมูลบริการที่เชื่อมโยงกันตั้งแต่ผู้เป็นเจ้าของข้อมูล ชอบข้อมูลและทีมพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อให้การแสดงผลข้อมูลมีคุณภาพมากขึ้น สำหรับผู้ปฏิบัติงาน ควรปรับระบบบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนโดยการเน้นการมี ส่วนร่วม การสร้างทัศนคติที่ดีต่อการสร้างเสริมสุขภาพตามบริบทและสอดคล้องกับพื้นที่
References
คุณากร สุวรรณพันธ์. แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนัก สาธารณสุขระดับตำบลในจังหวัดหนองคาย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2550.
ชูชัย ศุภวงศ์. บรรณาธิการ. สถานีอนามัยสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล: นโยบายสู่การปฏิบัติ. กรุงเสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) , 2556.
ฐิติวรดา อัครภานุวัฒน์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลั มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554.
พิชิต แสนเสนา. บทบาทในการประสานงานของหัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนในจังหวัด ขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหาร สาธารณสุขบัณฑิต, 2549.
พงษ์ศักดิ์ ราชโสภา. ปัจจัยการบริหารและกระบวนการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน โครงการเมืองไทยแข็งแรง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดสกลนคร.สาขาวิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2550.
วงษ์เสน่ห์ เครื่องฉาย. แรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการตามมาตรฐานของ ศูนย์สุขภาพชุมชนในจังหวัดขอนแก่น. สาขาวิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น, 2550.
สุพัตรา ศรีวาณิชชากร. หลักการและคุณลักษณะสำคัญและการพัฒนาบริการสุขภาพปฐมภูมิ. เอกสารประกอบ การประชุมเชิงปฏิบัติการ (วันที่ 12 กันยายน 2546) ณ ห้องประชุม ตรังพลาซ่า จังหวัดตรัง, 2546.
สุพัตรา ศรีวณิชชากร และคณะ. รายงานโครงการพัฒนาระบบติดตามสถานการณ์ระบบบริการปฐมภูมิใน 4 จังหวัด , 2552.
Herzberg, Frederick, et al,. The Motivation to Work. New York : John Wiley and Sons, (1959).
Kouzes, J.M., & Posner, B. Z. The leadership challenge. 2th ed. San Francisco: Jossey- Bass, 1995.
Schermerhorn, et al., Organizational behavior (10 th ed) Hoboken,NJ: Wiley.2008.