อุบัติการณ์และปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะจุดรับภาพเสื่อม จากยาคลอโรควินในผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • จิรวรรณ รุจิเวชพงศธร โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน

คำสำคัญ:

อุบัติการณ์, ภาวะจุดรับภาพเสื่อม, ยาคลอโรควิน, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะจุดรับภาพเสื่อม ในโรงพยาบาลลำพูน เป็นการศึกษาย้อนหลังแบบ Retrospective case-control study โดยศึกษาผู้ป่วยที่ได้ รับยาคลอโรควินและมารับการตรวจคัดกรองจุดรับภาพเสื่อมจากยาคลอโรควินที่แผนกจักษุ โรงพยาบาลลำพูนช่วงระยะเวลาระหว่าง 1 มกราคม 2554 ถึง 31 ธันวาคม 2557 ทุกราย ทั้งหมด 83 ราย โดยทำการเก็บข้อมูล ย้อนหลังจากเวชระเบียน บันทึกข้อมูลทั่วไป, ประวัติโรคประจำตัว, ปริมาณยาสะสม, ระยะเวลาที่ได้ ผลการตรวจตา, ผลการตรวจตาบอดสีและลานสายตา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและปัจจัยเสี่ยงต่อการ เกิดภาวะจุดรับภาพเสื่อมจากยาคลอโรควินด้วยสถิติ Chi-square test, Fisher’s Exact test, t-test, Odds ratio ผลการศึกษาพบว่า อุบัติการณ์การเกิดภาวะจุดรับภาพเสื่อมจากยาคลอโรควิน พบร้อยละ 55.4 ( 95%= 45.6 - 67.2 ) โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะจุดรับภาพเสื่อมจากยาคลอโรควินของผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อายุ (p=0.045), ระยะเวลาที่ได้รับยาคลอโรควิน (p=0.028) และปริมาณยาสะสม(p=0.004) ดังนั้นการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาภาวะจุดรับภาพเสื่อมในผู้ป่วยที่ใช้ยาคลอโรควินในระยะ แรกของการรักษาจะมีประโยชน์ในการป้องกันการสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรจากภาวะจุดรับภาพเสื่อมได้

References

เขมจิรา เตชะกุลวิโรจน์. ภาวะจุดรับภาพเสื่อมจากยาคลอโรควินในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเชียงคำ.อุตรดิตถ์เวชสาร 2013;28(1):11-18.

Bernstein H, Zvaifler N, Rubin M, Mansour AM. The ocular deposition of chloroquine. Invest Ophthalmol. 1963;2(4):384-92.

Cox NH, Paterson WD. Ocular toxicity of antimalarials in dermatology. Br J Dermatol 1994; 131(6):878-82.

Elman A, Gullberg R, Nisson E, Rendahl I, wachtmeister L. Chloroquine retinopathy in patients with rheumatoid arthritis. Scand J Rhematol. 1976;5(3):161-6.

Fishman GA, Sokol S. Toxic condition.In: Fishman GA, Sokol S. Electrophysiologic testing in disorders of retina, optic nerve and visual pathway. San Francisco: American Academy of ophthalmology.1990:60-1.

Henkind P, Rothfield NF. Ocular abnormalities in patients treated with synthetic antimalarial drugs. N Eng J Med. 1963;269(9):433-9.

Michael FM, Ulrich K, Timothy YY, Jonathan SL, William FM. Revised Recommendation on Screening for Chloroquine and Hydroxychloroquine Retinopathy. Ophthalmology. 2011;118(2):415-22.

Shinjo SK, O Maia Jr, VA Tizziani, Morita C, Kochen JA, WY Takahashi, et al. Chloroquine-induced bull’s eye maculopathy in rheumatoid arthritis: related to disease duration. Clin Rheumatol. 2007;26:1248-53.

Suansilpong A, Uaratanawong S. Accuracy of Amsler grid in screening for Chloroquine retinopathy. J Med Assoc Thai 2010;93(4)462-6.

Thongsiew S. Chloroquine Maculopathy in Chian Rai Regional Hospital. Lampang Med J 2010;31(3): 94-104.

Utumporn Srikua, Nipat Aui-aree. Timing of Chloroquine and Hydroxychloroquine screening. Thai J Ophthalmol 2008;22(1)61-68.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-22

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป