การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อการป้องกันปอดอักเสบ ในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • อัลจนา ไชยวงศ์ โรงพยาบาลลำพูน
  • มาลีวรรณ เกษตรทัต โรงพยาบาลลำพูน
  • อุษณีย์ นากุ โรงพยาบาลลำพูน
  • สุรสิทธิ์ จีสันติ โรงพยาบาลลำพูน

คำสำคัญ:

ปอดอักเสบในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ, แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันปอด อักเสบในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ, โรงพยาบาลลำพูน

บทคัดย่อ

ปอดอักเสบในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นปัญหาสำคัญในโรงพยาบาลที่พบและส่งผลต่อผู้ป่วย ทำให้ อัตราการตายสูงและอีกทั้งโรงพยาบาลต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นดังนั้นบุคลากรทางการพยาบาลที่ดูแล ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจจึงต้องปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหาย ในหอผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลลำพูนระหว่างเดือนมิถุนายนพ.ศ. 2556 ถึงเดือนมิถุนายนพ.ศ. 2557ขั้นตอน ดำเนินการวิจัยมี 3ระยะ คือระยะที่ 1 การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลและการจัดทำคู่มือแนวปฏิบัติ การพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ระยะที่ 2 การเผแพร่และส่งเสริมการนำแนวปฏิบัติ ทางการพยาบาลไปใช้ในหอผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลลำพูน และระยะที่ 3 การประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาล ซึ่งแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ขึ้นประกอบด้วย 6 หมวดกิจกรรมได้แก่ 1)การล้างมือที่มีประสิทธิภาพก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วย 2)การดูแลจัด ท่านอนและการพลิกตัว 3)การดูดเสมหะ 4) การให้อาหารทางสายยาง 5) การดูแลความสะอาดช่องปากและ ฟันและ 6) การดูแลท่อช่วยหายใจและอุปกรณ์ช่วยหายใจซึ่งเดิมหอผู้ป่วยหนักไม่มีอ่างล้างมือในห้องผู้ป่วย ได้ มีการเพิ่มอ่างล้างมือในห้องผู้ป่วยและรณรงค์การล้างมืออย่างต่อเนื่องมีการเปลี่ยนสายดูดเสมหะแบบใช้ซ้ำมา เป็นแบบใช้แล้วทิ้งและปรับแนวทางการทำความสะอาดในช่องปากจากการใช้แปรงสีฟันมาเป็นน้ำยา 0. 12% chlorhexidine นอกจากนี้มีการปรับเปลี่ยนเวลาในการเปลี่ยนชุดสายเครื่องช่วยหายใจจากเดิมใช้ 1 ชุดต่อคน เปลี่ยนเป็นทุก 7 วัน หรือมีการปนเปื้อนมีการให้อาหารจากเดิมเป็น bolus dose เปลี่ยนเป็นแบบหยด (drip feeding) ภายหลังจากการนำแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ได้ไปใช้พบว่าพยาบาลวิชาชีพมีการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันปอดอักเสบในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ มากขึ้นก่อนการส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการป้องกันปอดอักเสบอย่างมีนัยส ำคัญทาง ระดับ.01 โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ76.04 เป็นร้อยละ83.93 อุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วย หายใจลดลงจาก 6.90 ครั้ง เป็น 3.34 ครั้งต่อ 1,000 วันที่ใช้เครื่องช่วยหายใจผลการศึกษาครั้งนี้พบว่าแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบในผู้ป่วยที่ใช้เครื่อง ช่วยหายใจเป็นกระบวนการที่เสริมสร้างทักษะให้แก่พยาบาลวิชาชีพและบุคลากรทางด้านสุขภาพใน การปฏิบัติกิจกรรมเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจได้อย่างถูกต้องและมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นจึงควรได้มีแนวนโยบายสนับส่งเสริมนุนช่วยเหลือในหน่วยงานอย่างต่อ เนื่องและยั่งยืน

References

ภาณุ อดกลั้น,นันทกา เหล่าอรรคะ,บุษบา ประสารอธิคม (2552). อุบัติการณ์ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม 1 โรงพยาบาลอุดรธานี.

วงเดือน ฦาชา. (2553). การพัฒนาคุณภาพการป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบสัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ โรงพยาบาลชัยภูมิ. วารสารกองการพยาบาล ปีที่ 37 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2553.

วันดี ศรีเรืองรัตน์(2556). การพัฒนาและประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันปอดอักเสบจาก การใช้เครื่องช่วยหายในผู้ป่วยหอผู้ป่วยหนักทั่วไปโรงพยาบาลหาดใหญ่ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบันฑิต (การพยาบาลผู้ใหญ่) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สายตา จังหวัดกลาง (2556). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบจากการ เครื่องช่วยหายใจ ในหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ.

อะเคื้อ อุณหเลขกะ. (2545). ความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 4). เชียงใหม่: มิ่งเมือง.

Boles, J. – M., Bion, J, Connors, A, Herridge, M., Marsh, B., Melote, C., et al. (2007). Weaning from mechanical ventilation. European RespiratoryJournal, 29, 1033 – 1056.

Klevens R. M, Edwards, J. R, Richards, C. L, Horan, T. C,Gaynes, R. P,Pollock, D. A. (2007). Estimating health care associated infections and deaths in U.S.hospital. Public Health Report:122(2):459 – 467

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-29

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป