การศึกษานำร่องเพื่อหาความชุกของภาวะกระดุกพรุนในประชากร เขตอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ปี 2557

ผู้แต่ง

  • มงคล ดวงหาคลัง โรงพยาบาลกุมภวาปี

คำสำคัญ:

ความชุกของภาวะกระดูกพรุน, โรงพยาบาลกุมภวาปี

บทคัดย่อ

ปัจจุบันประชากรสูงอายุมีแนวโน้มมากขึ้นซึ่งภาวะกระดูกพรุนก็จะเพิ่มมากขึ้นเช่นเดีทางโรงพยาบาลวกัน กุมภวาปีตระหนักถึงปัญหานี้จึงท ำการศึกษาหาความชุกของภาวะกระดูกพรุนในประชากรของอำเภอกุมภวาปี เพื่อนำข้อมูลมาวางแผนพัฒนาบริการสาธารณสุขของโรงพยาบาลให้สอดคล้องกับกลุ่มประชากร ผู้ป่วยที่มารับบริการตรวจรักษาโรคทั่วไปที่แผนกผู้ป่วยนอกนอกโรงพยาบาลกุมภวาปีจังหวัดอุดรธานีใน ระหว่างวันที่1มกราคม 2557 ถึงวันที่31ตุลาคม2557 ที่มีความสนใจในการตรวจวัดมวลกระดูกที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปกรอกแบบฟอร์มเกี่ยวกับประวัติสุขภาพและทำการตรวจวัดมวลกระดูกโดยใช้เครื่องDXAวัดที่กระดูก ปลายแขนซึ่งค่าที่ได้จะแสดงผลในทันทีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนาอธิบายร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมารตฐาน ของตัวแปรต่างๆ ผลการวิจัย พบว่าประชากรตัวอย่างทั้งหมดมี145 คน แบ่งเป็นชาย35 คน หญิง110 คน อายุตั้งแต่20-84 ปีโดยมีค่า เฉลี่ย(Mean) อายุที่52.72 ปีโดยฐานนิยม(Mode) จะมีอายุที่56ปีมีค่ามัธยฐาน(Median) อยู่ที่53ปีและ มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่13.95ปีความชุกของกระดูกบางพบมากสุดที่ช่วงอายุ50-59ปีร้อยละ17.24ความ ชุกของกระดูกพรุนพบมากสุดช่วงอายุ60-69ปีร้อยละ8.28 และในกลุ่มอายุตั้งแต่70-79ปีขึ้นไปจะพบความ ชุกของกระดูกพรุนรุนแรงมากที่สุดร้อยละ4.14ในกลุ่มประชากรตัวอย่างที่เป็นผู้หญิงเองนั้นพบความชุกกระดูก บางมากสุดในกลุ่มอายุ50-59 ปีร้อยละ17.27 ความชุกกระดูกพรุนพบมากในกลุ่มอายุ60-69ปีร้อยละ7.27 กระดูกพรุนรุนแรงพบมากช่วงอายุ70-79 ปีความชุกร้อยละ5.45 ในกลุ่มประชากรชายก็มีลักษณะคล้ายคลึง กันกับเพศหญิงโดยพบกระดูกบางมากสุดร้อยละ17.14 กระดูกพรุนร้อยละ11.43 กระดูกพรุนรุนแรงร้อยละ2.86 การที่ประชากรกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ให้ความชุกของภาวะกระดูกบางและกระดูกพรุน นั้นมีความชุกที่เพิ่มมากขึ้นจากการศึกษาในประชากรตัวอย่างของอำเภอกุมภวาปีเองก็ให้ข้อมูลไปในทางเดียวกันกับประชากรทั้งประเทศแต่เนื่องจากการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษานำร่อง จำนวนประชากรที่ศึกษาน้อย อีกทั้งการวัดมวลกระดูกครั้งนี้ใช้การตรวจวัดจากกระดูกปลายแขนซึ่งอาจให้ข้อมูลได้ไม่ถูกต้องมากเมื่อเทียบกับการตรวจวัดที่กระดูกสันหลังส่วนเอวหรือกระดูกคอสะโพกซึ่งถือว่าเป็นวิธีตรวจวินิจฉัยที่เป็นมาตรฐานจากข้อมูลนี้จะ นำไปประกอบการวางแผนจัดการการบริการ (service plan) ในผู้ป่วยกลุ่มสูงวัยและจะเป็นข้อมูลเพื่อการวิจัย ในอนาคต รวมถึงนำไปเป็นข้อมูลในการให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงวัยใน ประชากรอำเภอกุมภวาปี แบบองค์รวมอีกต่อไป

References

สำนักสถิติแห่งชาติ (สืบค้นเมื่อ1ตุลาคม2557); แหล่งข้อมูล:URL: http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/ districtList/S010107/th/57.htm

สำมะโนประชากรและเคหะพ.ศ. 2533 และ 2543 ทั่วราชอาณาจักรสำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี (The 2000 Population And Housing Census Whole Kingdom, National Statistical Office, Office Of The Prime Minister).

Chariyalertsak S, Suriyawongpaisal P, Thakkinstain A. Mortality after hip fracture in Thailand. Int Orthop 2001; 25: 294-7.

Limpaphayom KK, Taechakraichana N, Jaisamrarn U, Bunyavejchevin S, Chaikittisilpa S, Poshyachinda M, et al. Prevalence of osteopenia and osteoporosis in Thai women. Menopause 2001;8:65-9.

Pongchaiyakul C, Apinyanurag C, Soontrapa S, Sonntrapa S, Pongchaiyakul C, Nguyen TV, Rajatanavin R. Prevalence of osteoporosis in Thai men. J Med Assoc Thai 2006;89:160-9.

Riggs BL, Melton LJ, 3rd. Innovational osteoporosis. N Engl J Med. 1986 Jun 26;314:1676-86.

Soontrapa S, Somboonporn C, Somboonporn W. The correlation of bone mineral density among the lumbar spine, proximal femur and distal forearm,Srinagarind Med J 1999; 14(4); 245-50.

Vaseenon T, Luevitoonvechkij S, Wongtriratanachai P, Rojanasthien S. Long-term mortality after osteoporotic hip fracture in Chiang Mai, Thailand. J Clin Densitom 2010;13:63-7.

World Health Organization. Assessment of fracture risk and its application to screening for postmenopausal osteoporosis. No. 843 of technical reports series. Geneva, 1994.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-29

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป