การสำรวจการรับทราบข้อมูลข่าวสาร และความรู้ด้านสุขภาพ ของประชาชนไทยในภาคเหนือตอนบน ปี 2556

ผู้แต่ง

  • สวาท ชลพล สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
  • สภาวุฒิ บุญก่อน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
  • รพีพร เพียรไพรงาม สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
  • ชุติญา ไชยมณี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
  • กรเกษ ศรีวิลัย สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่

คำสำคัญ:

การรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางสุขภาพ, ความรู้เรื่องโรคและภัยสุขภาพจังหวัดภาคเหนือตอนบนการสื่อสาร ทางสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 สามารถประเมินผลการดำเนินการสื่อสารประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารโรคและภัยสุขภาพในปีที่ผ่านมาและเพื่อนำผลการสำรวจไปวางแผนการดำเนินการในปีต่อไปได้อย่างเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายตามบริบทของพื้นที่ภาคเหนือตอนบนโดยเป็นการสำรวจเฉพาะ โรคที่เป็นนโยบายของกรมควบคุมโรคกลุ่มเป้าหมายคือประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปซึ่งคัดเลือกตัวอย่าง แบบแบ่งชั้นภูมิกำหนดโควต้าตามเพศ อายุและตามสัดส่วนโครงสร้างประชากรเลือกจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบของสคร.10 ที่มีความเสี่ยงทางสุขภาพสูงคือเชียงใหม่และจังหวัดที่มีความเสี่ยงทางสุขภาพสูง คือเชียงใหม่ และจังหวัดที่มีความเสี่ยงทางสุขภาพต่ำ คือลำพูน รวม 2 จังหวัด แบ่งสำรวจประชาชนในเขตเมืองและเขตชนบทของแต่ละจังหวัดอย่างละครึ่งหนึ่ง (โดยน ำรูปแบบการสำรวจการ รับทราบข้อมูลข่าวสารความรู้และพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนไทยและภาพลักษณ์ของกรมฯปี2556เป็น ตัวอย่าง)เก็บตัวอย่างจังหวัดละ100ตัวอย่าง(เขตละ 50 คน) รวม 200 ตัวอย่างโดยเจ้าหน้าที่กลุ่มสื่อสารความ เสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพสคร. 10 ใช้แบบสัมภาษณ์ที่พัฒนาขึ้นจากการประชุมหารือของผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค ซึ่งผู้พัฒนาเครื่องมือและประมวลผลวิเคราะห์ข้อมูลคือเจ้าหน้าที่ 12 เขตและเจ้าหน้าที่จากสำนักโรคต่างๆ ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ Levine’s test?  และ t-test ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนมากรับทราบข้อมูลข่าวสารในเรื่องโรคและภัยสุขภาพทุกวันจากสื่อโทรทัศน์อินเทอร์เน็ตและคนใน ครอบครัวรองลงมา จากหนังสือพิมพ์ 1 ครั้งต่อสัปดจากวิทยุห์ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ส่วนที่เหลือรับทราบ 1 ครั้ง ต่อเดือน (แผ่นพับ/แผ่นปลิวโปสเตอร์ป้ายโฆษณาเจ้าหน้าที่สาธารณสุข(หมอ พยาบาล บุคลากรสาธารณสุข) อสม. (อาสาสมัครสาธารณสุข) เพื่อน/ญาติ/เพื่อนบ้าน/คนในชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน ปราชญ์ชาวบ้าน พระ/ครู) ทั้งสองเขตเห็นว่าสื่อโรคและภัยที่ไม่เคยได้รับมีจำนวน 6 โรค คือ1) ไข้ปวดข้อยุงลาย 2)หัวใจขาดเลือด 3) โปลิโอ วัณโรค 5) โรคเรื้อน 6) ไข้ฉี่หนูซึ่งแตกต่างจากพ.ศ. 2555 ที่ประชาชนไม่เคยได้รับทราบข้อมูลข่าวสารโรคเรื้อน ทั้งสองเขตรับทราบข้อมูลข่าวสารแตกต่างกันโดยในเขตเมืองรับทราบเรื่องอุบัติเหตุการจราจรทุกวันส่วนชนบท รับทราบโรคไข้เลือดออก3ครั้งต่อสัปดาห์นอกนั้นรับทราบฯ1ครั้งต่อเดือนเหมือนกันผลประเมินความพึงพอใจ ต่อข้อมูลข่าวสารฯจากกรมฯ พบว่าทั้งชายและหญิงจากทั้งสองเขตทุกกลุ่มอายุและระดับการศึกษา"มีความพึง พอใจระดับสูงมาก"ต่อข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากกรมฯในส่วนความคิดเห็นหรือทัศนคติต่อกรมฯส่วนใหญ่เห็นว่า ภาพลักษณ์ของกรมฯอยู่ในเกณฑ์ดีโดย(1) เห็นด้วยถึงเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าบุคลากรของกรมฯมีความรู้ในเรื่องการ ป้องกันและควบคุมโรคเป็นอย่างดีคิดเป็นร้อยละ95และ 95.3 (2) เห็นด้วยถึงเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์โรคระบาดต่างๆจะนึกถึงกรมฯเป็นอันดับแรกคิดเป็นร้อยละ80 และ 89.7 (3) เห็นด้วยถึงเห็นด้วยอย่างยิ่ง ข้อมูลที่เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆของกรมฯมีความน่าเชื่อถือคิดเป็นร้อยละ91 และ 95.1 (4) เห็น ด้วยถึงเห็นด้วยอย่างยิ่งว่ากมีกาเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึงมฯคิดเป็นร้อยละ75.3 และ 89 ในด้าน ความทันการณ์ของการนำเสนอข่าวสารพบว่ามีระดับความดิดเห็นแตกต่างกันมากโดยเขตเมืองมีระดับความคิด เห็นที่เห็นด้วยถึงเห็นด้วยอย่างยิ่งว่ากรมฯสามารถนำเสนอข่าวสารในเรื่องการป้องกันควบคุมโรคได้ทันเหตุการณ์ คิดเป็นร้อยละ40.5 แตกต่างจากเขตชนบทที่มีระดับความคิดเห็นระดับเียวกันเป็นร้อยละ70.1 อย่างไร ก็ตามเมื่อพิจารณาถึงร้อยละของความพึงพอใจที่พบว่ายังต่ำ สคร.10และกรมฯ ต้องเร่งน ำเสนอข้อมูลข่าวสาร ให้ทันเหตุการณ์ส่วนระดับความรู้เรื่องโรคและภัยสุขภาพพบว่าประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องโรคความ ดันโลหิตแอลกอฮอล์ วัณโรคโรคเอดส์โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือดโรคไข้หวัดใหญ่โรคอุจจาระร่วงบุหรี่ โรคพิษสารเคมีและความรู้โดยรวมของทุกโรคอยู่ในระดับ"สูงมาก"มากกว่าปีที่ผ่านมาส่วนระดับความรู้เรื่องโรค และภัยสุขภาพที่เหลือนั้นก็อยู่ในเกณฑ์“สูง”โดยความรู้เกี่ยวกับโรคอยู่ในระดับที่ได้มาตรฐานตามที่กรมฯ  กำหนด (ตั้งแต่ร้อยละ80 ขึ้นไป) จ ำนวน4 โรค คือ1) โรคไข้เลือดออก(อาการสำคัญ/การกำจัดลูกน้ำ2)โรควัณโรค (การติดต่อ)3) ไข้หวัดใหญ่ (ป้องกันการติดต่อ/ล้างมือ) 4)โรคอุจจาระ(ป้องกันโรคโดยกินอาหารสุกใหม่/การป้องกันขาดน้ำ) และ3 ภัยคือ1)แอลกอฮอล์(ผู้โดยสารดื่มแอลกอฮอล์ได้ไม่ผิดกฎหมาย)2)บุหรี่(การได้รับควัน บุหรี่มือสอง/อันตรายยาเส้น)และ3) พิษสารเคมี(ทางเข้าสู่ร่างกาย/ภาชนะบรรจุเป็นขยะอันตราย)ดังนั้นข้อ เสนอแนะคือควรนำผลการศึกษาวิจัยนี้ไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผน การสื่อสารให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ของล้านนาซึ่งรวมถึงการเลือกช่วงเวลาอาชีพความสนใจตามเพศและวัยมาใช้ในการสื่อสารเพื่อที่จะกระตุ้นการ รับทราบข้อมูลข่าวสารให้มากขึ้นรวมไปถึงการเลือกใช้ช่องทางสื่อโทรทัศน์อินเตอร์เน็ตและคนในครอบครัวให้ มากขึ้นรวมทั้งกระตุ้นบทบาทในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่ออื่นที่ได้รับความนิยมรองลเช่นวิทยุ ชุมชนหรือหนังสือพิมพ์ี่ประชาชนนิยมเปิดรับ้องถิ่นรวมถึงเพิ่มความถี่ในการประชาสัมพันธ์ก็น่าจะทำให้การ รับทราบข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคฯและภัย ได้ดีมากยิ่งขึ้น

References

กลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ, สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่10 การส ำรวจแบบ.รวดเร็ว(Quick Survey) เรื่องการสื่อสารความเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา 2557 เอกสารอัดสำเนา

กองแผนงาน (2553). กรมควบคุมโรค,กระทรวงสาธารณสุขแนวทางการถ่ายทอดเป้าหมายและตัวชี้วัดสู่หน่วยงาน. และบุคลากรกรมควบคุมโรคประจ ำปีงบประมาณพ.ศ. 2555.อ้างในสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนา พฤติกรรมสุขภาพ,กระทรวงสาธารณสุข,กรมควบคุมโรครายงานการสำรวจการรับทราบข้อมูลข่าวสารและ ความรู้ของประชาชนไทยปี 2556, 2556:10-12.

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร,กระทรวง, สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สำรวจสื่อมวลชนด้านวิทยุ.cd/หนังสือ website ของสสช., เอกสารรายงาน; 2543-2552.

ประมวลสาระชุดวิชาการวิจัยและสถิติประยุกต์ทางนิเทศศาสตร์หน่วยที่11-15. รายงานผลการสำรวจครั้งที่4/2551 ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการใช้โทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารและความบันเทิง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,นนทบุรี;2551.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์ มีสท สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม(สสสุขภาพ.)[สืบค้นเมื่อวันที่3ตุลาคม2557]; แหล่งข้อมูล:URL:www.thaihealth.or.th/

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, เอกสารการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน[สืบค้นเมื่อวันที่3ตุลาคม2557]; แหล่งข้อมูล:URL: http://www.sp.worldmedic.com/dm/education_program/ED3.doc

สํานักโรคไม่ติดต่อ,กระทรวงสาธารณสุขจำนวนผู้ป่วยในโรคหัวใจขาดเลือด/โรคเบาหวาน /โรคความดันโลหิตสูงโรคหลอดเลือดสมอง/โรคหลอดลมอักเสบ/ ถุงลมโป่งพอง/ และปอดชนิดอุดกั้นเรื้อรัง/โรคหืดตั้งแต่ พ.ศ. 2550 – 2555. [สืบค้นเมื่อวันที่6ตุลาคม2557]; แหล่งข้อมูล:URL:www.boe.moph.go.th/files/ report/20140109_40197220.pdf

สำนักโรคไม่ติดต่อ,รายงานข้อมูลผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงเบาหวานในปีงบประมาณ2555 ซึ่งป่วยเป็นเบาหวานในปีงบประมาณ 2556 [สืบค้นเมื่อวันที่1ตุลาคม2557]; แหล่งข้อมูล:URL:http://www.Thaincd.com/document/file/info.

สำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข.2555.จำนวนและอัตราผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานปี2553. [สืบค้นเมื่อวันที่12พฤศจิกายน2557];แหล่งข้อมูล:URL:http://www.thaincd.com/document/file/ info/non-communicable-disease/report-44-53-2.xls. 3 เมษายน

สำนักโรคไม่ติดต่อ,กรมควบคุมโรค,กระทรวงสาธารณสุข2555. จำนวนและอัตราตายด้วยโรคความดันโลหิตสูงปี 2553.) [สืบค้นเมื่อวันที่3ตุลาคม2557]; แหล่งข้อมูล:URL:http://www.thaincd.com/document/file/ info/non-communicable-disease/1-report-44-53.xls. 3 เมษายน

สำนักโรคไม่ติดต่อ,กรมควบคุมโรค,กระทรวงสาธารณสุข2555. จำนวนและอัตราผู้ป่วยในด้วยโรคหัวขาดเลือดปี 2553. [สืบค้นเมื่อวันที่3ตุลาคม2557]; แหล่งข้อมูล:URL:http://www.thaincd.com/document/ file/info/

สำนักโรคไม่ติดต่อ,กระทรวงสาธารณสุข.จำนวนผู้ป่วยในโรคหัวใจขาดเลือด/โรคเบาหวาน /โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง/โรคหลอดลมอักเสบ/ ถุงลมโป่งพอง/ และปอดชนิดอุดกั้นเรื้อรัง/โรคหืดตั้งแต่พ.ศ.2550 – 2555

สำนักระบาดวิทยากรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข.2555. จำนวนและอัตราป่วย-ตายต่อแสนประชากรแยกรายจังหวัดโรคไข้เลือดออก,โรควัณโรค,โรคไข้หวัดใหญ่,โรคอุจจาระร่วงปี2553. อ้างในสำนักสื่อสาร ความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ,กระทรวงสาธารณสุข,กรมควบคุมโรครายงานการสำรวจการรับทราบ ข้อมูลข่าวสารและความรู้ของประชาชนไทย ปี 2556:10-12.

สำนักระบาดวิทยากรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข .2555. อัตราป่วยต่อประชากรแสนคนของผู้ป่วยเอดส์ จำแนกตามรายจังหวัดพ.ศ 2553. อ้างในสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ,กระทรวง สาธารณสุข,กรมควบคุมโรค.รายงานการสำรวจการรับทราบข้อมูลข่าวสารและความรู้ของประชาชนไทย ปี 2556: 10, 12

สำนักสถิติพยากรณ์,สำนักงานสถิติแห่งชาติ,กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรายงานการ. สำรวจ ภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนพ.. 2543-2552 ,ปีที่จัดพิมพ์2553. [สืบค้นเมื่อวันที่3ตุลาคม 2557];แหล่งข้อมูล:URL:http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/pubs/pubsfiles/socPBook52.pdf

สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ,กระทรวงสาธารณสุข,กรมควบคุมโรครายงานการสำรวจการ รับทราบข้อมูลข่าวสารและความรู้ของประชาชนไทยปี2555:116

สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ,กระทรวงสาธารณสุข,กรมควบคุมโรายงานการสำรวจการ รับทราบข้อมูลข่าวสารและความรู้ของประชาชนไทยปี2556:166

อุบลรัตน์ รุ่งเรืองศิลป์.พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษา.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์.ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(สาธารณสุขศาสตร์)สาขาวิชาเอกสุขศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยมหิดล;2540. [สืบค้นเมื่อวันที่3ตุลาคม2557];แหล่งข้อมูล:URL:http://www.dric.nrct.go.th/bookdetail.php?book_ id=70892

อรนุช พิศาลสุทธิกุล และคณะ.พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนสงขลานครินทร์เวชสาร.ปีที่27 ฉบับที่1ม.ค.-ก.พ. 2552.
Janeen Candern ,Child Drowning:Evidence for a newly recognized cause of child mortality in low and middle income countries in Asia(รายงานการสำรวจ) 23 พฤษภาคม 2555. www.unicef.org/thailand/tha/media_18673.html

Nunn ally, J. C. Psychometric theory. New York, McGraw-Hill;๑๙๗๘.อ้างในสำนักสื่อสารความเสี่ยงและ พัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ,กระทรวงสาธารณสุข,กรมควบคุมโรค.รายงานการสำรวจการรับทราบข้อมูล ข่าวสารและความรู้ของประชาชนไทย ปี 2556:20

Yamane, T. Statistics: an introductory analysis. New York, Harper & Row. ,1973. อ้างในสำนักสื่อสารความ เสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ,กระทรวงสาธารณสุข,กรมควบคุมโรค.รายงานการสำรวจการรับทราบ ข้อมูลข่าวสารและความรู้ของประชาชนไทย ปี 2556:3

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-29

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป