ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะขาดออกซิเจนของทารกปริกำเนิด ในโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • นงเยาว์ สุวรรณกันทา โรงพยาบาลนครพิงค์

คำสำคัญ:

ภาวะขาดออกซิเจนของทารกปริกำเนิด, คะแนนแอพการ์คลอดก่อนกำหนดคลอด, ครบกำหนด คลอดเกินกำหนด, ภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์, ทารกอยู่ในภาวะเครียด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลังมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะขาดออกซิเจนของทารกปริกำเนิดในโรงพยาบาลนครพิงค์กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่มารดา ที่มาคลอดที่ห้องคลอดโรงพยาบาลนครพิงค์ตั้งแต่วันที่1มกราคม ถึง30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ที่คลอดบุตรมี Apgar score น้อยกว่าหรือเท่ากับ 7 จำนวน84 ราย และสุ่มอย่างง่ายแบบมีระบบในมารดาที่คลอดบุตรมี Apgar score มากกว่า 7 จำนวน 168 ราย รวมทั้งหมด 252 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบบันทึกข้อมูลซึ่ง ประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนคือข้อมูลทั่วไปข้อมูลปัจจัยเสี่ยงทางมารดาการคลอดและทารก ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูล โดยเก็บจากเวชระเบียนผู้ป่วยคลอดวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวนร้อยละ และสถิติวิเคราะห์ ได้แก่ Fisher’s Exact Test ผลการศึกษาพบอุบัติการณ์การเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกปริกำเนิด คิดเป็น 54.79 รายต่อหนึ่งพันทารกคลอดมีชีพ ปัจจัยเสี่ยงที่พบได้แก่ภาวะขาดออกซิเจนของทารกปริกำเนิด การได้รับ ยาระงับปวด การคลอดที่ส่วนนำไม่ใช่ศีรษะ ภาวะทารกติดไหล่ ภาวะสายสะดือถูกกด ทารกอยู่ในภาวะเครียดมี ภาวะความดันโลหิตสูงทารกเพศชาย ทารกคลอดก่อนกำหนด และทารกแฝดสัมพันธ์กับภาวะขาดออกซิเจนของ ทารกปริกำเนิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

 

 

References

คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ.แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่10กรุงเทพฯ:. โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2550

ชญาศักดิ์ พิศวง ปริศนา พานิชกุล.ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด.เวชสารแพทย์. ทหารบก. 2554; 64:109-19

ฐิติพร สิริรวชิรชัย อรวรรณ รุจิรกุล บานเย็น แสนเรียน ทัศนีวรรณ โพธิหนูด. ติดตามผลการเกิดภาวะขาดออกซิเจน. ของทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลขอนแก่น. ขอนแก่นเวชสาร.2546; 27(3):172-88

แบบประเมินตนเองตามมาตรฐานHA (บันทึกความก้าวหน้าในการพัฒนา/สื่อสารข้อมูลเพื่อการเยี่ยมสำรวจ) กลุ่มงานสูติ – นรีเวชกรรม โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่. 2557. เอกสารเผยแพร่

บรรพต สุวรรณชาติ.ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์.ศรีนครินทร์. เวชสาร. 2547; 9(4):233-240

ประนอม บุพศิริ. คลอดติดไหล่. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2554; 26(1):64-69

เยื้อน ตันตินิรันดร์ 2551. เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพฯ:ราชวิทยาลัยสูตินรีเวชแห่ง ประเทศไทย. ภาวะขาดออกซิเจนในทารกปริกำเนิด, 305-21

Agata Y, Hiraishi A, Misawa H, et al. Hemodynamic adaptations at birth in neonates delivered vaginally and cesarean section. Biol Neonate 1995: 68:404-11
Cunningham, Leveno, Bloom, Hauth, Rouse, Spong.Williams Obstetrics. United states of America:The McGraw-Hill Companies, 2010; 410-440

Linda Hogan, Ingemar Ingemarsson, Kristina Thorngren-Jerneck, Andreas Herbst. European Journal of Obstetrics & Gynecology and Reproductive Biology 130 (2007) 169–175

World Health Organization. International statistical classification of diseases and related health problems.10th revision, 1993.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-29

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป