ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกลับมาบริจาคโลหิตซ้ำในผู้บริจาคโลหิต โรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • ภณิดา คำธิตา โรงพยาบาลลำพูน

คำสำคัญ:

การบริจาคโลหิต, ผู้บริจาคโลหิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มุ่งที่จะศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการกลับมาบริจาคโลหิตซ้ำในผู้บริจาคโลหิตโรงพยาบาลลำพูน เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา(Descriptive Research) และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากผู้บริจาคโลหิตที่สมัครใจบริจาคโลหิตให้กับงานธนาคารเลือดโรงพยาบาลลำพูนทั้งการรับบริจาคโลหิตในโรงพยาบาล และการบริจาคให้หน่วยบริการเคลื่อนที่ในช่วงระหว่างวันที่ 1 กันยายน– 10 ตุลาคม 2557 จำนวน 160 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ค่าความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยและสถิติเชิงอนุมานได้แก่ ค่าไคสแควร์ (chi – square and Fisher Exact test) ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ ผู้บริจาคโลหิตส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 52.5 อายุระหว่าง 21 – 30 ปี ร้อยละ 45 สถานภาพ สมรส ร้อยละ 56.9 จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 36.9 อาชีพรับจ้างร้อยละ 60.6 น้ำหนัก 56– 65 กิโลกรัม ผู้บริจาคมีโลหิตหมู่โอ มากที่สุด และเคยบริจาคโลหิตมาก่อนจำนวน 2– 10 ครั้ง บริจาคโลหิตในเมื่อมีการจัดโครงการรณรงค์บริจาคโลหิตเหตุผลสำคัญที่ตัดสินใจบริจาคโลหิ้องการช่วยเหลือสังคมและเป็นความส่วนใหญ่ รับผิดชอบต่อสังคมที่ควรช่วยกันบริจาคโลหิตร้อยละ 73.1 รองลงมาเพื่อให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงร้อยละ 60.0 ผู้บริจาคโลหิต มีความพึงพอใจโดยรวมต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่รับบริจาคโลหิตในระดับมากด้านความรู้เกี่ยวกับการบริจาคโลหิตพบว่าในภาพรวม ผู้บริจาคโลหิตมีความรู้เกี่ยวกับการบริจาคโลหิต ในระดับสูงโดยมีความรู้เป็นอย่างดีว่าภายหลังบริจาคโลหิตควรงดหรือหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ต้องเสีย เหงื่อมากหลังบริจาคโลหิตเสร็จไม่ควรลุกขึ้นทันทีเพราะอาจหน้ามืดเป็นลมหรือหกล้มได้ไม่ควรเคี้ยวหมาก ฝรั่งหรืออมลูกอมขณะบริจาคโลหิตก่อนวันบริจาคโลหิตควรดื่มน้ำ 3-4 แก้วหรือน้ำผลไม้ นม น้ำหวาน เป็นต้น แนวโน้มการกลับมาบริจาคโลหิตซพบว่าผู้บริจาคโลหิตส่วนใหญ่ร้อยละ 71.3 มีแนวโน้มที่จะกลับมา บริจาคโลหิตในครั้งต่อไปและจะแนะนำให้บุคคลอื่นเช่นเพื่อนบุคคลในครอบครัวให้มาบริจาคโลหิตกับงาน ธนาคารเลือด โรงพยาบาลลำพูน มากถึงร้อยละ 95.0 จากผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการกลับมาบริจาคโลหิตซ้ำในนผู้บริจาคโลหิตที่โรงพยาบาลลำพูน พบว่าน้ำหนักตัวจำนวนครั้งที่บริจาคโลหิตระยะเวลาการบริจาคโลหิตความพึงพอใจโดยรวมต่อการให้บริการ ของเจ้าหน้าที่รับบริจาคโลหิตและความรู้เกี่ยวกับการเตรียมตัวบริจาคโลหิตมีผลต่อการกลับมาบริจาคโลหิตในผู้บริจาคโลหิต โรงพยาบาลลำพูน

References

กนิษฐา นิทัศน์พัฒนา และคณะ. (2544). รายงานการวิจัยจิตสำนึกทางสังคมของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

คณะเทคนิคการแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2550).โลหิตทางการแพทย์เชียงใหม่:.คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

งานธนาคารเลือดโรงพยาบาลลำพูน(2557). รายงานการประชุมคณะกรรมการใช้โลหิตโรงพยาบาลลำพูน .ครั้งที่ 1/2557 ลำพูน: งานธนาคารเลือด โรงพยาบาลลำพูน.

เชาวศิลป์ ยุชัย (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริจาคโลหิตของผู้ที่มาบริจาคโลหิตณภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 10 สภากาชาดไทย จังหวัดเชียงใหม่การค้นคว้าแบบอิสระ.เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย เชียงใหม่.

ณัชชา จำรูญจันทร์ (2552). เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการบริจาคโลหิตซ้ำวิทยานิพนธ์.เศรษฐศาสตร-มหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิลวรรณ สรรพานิช.(2549). ทัศนคติของประชาชนที่มาบริจาคโลหิตต่อการบริการของหน่วยพยาธิวิทยาคลินิก โรงพยาบาลพะเยา จังหวัดพะเยาภาคนิพนธ์.ศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาพัฒนาสังคมมหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา.

ศูนย์บริจาคโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย. (2556). ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย รายงานประจำปี2556.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โสภิดา เพชรสารกุล (2552). ทัศนคติต่อการบริจาคโลหิตของประชากรในอำเภอเมืองเชียงใหม่ การค้นคว้าแบบอิสระ. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-29

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป