ผลของการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูง ของบุคลากรโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

ผู้แต่ง

  • นงนุช จันทร์ศรี โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

คำสำคัญ:

โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (QuasiExperimental Research) แบบสองกลุ่ม วัดก่อนและหลัง การทดลอง (Two Group Pretest – Posttest Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง บุคากรของโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์กลุ่มตัวอย่างหิตสูง คือบุคลากรโรงพยาบาลที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 191 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 98 คนและ กลุ่มเปรียบเทียบ 93 คน ระยะเวลาดำเนินการ 8 เดือนในระหว่างเดือนตุลาคม 2555-พฤษภาคม 2556 เครื่อง มือที่ใช้และรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบบันทึกสุขภาพกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพเป็นกิจกรรมฐานการเรียนรู้ 3อ. ได้แก่อาหาร ออกกำลังกายอารมณ์โดยประยุกต์จากทฤษฎี การดูแลตนเอง (Self Care Theory) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานด้วยสถิติ Independent t- testและPaired Sample t-test ผลการศึกษาพบว่าหลังการทดลองกลุ่มทดลองระดับความดันโลหิตตัวบน (Systolic) และระดับความดัน โลหิตตัวล่าง (Diastolic) มีค่าเฉลี่ยลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนกลุ่ม เปรียบเทียบหลังการทดลองพบว่าระดับความดันโลหิตตัวบน (Systolic) และระดับความดันโลหิตตัวล่าง (Diastolic) ไม่มีความแตกต่างกันและเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตตัวบน (Systolic) และระดับ ความดันโลหิตตัวล่าง (Diastolic) หลังการได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มทดลองและกลุ่ม เปรียบเทียบพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผ่านกิจกรรมฐานการเรียนรู้ 3อ. ได้แก่อาหาร ออกกำลัง กาย อารมณ์สามารถลดระดับความดันโลหิตตัวบน (Systolic) และระดับความดันโลหิตตัวล่าง (Diastolic) ใน กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

References

จุรีพร คงประเสริฐ. ภาวะโรคหัวใจ และหลอดเลือดที่ประเทศไทยเผชิญจากปัจจุบันสู่อนาคต ม.ป.ท. [สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2553]: แหล่งข้อมูล URL: http://thaigcd.ddc.moph.go.th

นิตย์ ทัศนิยม.การสอนวิชาการส่งเสริมสุขภาพโดยใช้ฐานคิดการสร้างพลังอำนาจ.วารสารสภาการพยาบาล2554;26 (ฉบับพิเศษ) 17-29.

มยุรี สิทธิธูรณ์.ปัจจัยพฤติกรรมสุขภาพกับผลการตรวจสุขภาพประจำปีของบุคลากรสาธารณสุขอำเภอ บ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย(สารนิพนธ์)มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2553.

วิทยา ศรีดามา.ตำราอายุรศาสตร์4.พิมพ์ครั้ง2กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2550:162 – 170 .

สมจิต หนุเจริญกุล และอรสา พันธ์ภักดี. การพยาบาลโรคความดันโลหิตการทบทวนองค์ความรู้ดี.สถานการณ์และปัจจัยสนับสนุนในการดูแลตนเอง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2542:61 – 64 .

สุพรชัย กองพัฒนากูล.เทคนิคการดูแลรักษาโรคความดันโลหิตสูง.กรุงเทพฯ.: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย;2542:17 – 23 .

สุรพล อริยะเดช.ผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของข้าราชการอำเภอปลวกแดงจังหวัดระยอง.วารสารศูนย์การแพทย์ศึกษาคลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2555; 29 (3) : 205-215.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์. สถิติการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. รายงานประจำปี; 2554:

สำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข.รายงานประจำปี2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์;2553:20 – 27.

อำนาจ ศรีรัตนบัลล์.การสร้างเสริมสุขภาพและพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ..ศ.2550.วารสารอายุรศาสตร์อีสาน 2550; 6 (6) : 1-12.

Laura P. Management of prehypertension. Am Heart Assoc 2005; 45 (6): 1056-61.

Rocellia, E.R, Seven report of the Joint National Committee on Prevention, Detection, Evaluation and Treatment of High Blood Pressure. Journal of American Association. 19, N.P; 2003.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-30

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป