ผลการรักษาผู้ป่วยโรคหืดในคลินิกโรคหืดแบบง่าย โรงพยาบาลพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ปริญญา พลเสน โรงพยาบาลพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

โรคหืด, คลินิกโรคหืดแบบง่าย, การควบคุมอาการโรคหืด, ค่าทดสอบสมรรถภาพปอด

บทคัดย่อ

โรคหืดเป็นโรคเรื้อรังและเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก การให้บริการที่เป็นระบบตรงตามมาตรฐานสามารถช่วยลดความรุนแรงของโรคหืดได้ โรงพยาบาลพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดตั้งคลินิกโรคหืดแบบง่าย โดยมีการให้บริการรักษาจากทีมสหสาขาวิชาชีพ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของคลินิก โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยโรคหืดแบบง่าย และบันทึกประวัติผู้ป่วยนอกของกลุ่มตัวอย่างที่เข้ามารับการรักษาในคลินิกอย่างต่อเนื่องครบ 1 ปี เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 ถึง ธันวาคม พ.ศ.2555 เก็บรวบรวมข้อมูลการควบคุมโรคหืด ค่าทดสอบสมรรถภาพปอด และข้อมูลการมารักษาด้วยอาการโรคหืด ที่แผนกห้องฉุกเฉินและแผนกผู้ป่วยใน ก่อนและหลังเข้าคลินิกเดือนที่ 3, 6 และ 12 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบของแมคนีมาร์การทดสอบค่าที และอัตราส่วนออด ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างจำนวน 38 คน เป็นเพศชายร้อยละ 44.74 เพศหญิงร้อยละ 55.26 เมื่อเปรียบเทียบผล การศึกษาก่อนและหลังเข้าคลินิกโรคหืดแบบง่าย กลุ่มตัวอย่างไม่มีอาการหอบช่วงกลางคืนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.02) การใช้ยาบรรเทาอาการหอบลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.03) และกลุ่มตัวอย่างที่เข้ามารับการรักษาในคลินิกไม่ได้เข้ารับการรักษาที่แผนกห้องฉุกเฉิน 7.61 เท่าและแผนกผู้ป่วยใน 15.07 เท่าของก่อนเข้ารับการรักษาที่คลินิกจากผลการศึกษาทำให้ทราบว่าการรักษาผู้ป่วยโรคหืดในคลินิกโรคหืดแบบง่ายของโรงพยาบาลพร้าว มีผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบก่อนเข้าคลินิก

References

คณะกรรมการปรับปรุงแนวทางการวินิจฉัย และรักษาโรคหืด พ.ศ. 2551. แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุข: การดูแลผู้ป่วยโรคหืด พ.ศ. 2551. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช), 2552.

ครรชิต เจิมจิตรผ่อง, คู่ขวัญ สวัสดิ์พาณิชย,์ จิณห์จุฑา คล้ายวงษ์, นิพนธ์ ฐิติญาณวิโรจน์. การพัฒนาระบบการรักษาผู้ป่วยโรคหืดให้ได้มาตรฐานในโรงพยาบาลมัญจาคีรี. ขอนแก่นเวชสาร 2550; 31(3): 231-40.ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล. ผลลัพธ์การจัดคลินิกโรคหืดอย่างง่ายในโรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธ์. ศรีนครินทร์เวชสาร 2550; 22(4): 449-58.

พรทิพย์ เจียมบุญศรี, พรทิพย์ แก้วสิงห์, แสงเพชร โคตรภัทร์, พิทักษ์พงศ์ คาภา, ปิยะธิดา ประทุมเทศ,รุ่งทิพย์ เจริญศรี. ผลการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหอบหืดของผู้ใหญ่ในโรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ์. ศรีนครินทร์เวชสาร 2553; 25(4): 265-71.

วัชรา บุญสวสัดิ์. คลินิกโรคหืดแบบง่ายๆ (Easy Asthma Clinic). ใน: วัชระ จามจุรีรักษ์, สุนันทา สวรรค์ ปัญญาเลิศ, บรรณาธิการ. 5th BGH Annual academic meeting: From the basic to the top in Medicine. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.รุ่งทิพย์ออฟเซท, 2548.

วัชรา บุญสวัสดิ์. โรคหืด (Asthma). ใน: นิธิพัฒน์ เจียรกุล, บรรณาธิการ. ตำราโรคระบบการหายใจ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์; 2550: 444-55.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. รายงานผล โครงการตรวจเวชระเบียน เพื่อประเมินคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคหืด ปีงบประมาณ 2550; 2551.

อารีย์ ดวงดี. ผลลัพธ์ของการจัดตั้งคลินิกโรคหืดแบบง่ายในโรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2550; 1(2): 45-50.

Boonsawat W, Charoenphan P, Kaiboonsri S, et al. Prevalence of asthma Symptoms in adult in 4 cities of Thailand. Joint scientific meeting the Thoracic Society of Thailand, the Malaysia Thoracic Society and the Singapore Thoracic Society; 2002; Bangkok, Thailand; 2002: 112.

Boonsawat W, Charoenphan P, Kaiboonsri S, et al. Survey of asthma control in Thailand. Respirology 2004; 9(3): 373-8.

Busse W, Elias J, Sheppard D, Bank-Schlegel S. Airway remodeling and repair. Am J Respir Crit Care Med 1999; 160(3): 1035-42.

Global initiative for asthma. Global strategy for asthma management and prevention NHLBI/WHO workshop report, 1995.

Teeratakulpisarn J, Pairojkul S, Heng S. Survey of the prevalence of asthma, allergic rhinitis and eczema in school children from Khon Kaen, Northeast Thailand. An ISAAC study. International Study of Asthma and Allergies in Childhood. Asian Pac J Allergy Immunol 2000; 18(4): 187-94

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-25

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป