การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขในการส่งเสริมสุขภาพประชาชนเรื่องความดันโลหิตสูง อำเภอเชียงคา จังหวัดพะเยา
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของชุมชน, อาสาสมัครสาธารณสุข, การส่งเสริมสุขภาพ, ความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขในการส่งเสริมสุขภาพเรื่องความดันโลหิตสูงกลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตพื้นที่ตำบลทุ่งผาสุข อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา จำนวน 126 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษา พบว่าส่วนใหญ่อาสาสมัครสาธารณสุขเป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ระหว่าง 41-45 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาสถานภาพการสมรสคู่อยู่ด้วยกัน ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำนา สถานะทางการเงินของครอบครัวรายรับน้อยกว่ารายจ่ายจำนวน สมาชิกในครัวเรือน 4 คน การคัดเลือกเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขทดแทนญาติสนิทและเพื่อน ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 15-20 ปี ระดับความรู้เรื่องความดันโลหิตสูง พบว่าอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุงมากที่สุด รองลงมาอยู่ในระดับดี และดีมาก ตามลำดับการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพเรื่องความดันโลหิตสูง อยู่ในระดับป่านกลางมากที่สุด รองลงมาอยู่ในระดับสูงและระดับต่ำ ปัจจัยมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน เรื่องความดันโลหิตสูง ได้แก่ปัจจัยด้านสถานะทางการเงินของครอบครัว วิธีการคัดเลือกการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลของการศึกษาครั้งนี้ การคัดเลือกอาสาสมัครสาธารณสุขที่เข้าปฏิบัติงาน ควรพิจารณาคัดเลือกจากบุคคลที่มีความสมัครใจ และควรส่งเสริมให้อาสาสมัครสาธารณสุขมีรายได้เสริมจากการประกอบอาชีพหลักซึ่งเป็นอาชีพเกษตรกรรมทำนา
References
จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ. การพัฒนาชนบทกับการบริหารการพัฒนางานสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2547.
ทวีทอง หงส์วิวัฒน์. กรอบแนวคิดในการส่งเสริมสุขภาพและปัญหายุทธศาสตร์สุขศึกษา. นครปฐม: ศูนย์การศึกษานโยบายสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล; 2543.
ทศพล กฤติยาพิสิฐ. การมีส่วนร่วมของกำนันผู้ใหญ่บ้านที่มีต่อโครงการพัฒนาตามแนวทาง บรม และบวรเพื่อสร้างอุดมการณ์แผ่นดินธรรมแผ่นดินทองของเขตหนองจอก. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2548.
ธิดาพร เสาวนะ. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตกรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2548.
เธียรชัย บุรพชนก. การมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรมสุขาภิบาลของหมู่บ้านพึ่งตนเองทางสาธารณสุขมูลฐาน จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม) บัณฑิตวิทยาลัย.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2542.
ประเทือง วงศ์แจ้ง. การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขในการส่งเสริมสุขภาพประชาชนเรื่องความดันโลหิตสูง อำเภอคลองหลวงจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2541.
ประพันธ์ ปิยะรัตน์. การมีส่วนร่วมและการมีหุ้นส่วนในการแก้ปัญหากลวิธีสำคัญเพื่อการพัฒนามนุษย์และชุมชนแบบยั่งยืน. นครปฐม: สถาบันพัฒนาสาธารณสุขแห่งอาเซียนมหาวิทยาลัยมหิดล; 2534.
วรณี หาวารี และวนัสรา เชาว์นิยม. ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐานของจังหวัดสิงห์บุรี.สิงห์บุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรี; 2539.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งผาสุก อำเภอเชียงคำ. แบบสรุปผลการปฏิบัติงานโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ปี2555. พะเยา: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งผาสุข; 2556.
สรารัตน์ ยงใจยุทธ. โรคความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ: สหประชาพานิช; 2532.
สุเมธ ทรายแก้ว. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติจังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2547.
สำนักงานคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐาน. การสาธารณสุขมูลฐานในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักข่าวพานิช; 2540.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา. แนวทางการดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ปี 2556.พะเยา: นครนิวส์การพิมพ์; 2556.