ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ โรงพยาบาลดอกคาใต้ อำเภอดอกคาใต้ จังหวัดพะเยา
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่เรื้อรังและซับซ้อน นำไปสู่ความเสื่อมของอวัยวะสำคัญ คือ สมองหัวใจ ไตและตา ซึ่งทำให้โรคมีความรุนแรงมากขึ้น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกจากผู้ป่วยขึ้นทะเบียนรับการรักษาที่คลินิกพิเศษ โรงพยาบาลดอกคำใต้ จำนวน 302 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการเฝ้าระวัง พฤติกรรมสุขภาพเรื่องโรคความดันโลหิตสูง และแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะในการดูแลตนเองและพฤติกรรมสุขภาพ ทดสอบความเชื่อมั่น โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบราค ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้เรื่องความดันโลหิตสูงและการรักษา การรับรู้ความสามารถของตนเองและพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยใช้การทดสอบไคสแควร์ และหาทิศทางความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านบุคคลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง พบว่า เพศ ระดับการศึกษาภาวะโรคร่วมประวัติการดื่มสุรา และการที่มีบุคคลดูแลมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) นอกจากนี้พบว่าความรู้เกี่ยวกับโรคและการรักษา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองในระดับปานกลาง การรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเอง และแรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01)
References
เนาวรัตน์ จันทานนท์ และคณะ. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2554; 16(6): 749-758.
ปฐญาภรณ์ ลาลุน และคณะ. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก อายุรกรรมโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2554; 18(3): 160-69.
วรัญญา แปลงดี. การเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองระหว่างกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้กับกลุ่มที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้. การค้นคว้าแบบอิสระ พยาบาลศาสตร์ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2550.
วิเชียร เกตุสิงห์. ค่าเฉลี่ยกับการแปลความหมาย: เรื่องง่ายๆ ที่บางครั้งก็พลาดได้.ข่าวสารการวิจัยการศึกษา 2538; 18(3): 8-11.
วันทนา ทีฆพุฒิ. อุปสรรคในการดูแลตนเองของผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ในโรงพยาบาลเทศบาลนครเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2550.
ศิริมา มิตรเกษม. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุโรงพยาบาลตำรวจ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสุขศึกษา,บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2548.
สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์. เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร การดูแลรักษาและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากภาวะความดันโลหิตสูง.กรุงเทพฯ: กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข; 2554.
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: 2551: 1-10.
สายพิณ ถอนโพธิ์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดัน โลหิตสูงโรงพยาบาล บ้านเหลื่อม ตำบลบ้านเหลื่อม อำเภอบ้านเหลื่อม จังหวัดนครราชสีมา. การศึกษาอิสระสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2554.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุขปี 2552. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2553.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก 2554. กรุงเทพฯ: 2541.
อุไรลักขณ์ เจนสุทธิเวชกุล. พฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในเขตอำเภอ สามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์ มหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล, 2550.
Bandura A. Social foundation of thought and action: A Social cognitive theory.Englewoodcliffs, N.J.: Prentices-Hall; 1986: 391.
Chobanian AV, Bakris GL, BlackHR et al. National Heart, lung, and Blood institute Joint National Committee on Prevention, Detection, Evaluation, and Treatment of High
Blood Pressure Education Program Coordinating Committee. The Seventh Report of the Joint National Committee on Prevention, Detection, Evaluation and Treatment of
high Blood Pressure: the JNC 7 report. JAMA 2003; 289: