การพัฒนางานบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีติดเชื้อเอชไอวี โรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2548 - 2553

ผู้แต่ง

  • ชุติมา ชัยมณี โรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
  • สมชาติ โตรักษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พัชรา วงษสุวรรณ์ โรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

เอชไอวี, วิจัยพัฒนาเชิงทดลอง, ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก, ติดตามผลการรักษา, พัฒนาต่อเนื่อง

บทคัดย่อ

สตรีที่ติดเชื้อเอชไอวี จะพบอัตราการเกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มมากขึ้น การตรวจคัดกรองร่วมกับการตรวจติดตามผลของการรักษาอย่างต่อเนื่อง จะช่วยลดอัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม ประเทศไทยมีนโยบายให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้รับการบริการที่มีคุณภาพ โดยกำหนดไว้ในมาตรฐานการดูแลให้สตรีติดเชื้อเอชไอวีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อยร้อยละ 50

          การวิจัยพัฒนาเชิงทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลังการทดลองหลายครั้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนางานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีติดเชื้อเอชไอวี ในโรงพยาบาลสันป่าตอง เก็บข้อมูลไปข้างหน้า โดยใช้ปี พ.ศ.2547 เป็นข้อมูลก่อนการทดลองดำเนินการทดลอง ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ.2548 ถึงธันวาคม พ.ศ.2553 อย่างต่อเนื่อง 6 ปี วัดผลการดำเนินงานแต่ละปีแล้วนำไปใช้ปรับปรุงในปีต่อมา ใช้ปีพ.ศ.2548-2553 เป็นข้อมูลหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา เป็นสตรีติดเชื้อเอชไอวีรวม 306 คนที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา พบว่า อัตราความครอบคลุมของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 18.5 ในพ.ศ.2547 มาเป็นร้อยละ 42.5, 53.0, 68.1, 82.0, 82.9 และ 84.1 ในพ.ศ.2548 ตามลำดับ อัตราการติดตามส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มและรักษาภายในระยะเวลา 3 เดือนหลังมารับการตรวจคัดกรองเปลี่ยนแปลงจากร้อยละ 30.0 ในพ.ศ.2547 มาเป็นร้อยละ 52.0, 44.5, 71.4, 77.8, 81.8 และ 85.7 ในพ.ศ.2548-2553 ตามลำดับ อัตราการตรวจติดตามผลหลังการรักษาเพิ่มขึ้นจนเป็นร้อยละ 100 ในพ.ศ.2553 โดยทุกคนได้รับการติดตามดูแลอย่างต่อเนื่องการตรวจทางเซลล์วิทยาพบผลผิดปกติร้อยละ 24.5 เมื่อติดตามผล พบว่าเป็นมะเร็งร้อยละ 73.3 งานบริการที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ การจัดเก็บข้อมูลโดยสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างง่าย เพื่อบันทึกข้อมูลสตรีเชื้อเอชไอวีที่มารับการักษาทุกคนและบริการที่ได้รับ การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยบริการเพื่อกำหนดแนวทางการให้บริการร่วมกัน และการให้การปรึกษาที่อบอุ่น เรื่องโรค การป้องกัน และแนวทางการตรวจรักษา ได้เสนอแนะให้สตรีติดเชื้อเอชไอวีต้องได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกทุกปี ต้องมารับการส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่ม และต้องมารับการตรวจติดตามผลหลังการรักษาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ด้วยความร่วมมือร่วมใจจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาร่วมพัฒนา โดยใช้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางด้วยทรัพยากรเท่าที่มีอยู่

References

กรมควบคุมโรค. มาตรฐานกรมควบคุมโรคสำหรับสถานบริการสาธารณสุขด้านโรคเอดส์. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2550.

เกรียงศักดิ์ สาลีผล.ผลการรักษาผู้ป่วย Low - grade Squamous Intraepithelial Lesion ของปากมดลูกโดยการจี้ด้วยความเย็นกับการติดตามผู้ป่วยเป็นระยะ. พุทธชินราชเวชสาร. 2549; 23 (3): 291-97.

จตุพล ศรีสมบูรณ์. มะเร็งวิทยานรีเวช. กรุงเทพมหานคร: พี.บี.ฟอเรน บุ๊คส์ เซนเตอร์. 2540: 79.

จตุพล ศรีสมบูรณ์. มะเร็งปากมดลูกการวินิจฉัยและการรักษา. กรุงเทพมหานคร: พี.บี.ฟอเรน บุ๊คส์ เซนเตอร์. 2547: 2.

เจริญสุข อัศวพิพิธ. การพัฒนารูปแบบบริการเพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแก่สตรีที่ติดเชื้อเอชไอวีในสถาบันบำราศนราดูร. พิมพ์ครั้งที่ 1. สถาบันบำราศนราดูร. 2552: 56.

จุไรรัตน์ แย้มพลอย. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานให้ข้อมูลผู้ป่วยก่อนจำหน่ายหอผู้ป่วยสามัญศัลยกรรมหัวใจ โรงพยาบาลราชวิธี พ.ศ.2549. วารสารบริหารงานสาธารณสุข. 2550; 13 (2): 1-9.

ชำนาญ เกียรติพีรกุล. การรักษารอยโรคภายในเยื่อบุปากมดลูก. ใน: จตุพล ศรีสมบูรณ์และประภาพร สู่ประเสริฐ, บรรณาธิการ. Cervical Cancer prevention and Treatment, พิมพ์ครั้งที่ 1.
เชียงใหม่: จรัสธุรกิจการพิมพ์, 2551: 55-67.

เถาวลัย ถาวรามร, สุมนมาลย์ มนัสศิริวิทยา, วัชระ พฤทธิพงศ์สิทธิ์. การศึกษาความชุกของ atypical glandular cells of undetermined significance (AGUS) ในสตรีที่ได้รับการตรวจแปปสเมียร์ของปากมดลูก. วชิรเวชสาร 2545; 46 (1): 9-17.

ทัศนีย์ สันติพงศ์ศุภกร และมาสินี ไพบูลย์. ประสิทธิภาพของระบบการนัดผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางเซลล์วิทยา ห้องตรวจนรีเวชกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร 2552; 24 (2): 112-116.

ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุผิวปากมดลูกในสตรีติดเชื้อเอชไอวี ที่สถาบันบำราศราดูร. วารสารควบคุมโรค. 2549; 32 (1): 10-9.

พิไลวรรณ กลีบแก้ว และบัณฑิต ชุมวรฐายี. มะเร็งภายในเยื่อบุปากมดลูก ช่องคลอดและอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก. ใน: ยุทธพงศ์ วีระวัฒนตระกูล, พิไลวรรณ กลีบแก้ว, ประนอม บุพศิริ. พิสมัย ยืนยาว และศรีนารี แก้วฤดี, บรรณาธิการ. นรีเวชวิทยา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2546: 235-49.

รัตติยา จันดารักษ์. ประสิทธิผลของการให้ความรู้ เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและการติดเชื้อเอชไอวีต่อการตัดสินตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธีแปปสเมียร์ในหญิงที่ติดเชื้อเอชไอวีจังหวัดมุกดาหาร. วารสารโรคเอดส์. 2551; 21(1): 1-10.

สัญชัย บัลลังก์โพธิ์, สมศักดิ์ ตั้งตระกูล. มะเร็งปากมดลูกระยะแรกเริ่ม. ใน: วสันต์ ลีนะสมิต, สมเกียรติ ศรีสุพรรณดิฐ, บรรณาธิการ.ตำรามะเร็งนรีเวชวิทยารามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โฮลิสติกพับลิชชิ่ง, 2542: 407-45.

สมชาติ โตรักษา.หลักการบริหารโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: เอส.พี.เอ็น. จำกัด, 2548: 311-88.

อภิวันท์ แก้ววรรณรัตน์. วิธีการให้ความรู้ทางสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่: ยูนิตี้ แอนด์ โปรเกรสโซลูชั่น จำกัด, 2553: 2.

Robinson WR, Luck MB, Kendall MA, et al. The predictive value of cytologic testing in women with human immunodeficiency virus who have low-grade squamous cervical lesion: a of a randomized, phase III chemoprevention trial. Am j Obstet Gynecol. 2003; 188: 896 - 900.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-25

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป