การศึกษาผลการกลับไปใช้ยาและสารเสพติดซ้ำของผู้เข้ารับการบำบัดในศูนย์บำบัดรักษา ยาเสพติดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การกลับไปใช้ซ้ำ,, การติดยาเสพติด, ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดเชียงใหม่บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจะศึกษาระยะเวลาการกลับไปใช้ซ้ำของยาและสารเสพติดในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาทั้งแบบผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก จากศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดเชียงใหม่ และได้รับการจำหน่ายเพื่อติดตามผลการกลับไปใช้ซ้ำตั้งแต่ ตุลาคม 2552 ถึงพฤษภาคม 2553 โดยมีรูปแบบการศึกษาแบบเชิงพรรณนา (Retrospective descriptive study) ที่เป็นข้อมูลในระบบการรายงานตามแบบบันทึกยาเสพติด 5 (บสต.5) โดยศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดเชียงใหม่ นัดติดตามผลที่ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดเชียงใหม่หรือการโทรศัพท์ หรือการเยี่ยมบ้าน และการใช้จดหมาย ภายในช่วง 1 ปี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Survival analysis ผลการศึกษา พบว่า การติดตามผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาด้วยยาและสารเสพติดทุกชนิดทั้งหมด 319 ราย มีค่า Median survival time ที่สำหรับการกลับไปใช้ซ้ำอยู่ (Lapse) 6 เดือนและเมื่อแยกของชนิดของสารเสพติดดังนี้ ชนิดนิโคติน สุรา ฝิ่น มีการกลับไปใช้ซ้ำมากกว่าร้อยละ 50 ภายใน 1 ปี มีค่า Median survival time ที่สำหรับการกลับไปใช้ซ้ำที่ 3 เดือน (95% CI: 2-3) ที่ 6 เดือน (95% CI: 3 -6) และที่ 6 เดือน (95% CI: 2-12) ตามลำดับ ส่วนยาเสพติดชนิดอื่นที่กลับไปใช้ซ้ำไม่ถึงร้อยละ 50 ภายใน 1 ปี ได้แก่ แอมเฟตามีน กัญชา เฮโรอีน โดยสรุปรูปแบบการกลับไปใช้ซ้ำของยา/สารเสพติดแตกต่างกันไป การบำบัดผู้ติดยา/สารเสพติดแบบผู้ป่วยใน ได้ผลดีกว่าแบบผู้ป่วยนอก และการติดตามผลควรมีการรายงานรูปแบบการกลับไปใช้ซ้ำของแต่ละยา/สารเสพติด เพื่อแสดงถึงประสิทธิภาพในการบำบัดรักษาต่อไป
References
Marlatt GA. and GordonJR. Relapse prevention: A self-controlstrategy for the maintenance of behavior change. New York: Guilford Press. 1985.
NIDA. Cue extinction technique NIDA transfer package. NIDA, 1983.
National Institute on Drug Abuse. Principles of drug addiction treatment: A research-based guide. second edition. National Institutes of Health, U.S. Department of Health and Human Services, 2009.