ต้นทุนอรรถประโยชน์ของการให้บริการผู้ป่วยนอกศูนย์บริการสาธารณสุขชุมชน เขตเมืองมะเขือแจ้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • วรพจน์ พิทักษ์ดำรงวงศ์ โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน
  • โภคิน ศักรินทร์กุล โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน

คำสำคัญ:

ต้นทุนอรรถประโยชน์, บริการปฐมภูมิ

บทคัดย่อ

จากแนวโน้มการให้บริการผู้ป่วยนอกที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในระดับปฐมภูมิ ผู้วิจัยจึงมีความประสงค์ที่จะวิเคราะห์ต้นทุนและอรรถประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยนอกของศูนย์บริการสาธารณสุขชุมชนเขตเมืองมะเขือแจ้ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2552 ถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2553 โดยสุ่มเลือกแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จากจำนวนผู้มารับบริการ 1,135 คน (16,891 ครั้ง) ได้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังจำนวน 168 คน (ร้อยละ 44.4) และผู้ป่วยโรคเฉียบพลัน 210 คน (ร้อยละ 55.6) ผลการศึกษาพบต้นทุนทางตรงทางการแพทย์เฉลี่ย 6 เดือน อยู่ที่ 847.54 บาทต่อคน (ผู้ป่วยเฉียบพลันมีค่าเฉลี่ย 381.82 บาท ผู้ป่วยเรื้อรังมีค่าเฉลี่ย 1,429.70 บาท) ต้นทุนทางตรงไม่ใช่ทางการแพทย์เฉลี่ย 6 เดือน อยู่ที่ 261.68 บาทต่อคน (ผู้ป่วยเฉียบพลันมีค่าเฉลี่ย 165.34 บาท ผู้ป่วยเรื้อรังมีค่าเฉลี่ย 382.10 บาทต่อคน) ต้นทุนรวมต่อผู้บริการหนึ่งคนในช่วงระยะเวลา 6 เดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 1,109.22 บาทต่อคน (ผู้ป่วยเฉียบพลันมีค่าเฉลี่ย 547.15 บาท ผู้ป่วยเรื้อรังมีค่าเฉลี่ย 1,811.80 บาท) หากต้นทุนรวมต่อผู้บริการหนึ่งคนในช่วงระยะเวลา 6 เดือนสะท้อนถึงอรรถประโยชน์ (Cost utility)ของการให้บริการผู้ป่วยนอก ศูนย์แพทย์ชุมชนเขตเมืองมะเขือแจ้ จะพบว่าคะแนนอรรถประโยชน์ของผู้ป่วยเฉียบพลันมีค่าเฉลี่ย 0.74  คะแนนอรรถประโยชน์ของผู้ป่วยเรื้อรังมีค่าเฉลี่ย 0.76  คะแนนอรรถประโยชน์ของผู้ป่วยทั้งหมดมีค่า 0.75 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลางถึงไม่มีปัญหา

References

โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ. คู่มือการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพสำหรับประเทศไทย. นนทบุรี: บริษัท เดอะ กราฟิโก ซิลเต็มส์ จำกัด, 2552.

จิตปราณี วาศวิท, กัญจนา ติษยาธิคม, วลัยพร พัชรนฤมล, กุลลักษณ์ เลิศภัทรพงษ์ และวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. อนามัยและสวัสดิการของคนไทยหลังหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตอนที่ 2 เรื่องรายจ่ายด้านสุขภาพถ้วนหน้า. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2548; 14 (2): 317 – 325.

ชาญวิทย์ ทระเทพ.สถานการณ์ระบบบริการสุขภาพไทย. ใน พินิจ ฟ้าอำนวยผล, ชาญวิทย์ ทระเทพ, สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ บรรณาธิการ. ปัญหาสุขภาพกับระบบบริการและการคลัง ระบบสุขภาพของคนไทย. นนทบุรี: สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย, 2552.

นาวิน แพทยานันท์. การวิเคราะห์ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ในการบำบัดการรักษาผู้ติดตาเสพติด ณ สถาบันธัญญารักษ์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2553.

ปฏิมา ศิลา, บรรจง มั่นเขตกร และจารุวรรณ ใจสุข. การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยการใช้บริการของผู้ป่วยโรงพยาบาลแม่ระมาด จังหวัดตาก ปีงบประมาณ 2542. ตาก: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก, 2543.

ปรีดา แต้อารักษ์. ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพแห่งชาติและใน (ร่าง) พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, 2544: 130.

พิสณุ ฟองศรี. เทคนิควิธีประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พรอพเพอร์ตี้พริ้นท์ จำกัด, 2550: 207.

เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.

รัตนา สายคณิต. เศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.

สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์. ระบบบริการสาธารณสุขกับการประกันสุขภาพ: ปัญหาและข้อเสนอในภาพรวม. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2548.

สายชล ธัญธริษตรี. การวิเคราะห์ต้นทุนและต้นทุนต่อหน่วยบริการของโรคพยาบาลบางพลี. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารโรงพยาบาล คณะวิทยาศาสตร์ กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2541.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือการบริหารงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2555. กรุงเทพมหานคร: บริษัท วงศ์สว่างพับลิชชิ่ง แอนด์ พริ้นติ้ง จำกัด, 2555.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางการพัฒนาและสนับสนุนการจัดบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิที่มีแพทย์ (ศูนย์แพทย์ชุมชน) ในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปี 2550 แบบมีแพทย์ให้บริการประจำและเต็มเวลา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, 2550.

อาทร ริ้วไพบูลย์. รายการต้นทุนมาตรฐานเพื่อการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (Standard Cost Lists for Health Technology Assessment). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล, 2554.

Roijen LH. Societal perspective on the cost of illness. Rotterdam: Erasmus University; 1998.

Solberg T, Olsen J, Ingebrigsten T, Hofoss D, Nygaard O. Health related quality of life assessment by the EuroQol05D can provide cost0utility data in the field of low0back
surgery. Eur Spine J. 2005; 14 (10): 1000 - 7.

Sultz HA, Young KM. Health Care, U.S.A: Understanding Its Organization and Delivery. Massachusetts: Jones & Bartlett Publishers; 2003.

Tongsiri S. The Thai population0based preference scores for EQ05D health states. Nonthaburi: Ministry of Public Health, Thailand; 2009.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-25

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป