ประสิทธิภาพของการจัดตั้งคลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังในโรงพยาบาลจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
คลินิกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ประสิทธิภาพการจัดตั้งคลินิกบทคัดย่อ
โรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นโรคที่มีความสำคัญและมีปัญหาในการดูแลรักษา ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและมีคุณค่าใช้จ่ายในการดูและรักษาสูง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการจัดตั้งคลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังในโรงพยาบาลจอมทอง โดยเก็บข้อมูลย้อนหลัง 2 ปี จากเวชระเบียบผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน เปรียบเทียบประสิทธิภาพของการดูแลก่อนและหลังจัดตั้งคลินิก ในผู้ป่วยโรคหืด 197 คน และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 381 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละและ Chi-square test ผลการศึกษาพบว่า หลังจัดตั้งคลินิกที่มีทีมสหสาขาวิชาชีพดูแล แพทย์ได้สั่งใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดสูดเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคหืด เพิ่มจากร้อยละ 51.00 เป็นร้อยละ 84.00 (p < 0.0001) อัตราผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินของโรคหืดลดลงจาก 0.73 ครั้ง/คน/ปี ในปี พ.ศ. 2553 เป็น 0.43 ครั้ง/คน/ปี ในปี พ.ศ. 2554 (p < 0.0001) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ลดลงจาก 0.71 ครั้ง/คน/ปี ในปี พ.ศ. 2553 เป็น 0.32 ครั้ง/คน/ปี ในปี พ.ศ. 2554 (p < 0.0001) อัตราการเข้ารักษาในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังลดลงจาก 0.08 ครั้ง/คน/ปี ในปี พ.ศ. 2553 เป็น 0.05 ครั้ง/คน/ปี ในปี พ.ศ. 2554 (p=0.0130 ) ผลของการควบคุมโรคดีขึ้น โดยในผู้ป่วยโรคหืดระดับ Total Controlled เพิ่มจากร้อยละ 9.03 ในปี พ.ศ. 2553 เป็นร้อยละ 26.95 ในปี พ.ศ. 2554 (p < 0.0001) ในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อัตราที่ควบคุมไม่ดี ลดลงจากร้อยละ 100.00 ในปี พ.ศ. 2553 เป็นร้อยละ 88.21 ในปี พ.ศ. 2554 (p = 0.0134 ) สรุปได้ว่า การจัดตั้งคลินิกมีประสิทธิภาพช่วยให้ผลการรักษาและควบคุมโรคได้ดีขึ้น สามารถลดมูลค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลลงได้ และผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อการให้การรักษาพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับมาก
References
คณะทำงานพัฒนาแนวปฏิบัติบริการสาธารณสุข โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. พ.ศ. 2553. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, 2553.
ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล. ผลลัพธ์ของการจัดคลินิกโรคหืดอย่างง่ายในโรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. ศรีนครินทร์เวชสาร. ปีที่ 22, ฉบับที่ 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2550), หน้า 449-459.
ณรงค์ศักดิ์ เอกวัฒนกุล. ประสิทธิผลของการดูแลรักษาผู้ป่วยในคลินิกโรคหืด โรงพยาบาลบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ก.ค.-ก.ย. 2553; 163-173.
วัชรา บุญสวัสดิ์. คลินิกโรคหืดแบบง่าย ๆ (Easy Asthma Clinic). ใน: วัชระ จามจุรีรักษ์, สุนันทา สวรรค์ปัญญาเลิศ, บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 5 BGH Annual academic meeting: From the basic to the top in medicine.กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.รุ่งทิพย์ ออฟเซท : 2548; 83-7.
สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย; 2548.
สืบศิริ บัณฑิตภิรมย์. ผลลัพธ์ของการจัดคลินิกโรคหืดอย่างง่ายในโรงพยาบาลหนองแสง จังหวัดอุดรธานี; วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลอุดรธานี ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2554; 1-9.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. อัตราการตายของประชากรโรคปอดอักเสบและโรคอื่น ๆ. (cited 2009 July 10) Available from: URL: http:// www.bps.ops.moph.go.th/
Barnes PJ, Jonsson B,andKlim JB.The costs of asthma. EurRespir J 1996; 9: 636 – 42.
Global initiative for asthma: Global strategy for asthma management and prevention NHLBI/WHO workshop report, Vol. Publication number 95 - 3659, 1995.
Mayo PH, Richman J, and Harris HW. “Results of a program to reduce admissions for adult asthma [see comment]” Ann Intern Med 1990; 112: 864-71.
Rabe Klaus F, Hurd Suzanne, Anzueto Antonio, Barnes Peter J., Buist Sonia A., and CalverleyPeter. Global strategy for the diagnosis, management, and prevention of
chronic obstructive pulmonary disease: Gold executive summary. Am J Respir Crit Care Med. 2007; 176 (6) : 532 - 55.
Simonella L, Marks G, Sanderson K, and Andrews G. Cost-effectiveness of current and optimal treatment for adult asthma. Intern Med J 2006; 36: 244 - 50.
WHO. World health statistic (cited 2009 July 10) Available from: URL: http://www.who.int/ respiratory/copd/en/