ปัจจัยเสี่ยงของมารดาที่มีผลต่อน้ำหนักทารกแรกเกิดที่ต่ำกว่าเกณฑ์ในโรงพยาบาลจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อภิชัย ไพยารณ์ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลจอมทอง

คำสำคัญ:

ทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์, ปัจจัยเสี่ยง, โรงพยาบาลจอมทอง

บทคัดย่อ

       การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (Retrospective descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยเสี่ยงของมารดาและความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงกับทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาอายุครรภ์ตั้งแต่ 30 สัปดาห์คลอดทารกแรกเกิดมีชีพ ที่โรงพยาบาลจอมทอง ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2554 จำนวน 862 ราย เป็นมารดาที่คลอดทารกน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม จำนวน 108 คน และมารดาที่คลอดทารกน้ำหนักตัวมากกว่าหรือเท่ากับ 2,500 กรัม จำนวน 754 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบันทึกทะเบียนคลอดและเวชระเบียนผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Chi square test และ Multiple logistic regression ผลการศึกษาพบว่า อัตราการเกิดทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์โรงพยาบาลจอมทอง ปี 2554 เป็นร้อยละ 12.53 เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ได้แก่ อายุมารดาขณะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะมารดาอายุน้อยกว่า 20 ปีและมากกว่า 35 ปี (p<0.001) อายุครรภ์ขณะคลอดน้อยกว่า 37 สัปดาห์ (p<0.001) น้ำหนักตัวมารดาก่อนตั้งครรภ์น้อยกว่า 40 กิโลกรัม (p<0.001) น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์มากกว่า 10 กิโลกรัม (p<0.001) ดังนั้นควรมีการดูแลมารดาตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงเหล่านี้ เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะไม่พึงประสงค์ดังกล่าว

References

จรวยพร สุภาพ, นันทา อ่วมกุล, ฉวีวรรณ บุญสุยา. ปัจจัยของมารดาที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดทารกน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลศรีสังวร จังหวัดสุโขทัย พ.ศ. 2528-2529. วารสารกรมการแพทย์ 2532; 14: 205-11.

นฤทธิ์ อ้นพร้อม. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดทารกน้ำหนักตัวน้อย. วารสารกรมการแพทย์ 2539; 21: 136-45.

บรรพจน์ สุวรรณชาติ, ประภัสสร เอลลิตชูวงศ์. อายุมารดากับผลของการคลอด. ศรีนครินทร์เวชสาร 2550; 22(4): 401-407.

ประเทือง เหลี่ยมพงศาพุทธิ, ชยันตรธร ปทุมานนท์ และชไมพร ทวิชศรี. ผลของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ต่อน้ำหนักทารกแรกคลอด เมื่อครรภ์ครบกำหนดที่โรงพยาบาลลำปาง. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2547; 13(4): 556-559.

วิเนตร แก้วลุ่มใหญ่, อัมพร ฝอยทอง, ปราณี ผลเกิด, พิมพรรณ มีหอม. ปัจจัยเสี่ยงต่อการคลอดทารกน้ำหนักน้อย อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารกรมการแพทย์ 2541; 23: 273-9.

สุจินต์ ธรรมดี, เยาวลักษณ์ จุลเกตุ, กัลยา แซ่เซียว, นฤมล กันประเสริฐ. ปัจจัยที่ส่งผลภาวะทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์. วารสารโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ 2544; 16: 8-12.

Arora J, Arora D, Kaewsuriya W, et al. Risk factors of low weight at Lampang hospital. ลำปางเวชสาร 2545; 23: 127-39.

Amalia L A, Drora F B, Miriam Katz C, Moshe M C, Eyal S. Meternal anemia during pregnancy is an independent risk factor for low birth weight and preterm delivery. EJOGRB. Elsevier Ireland Ltd 2005; 122:182-6.

Anand K, Garg BS. A study of factors affecting low birth weight. Ind J Com Med 2000; 25(2): 57-61.

Antonio Augusto Moura da Silva, Heloisa Bettiol, Marco Antonio Barbieri, Luiz Gustavo Oliveira Brito, Marcio Mendes Pereira, Vania Maria Farias de Aragao, Valdinar Sousa
Ribeiro. Which factors could explain the low birth weight paradox. Rev Saude publica 2006; 40(4): 648-55.

Barker DJP. (ed) Fetal and infant origin of disease BMJ Books. London; 1992. Bondevik GT, Lie RT, Ulstrin M, Kvale G. Meternal hematological status and risk of low birth
weight and preterm delivery in Nepal. ActaObtetGynecolScand 2001; 80: 402-8.

Chumnijarakit T. Nuchprayoon T, Chitinand S, et al. Meternal risk factorsfor low brith weight newborn in Thailand. J Med Assoc Thai. 1992 Aug; 75(8): 445-52.

Edi Priyono, SirikulIsaranurug, Jiraporn Chompikul. Meternal Risk factor for low birth weight infant at FATMAWATI GENERAL HOSPITAL, JAKARTA, INDONESIA. Journal of Public Health and Development 2008 Vol.6 No.1: 123-133.

Farah Wali Lone, RahatNajamQureshi, Faran Emanuel. Meternal anaemia and its impact on perinatal outcome. Trop Med Int Health 9. 2004; 486-90.

Johnson EO, Breslau N. Increased risk of learning disabilities in low birth weight boys at age 11 years. Society of Biology Psychiatry 2000; 47: 490-500.

Jirojwong S, Skolnik M. Type of antenatal care and other related factors associated with low birth weight in Sothern Thailand. Asia Pacific Journal of Public Health 1990; 143(4) 132-41.

Kramer MS. Determinants of low birth weight: methodological assessment and methodological assessment and meta-analysis. BullWorld Health Organ. 1987; 65:
663-737.

K.S. Negi, S.D. Kandpal, M. Kukreti. Epidemiological Factors Affecting Low Birth Weight. JK SCIENCE. Vol.8 No.1, January-March 2006; 31-34.

Kamaladoss T, Abel R, Sampathkumar V. Epidemiological correlates of low birth weight in rural Tamai Nadu. Ind J Paed 1992; 59: 209-304.

Mohsin M, Wong F, Bauman A, Bai J. Maternal and neonatal factors influencing premature birth and low birth weight in Australia. Journal of Biosocial Science 2003; 35: 161-74.

Ramakutty P, Tikreti RAS, Resam KW. A study on birth weight of Iraqi children. J Trop Pediatr 1983; 29: 5-10.

Sareer Badshah, Linda Mason, Kenneth McKelvie, Roger Payne and Paulo JG Lisboa. Risk factors for low birth weight in the public-hospitals at Peshawer, NWFP-Pakistan.[http://biomedcentral.com/14712458/8/197] asscesed May 20, 2012.

UNICEF: Low Birth Weight, Country Reginal and Global estimates. [http://www.unicef.org/publications/index_24840.html]. Accessed May 22, 2012.

World Health Organization. WHO Technical Consultation, towards the development of a strategy for promoting optimal fetal growth, report of a meeting. Geneva: World
Health Organization; 2004.

Zlot A, Smith N, Miller J, Janes G, coltin K. The Massachusetts low birth weight project: the level of agreement of low birth weight status between managed care claims data and birth certificates. Abstr Book Assoc Health Serv Res Meet 1999; 16:67.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-01

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป