ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานวัยทำงานในตำบลร้องเข็ม จังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • เอกชัย คำลือ กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัวและบริการด้านปฐมภูมิ, โรงพยาบาลร้องกวาง จังหวัดแพร่
  • ทัศนีย์ บุญอริยเทพ กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัวและบริการด้านปฐมภูมิ, โรงพยาบาลร้องกวาง จังหวัดแพร่

คำสำคัญ:

การให้คำปรึกษาด้านสุขภาพพฤติกรรมสุขภาพ, ระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหาร, กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานวัยทำงาน

บทคัดย่อ

              ประชาชนวัยทำงาน ตำบลร้องเข็ม จังหวัดแพร่ ในปี 2554 จำนวน 2,120 คน พบว่ามีกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน จำนวน 159 รายคิดเป็นร้อยละ 7.49 ถ้าไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จะทำให้พัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานได้ถึงร้อยละ 9.43-12.58 การให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจึงมีความจำเป็นต่อการส่งเสริมพฤติกรรสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน เพื่อลดอัตราการป่วยเป็นโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยง การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานวัยทำงานก่อนและหลังการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 58 คน แบ่งกลุ่มเป็นทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 29 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ และกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 เครื่องมือดำเนินวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ ประกอบด้วย การสอนโดยการบรรยาย การใช้สื่อวีดีโอ การสาธิต และการติดตามอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลา 6 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้สถิติทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยภายในกลุ่ม (Paired t-test) และความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน (Independent) ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานวัยทำงานในกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมสุขภาพด้านอาหาร และด้านอารมณ์ หลังการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .001 ตามลำดับ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบพบว่า มีพฤติกรรมสุขภาพทุกด้านและโดยรวมหลังการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพไม่แตกต่างกัน หลังการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพกลุ่มทดลองมีระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารลดลงอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 มก./ดล. ร้อยละ 58.62 ในขณะที่กลุ่มเปรียบเทียบมีระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารลดลงอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 มก./ดล. ร้อยละ 20.69 แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานได้

References

ปนัดดา ชำนาญสุข. สุขภาพจิตเพื่อชีวิต. ใน: (พวงเพชร สุรัตนกวีกุล), บรรณาธิการ. พัฒนาการแห่งชีวิตในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2542: 52.

วสันต์ ศิลปะสุวรรณ และคณะ. พฤติกรรมสุขภาพคนไทยภายใต้ชุดโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาสุขภาพคนไทย. ใน: ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์. เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม และลินดา วงศานุพัทธ์, บรรณาธิการ. รายงานผลการวิจัยโครงการแม่บท และโครงการย่อย ภายใต้ชุดโครงการเพื่อพัฒนาสุขภาพคนไทย. กรุงเทพฯ: พี เอ ลีฟวิ่ง, 2548: 277-399.

สารัช สุนทรโยธิน. การป้องกันการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2. ใน: ธิติ สนับบุญและวราภณ วงศ์ถาวรวัฒน์, บรรณาธิการ. การดูแลรักษาเบาหวานแบบองค์รวม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 2549. 130-136.

สุพิมพ์ อุ่นพรม, นงนุช โอบะ และนุศรา วิจิตรแก้ว. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานวัยผู้ใหญ่. Journal of Nursing Sciene Naresuan University. 2550; 1(1): 100-111.

Diabetes-prevention retrieved Oct 1, 2010, Available from: http://www.World diabetes day. org/en/the-campaign/diabetes-education-and-prevention/diabetes-prevention.
Pender NJ, Murdaugh CL & nursing practice. (4th ed.). Upper Saddle River: Prentice Hall.Stephen N, % Saffrom W. Endocrinology an integrate approach. Oxford: Bios, 2001:122.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-01

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป