ประสิทธิภาพของการจัดตั้งคลินิกโรคหืดอย่างง่ายในโรงพยาบาลวัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ธนิต บรรสพผล โรงพยาบาลวัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

คลินิกโรคหืดอย่างง่าย, ผลลัพธ์, ค่าทดสอบสมรรถภาพปอด, โรงพยาบาลวัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา

บทคัดย่อ

        โรคหืดเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ มีผู้ป่วยโรคหืดจำนวนมากคือ เมื่อปี พ.ศ.2546 มีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 6.7 ที่ได้รับการรักษาด้วย Corticosteroid ชนิดสูด โรงพยาบาลวัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ได้จัดตั้งคลินิกโรคหืดอย่างง่ายตั้งแต่ปี พ.ศ.2554จนถึงปัจจุบัน เพื่อจัดระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหืดให้ได้มาตรฐาน ซึ่งได้นำแนวทาง Easy Asthma Clinic มาใช้ในการดูแลผู้ป่วย การศึกษาเชิงพรรณนาโดยการศึกษาข้อมูลย้อนหลังบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยโรคหืดในคลินิกโรคหืดอย่างง่าย (Easy Asthma Clinic; EAC) เพื่อประเมินผลการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหืดทุกรายตั้งแต่เดือนมกราคม 2554-มิถุนายน 2555 เป็นเวลา 18 เดือน ในวันแรกที่เข้าคลินิกเดือนที่ 1, 3 และ 12 หลังเข้าคลินิก

          ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 31 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 77.7 อายุเฉลี่ย 32.1 ปี (S.D.=17.64) เริ่มป่วยเป็นโรคหืดอายุเฉลี่ย 21.7 ปี (S.D.=14.07)  เป็นมานานเฉลี่ย 10.4 ปี (S.D.=9.72)  เมื่อเปรียบเทียบผลการรักษาระหว่างวันแรกที่เข้าคลินิกกับเดือนที่ 12 หลังเข้าคลินิก พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอาการและอาการแสดงของโรคหืดลดลง โดยในรอบ 12 เดือนมีอาการหอบตอนกลางวันลดลงจากร้อยละ 61.3 เป็นร้อยละ 29.0 หอบตอนกลางคืนลดลงจากร้อยละ 90.3 เป็นร้อยละ 35.5 และมีการใช้ยาพ่นขยายหลอดลมลดลงจากร้อยละ 67.7 เป็นร้อยละ 29.0 ส่วนในรอบ 12 เดือน มีภาวะฉุกเฉินและประวัติการพักรักษาตัวลดลง โดยมารับยาพ่นที่ห้องฉุกเฉินลดลงจากร้อยละ 45.2 เป็นร้อยละ 29.0 และเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลลดลงจากร้อยละ 19.4 เป็นร้อยละ 9.7 การพักรักษาตัวในโรงพยาบาลที่ลดน้อยลงสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายและทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น จึงเห็นควรสนับสนุนให้มีการจัดตั้งคลินิกโรคหืดอย่างง่ายในโรงพยาบาลชุมชน

References

วัชรา บุญสวัสดิ์. คลินิกโรคหืดอย่างง่ายๆ (Easy Asthma Clinic). ใน: วัชระ จามจุรีรักษ์, สุนันทา สวรรค์ ปัญญาเลิศ, บรรณาธิการ. BGH Annual academic meeting: From the basic to the top in Medicine, พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.รุ่งทิพย์ ออฟเซท, 2548: 83-7.

สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย. แนวทางวินิจฉัยและรักษาโรคหืดในประเทศไทยสำหรับผู้ใหญ่และเด็ก พ.ศ.2555. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท ยูเนียนอุตราไวโอเร็ต จำกัด, 2555: 9.

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. แนวทางวินิจฉัยและรักษาโรคหืดในประเทศไทยสำหรับผู้ใหญ่ (ฉบับปรับปรุง). วารสารวัณโรคและโรคทรวงอก 2547; 19(3): 179-93.

Boonsawat W, Charoenphan P, Kaitboonsri S. Prevalence of asthma symptoms in adult 4 cities of Thailand. Joint scientific meeting the thoracic Society of Thailand, the
Malaysia Thoracic Society and the Singapore Thoracic Society. Bangkok Thailand, 2002: 112.

Global initiative for asthma. Global strategy for asthma management and prevention NHLBI/WHO workshop report, 1995.

Global initiative for asthma. Global burden of asthma. 2003 [Retrieved June 1, 2012] Available from http://www.ginasthma.org/Backgrounders/backgrounder-global-burden-of-asthma-report-summary.html.

Vichyanond P, Jirapongsananuruk O, Visitsuntron N, Tuchinda M. Prevention of asthma, Rhinitis and eczema in children from the Bangkok area using the ISAAC (International Study for Asthma and Allergy in Children) questionnaires. J Med Assoc Thai. 1998; 81: 175-84.

Wool cook AJ. The problem of asthma worldwide. Eur respire Rev. 1991; 1(4): 243-6.

World Health Organization, WHO (2007). Chronic Respiratory Disease-Asthma. [Retrieved February 11, 2008] Available from http://www.who.int/respiratory/asthma/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-01

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป