ความเสี่ยงและการดูแลการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
บทคัดย่อ
การตั้งครรภ์วัยรุ่น หมายถึง การตั้งครรภ์ของสตรีที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี เป็นช่วงที่ยังไม่มีความพร้อม ร่างกายยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ จิตใจและอารมณ์ยังไม่มั่นคงพอ ยังไม่จบการศึกษา ยังไม่มีอาชีพและรายได้เป็นของตนเอง การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีความเสี่ยงต่อสุขภาพของมารดาและทารกทั้งในขณะตั้งครรภ์และขณะคลอด เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ โลหิตจางในแม่ การคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักน้อย การแท้ง การคลอดตัดขัด เด็กตายคลอด ซึ่งการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นส่วนใหญ่เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมและไม่พึงประสงค์ ส่งผกระทบต่อจิตใจของแม่ เกิดความอับอาย กระทบต่ออาชีพและรายได้ หลังคลอดอาจมีการซึมเศร้า อาจจะต้องพักการเรียนหรือออกจากการเรียนทำให้เสียโอกาสในการศึกษาและเสียอนาคต ผลจากการตั้งครรภ์ไม่พร้อมทำให้มีการทำแท้งสูง ซึ่งไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ
การตั้งครรภ์และการคลอดของวันรุ่นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (คณะกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา, 2554) การแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจึงเป็นปัญหาสำคัญและเร่งด่วน อย่างไรก็ตาม การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่ต่างจากหญิงตั้งครรภ์ทั่วไป ดังนั้นการดูแลหญิงวันรุ่นที่ตั้งครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพจึงมีความสำคัญเช่นกัน
References
คณะกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา. รายงานการพิจารณาเรื่องปัญหาการตั้งครรภ์ในวันรุ่น 2554: 4-5, 15-29
ธีระ ทองสง. สูติศาสตร์. เรียบเรียงครั้งที่ 5 ปทุมธานี: สำนักพิมพ์พีบีฟอร์บุ๊ค; 2555.
เบญจพร ปัญญายง. กลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. การทบทวนองค์ความรู้การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 2553.
พีระยุทธ สานุกูล, พียงจิตต์ ธารไพรสาณฑ์. ผลการตั้งครรภ์และการคลอดของวัยรุ่นในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 6. Thai Pharm Health Sci J. 2008; 3(1): 97-102.
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์. สถานการณ์การตั้งครรภ์ของวัยรุ่น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์; 2554.
Carmen Solomon-Fears. Teenage Pregnancy Prevention- Statistic and Programs. Congressional Research Service; 2012 April 12; USA. 2012.
Isaranurug S, Mo-suwan L, Choprapawan C. Difference in socio-economic status, service, utilization, and pregnancy outcomes between teenage and adult mother. J Med
Assoc Thai. 2006; 89(2): 145-51.
Koravisarach E, Chairaj S, Tosang K, et al. Outcome of teenage pregnancy in Rajavithi hospital. J Med Assoc Thai. 2010; 93(1): 1-8.
Prasitlumkum M. Risk of low birth weight and adverse pregnancy outcomes in adolescent pregnancies at Chainat hospital. Thai J Obstet Gynecol. 2009; 17: 93-7.
Watcharasseranee N. Pinchantra P. Piyawan S. the incidence and complications of teenage pregnancy at Chonburi hospital. J Med Assoc Thai 2006; 89 (suppl4): s118-23.
World Health Organization. Adolescent pregnancy-Unmet needs and undone deeds 2007.
World Health Organization. Early marriages, adolescent and young pregnancies 2012.
World Health Organization. Pregnant adolescent: delivering on global promise of hope 2006.
World Health Organization. WHO guidelines on preventing early pregnancy and poor reproduction health outcomes among adolescents in developing countries 2011.