การเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตของเด็กวัยทารกที่เลี้ยงดูด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวกับเลี้ยงดูด้วยนมแม่เสริมนมผสมและอาหารเสริมตามวัยจนถึง 6 เดือน โรงพยาบาลหางดง เชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สิตาพัณณ์ ยุตบุตร โรงพยาบาลหางดง เชียงใหม่

บทคัดย่อ

           การเลี้ยงดูลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต มีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กอย่างไร เพื่อส่งเสริมให้นโยบายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวจนถึงอายุ 6 เดือน ประสบความสำเร็จเพื่อศึกษาเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตของเด็กวัยทารกที่เลี้ยงดูด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียว กับเด็กทารกที่เลี้ยงดูด้วยนมแม่เสริมนมผสมและอาหารเสริมตามวัยที่อายุ 2, 4 และ 6 เดือน เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา, เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนเด็กวัยทารกเกิดครบกำหนด 96 คน (อายุครรภ์มากกว่าหรือเท่ากับ 37 สัปดาห์) และเลี้ยงดูด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิด มาตรวจสุขภาพที่คลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลหางดง ที่อายุ 2, 4 และ 6 เดือน ต่อเนื่อง ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2554 เป็นเด็กที่เลี้ยงดูด้วยนมแม่อย่างเดียวตลอด 6 เดือน 26 คน เป็นชาย 7 คน หญิง 19 คน และเด็กที่เลี้ยงดูด้วยนมแม่เสริมนมผสมและอาหารเสริมตามวัยที่อายุ 2 ถึง 6 เดือน 70 คน เป็นชาย 38 คน หญิง 32 คน ศึกษาข้อมูลเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตน้ำหนัก, ความยาวและความยาวเส้นรอบศีรษะของเด็กทั้งสองกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยวิธี Independent Sample Mann-Whitney U Test และ Univariate analysis of Variance กำหนดค่าที่มีนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05 พบอัตราการเจริญเติบโตน้ำหนักของเด็กชายคิดเป็นร้อยละอายุ 4 เดือน ที่เลี้ยงดูด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียว (Mean=40.69, S.D.=17.09, 95%CI=28.49-56.94) มากกว่าเด็กที่เลี้ยงดูด้วยนมแม่เสริมนมผสมและอาหารเสริมตามวัย (Mean=27.68, S.D.=12.87, 95%CI=3.94-32.08) อย่างมีนัยสำคัญ (P=0.03) และอัตราการเจริญเติบโตความยาวคิดเป็นร้อยละของเด็กชายอายุ 2 เดือน ที่เลี้ยงดูด้วยนมแม่เสริมนมผสมและอาหารเสริมตามวัย (Mean=15.54, S.D.=5.84, 95%CI=13.58-17.34) มากกว่าเด็กที่เลี้ยงดูด้วยนมแม่อย่างเดียว (Mean=9.59, S.D.=4.20, 95%CI=6.39-12.69) อย่างมีนัยสำคัญ (P=0.01) เมื่อติดตามเด็กสองกลุ่มจนถึงอายุ 6 เดือน ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ เด็กหญิงที่อายุ 2, 4 และ 6 เดือน ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในอัตราการเจริญเติบโต น้ำหนัก ความยาว ความยาวรอบเส้นศีรษะคิดเป็นร้อยละของเด็กทั้งสองกลุ่ม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจนถึง 6 เดือน ไม่ทำให้อัตราการเจริญเติบโตแตกต่างจากเด็กที่เลี้ยงดูด้วยนมแม่เสริมด้วยนมผสมและอาหารเสริมตามวัย

References

รัตนวลี บุญญประภา. ปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูดที่เกี่ยวกับการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดาในชนบทภาคเหนือของประเทศไทย. พยาบาลสาร, 2536; 20(3), 40-45.

ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย/นมแม่ป้องกันโรคอ้วน [online] 2010 [cited 2013 Jan 17]. Available from URL: http://www.thaibreastfeeding.org/vcharkarn/336

ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย/ทารกไม่กินน้ำ 6 เดือน เป็นไปได้อย่างไร [online] 2010 [cited 2013 Jan 17]. Available from URL: http://www.thaibreastfeeding.org/vcharkarn/406

ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย/เรื่องจริงที่ควรรู้นมแม่-นมผง [online] 2012 [cited 2013 Jan 17]. Available from URL: http://www.thaibreastfeeding.org/vcharkarn/11

Akeson PM, Axelsson IE, Raiha NC. Growth and nutrient intake in three to twelve month old infants fed human milk or formulas with varying protein concentrations. Journal of Pediatric Gastroenterology and Nutrition, 1998; 26: 1-8.

Boonwanich, P. The study of the duration of the postnatal maternal leave and other factors to the pattern of breastfeeding among the civil servants. Journal of provincial
Hospital, 1993; 12(5): 9-17 (in thai)

Department of Health, Ministry of Public Health. Situation of Thai children health. Bangkok, Thailand: Bureau of Health Promotion, Department of Health, Ministry of Public
Health; 2000.

Department of Health, Ministry of Public Health. Reproductive health profile 2002. Bangkok, Thailand: Reproductive health Section, Department of Health, Ministry of Public
Health; 2002.

Department of Health, Ministry of Public Health. Annual report 2005. Bangkok, Thailand: Bureau of Health Promotion, Department of Health, Ministry of Public Health; 2005.

Department of Health, Ministry of Public Health. Evaluation of the Ninth National Health Plan. Bangkok, Thailand: Bureau of Health Promotion, Department of Health, Ministry of Public Health; 2006.

Dewey et al. Growth of breast – fed and formular fed infants from to 18 mouth: the DARLING study. Pediatric, 1992; 89: 1035-1041.

Hangchaovanich Y, Voramongkol N. Breastfeeding Promot ion in Thailand. J Med Assoc Thai 2006; 89(4): S173-7.

Lowrence RM and Lowrence RA. Breastdeeding: More than just good nutrition. Pediatrice in Review, 2011; 32: 267-280.

Mercedes de onis, Cutberto Garza, Cesar G. Victora, Adelheid W et al. The WHO multicentre growth reference study: Planning, study design, and methodology. Food and Nutrition Bulletin, 2004; 25(1): S15-26.

Michal S Hramer, Tong Guo, Robert W Platt et al. Infant growth and health outcome associated with 3 compared with 6 mo of exclusive breastfeeding. Am J clin Nutr,
2003; 78(2): 291-295.

World Health Organization. The optimal duration of exclusive breasteeding: report of an expert consultation. WHO/NHO/01.09,WHO/FCH/CAH/01.24, Geneva: WHO; 2002.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-01

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป