ความเสื่อมสภาพของแม่น้ำกับสุขภาพ

ผู้แต่ง

  • สามารถ ใจเตี้ย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

บทคัดย่อ

น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง สิ่งมีชีวิตทุกชนิดสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ต้องอาศัยน้ำ นอกจากนี้ น้ำยังเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม หรือภาคบริการ ทรัพยากรน้ำเป็นทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด ในโลกมีน้ำอยู่ประมาณ 1,234 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นน้ำจืดเพียงร้อยละ 5 และประมาณ 4 ใน 5 ของน้ำจืดที่มีอยู่ เป็นน้ำแข็งในเขตขั้วโลก นอกจากนี้ยังเป็นน้ำใต้ดินถึงร้อยละ 99 ของน้ำจืดที่เป็นของเหลว (USGS,2011) คุณค่าของทรัพยากรน้ำขึ้นอยู่กับที่ตั้งแม่น้ำ วัตถุประสงค์การนำมาใช้และการหมุนเวียน ผู้ที่อยู่ใกล้แม่น้ำมักเป็นผู้ที่ได้ประโยชน์จากการใช้แม่น้ำดังกล่าว ทำให้การกระจายทรัพยากรน้ำไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเท่าเทียมกัน เช่นประเทศจีนและอินเดียที่มีประชากรมากกว่า 1 ใน 3 ของประชากรโลก แต่มีทรัพยากรน้ำน้อยกว่า ร้อยละ 10 ของทรัพยากรน้ำทั่วโลก ประชากรจีนมีน้ำให้บริโภคได้เฉลี่ยอยู่ที่ 2,117 ลูกบาศก์เมตรต่อปี เทียบกับอินเดียที่ 1,614 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ขณะที่สหรัฐอเมริการอยู่ที่ 9,943 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าน้ำ ร้อยละ 80 ที่เกษตรกรของอินเดียใช้อยู่จะหมดไป หากว่ายังคงมีการใช้น้ำในระดับที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากทรัพยากรน้ำมีปัญหาในเรื่องการเคลื่อนย้าย เพราะค่าใช้จ่ายที่สูงมากในการเคลื่อนย้ายจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่งซึ่งต้องใช้การสูบน้ำ รวมถึงระบบชลประทานอันมีผลให้น้ำมีการเปลี่ยนทิศทางเข้าสู่แหล่งอื่น ทำให้ผู้ที่อยู่ต้นน้ำได้รับประโยชน์จากแม่น้ำมากกว่าผู้ที่อยู่ปลายน้ำ (พงษ์ศักดิ์ ฮุ่นตระกูลและสมยศ อรรคฮาดสี, 2553) จะเห็นได้ว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจรวมถึงจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อทรัพยากรน้ำในแม่น้ำทั่วโลก สภาพแม่น้ำในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ปัญหาส่วนใหญ่มาจากความต้องการน้ำของประชาชนที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการนำน้ำจากแม่น้ำมาใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคในชุมชน และการเกษตรกรรมที่ขยายพื้นที่เพื่อการผลิตอาหารให้เพียงพอกับความต้องการของประชากร ประกอบกับภาวะโลกร้อนทำให้ปริมาณน้ำลดลงและภาวะน้ำท่วม ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตในแม่น้ำและคุณภาพน้ำในแม่น้ำเสื่อมโทรม กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่เกิดปัญหาคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมที่เกิดจากการที่ชุมชน โรงงานอุตสาหกรรมและระบบการเกษตรปล่อยลงสู่แหล่งน้ำโดยไม่ผ่านการบำบัด และในกลุ่มประเทศนี้กำลังขยายฐานการผลิตทางด้านอุตสาหกรรม และเกษตรกรรมทำให้การใช้น้ำเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำ และปัญหาน้ำท่วม ปัญหาทรัพยากรน้ำในกลุ่มประเทศด้วยพัฒนาส่วนใหญ่เป็นการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในทวีปแอฟริกาทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในการจัดสรรทรัพยากรน้ำ ในส่วนทวีปเอเชียปัญหาเกิดจากนโยบายของภาครัฐที่ต้องการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบกับประชาชนที่ใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ รวมถึงคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมในแม่น้ำสายหลักและภาวะน้ำท่วม

References

กรมควบคุมมลพิษ. สรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2550. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2551: 75.

กรมควบคุมมลพิษ. คุณภาพน้ำ, หมายเหตุมลพิษ. 2553; 6(21): 3.

เกษม จันทร์แก้ว สนิท อักษรแก้ว และสามัคคี บุณยะวัฒน์. สิ่งแวดล้อมเทคโนโลยีและชีวิต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2542: 301.

จักรกฤษณ์ พิญญาพงษ์. ผลกระทบทางสุขภาพการรับรู้และการปรับตัวของประชาชนที่ประสบภัยพิบัติอุทกภัยน้ำป่าและโคลนถล่มในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 2551; ฉบับพิเศษ 60 ปี: 9-20.

นันทรียา โลหะไพบูลย์กุล และคณะ. ศักยภาพการดูแลตนเองของประชาชนในภาวะน้ำท่วม กรณี ศึกษาน้ำท่วมจังหวัดชัยนาท. อุบลราชธานี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์. 2550: 110.

บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์. การบริหารการลุ่มน้ำยมโดยกระบวนการ SEA (กรณีปัญหาน้ำท่วมและแล้ง). นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2550: 66.

พณา ฟักอ่อน พิไลลักษณ์ ตรีภพ และสำรวย ห้างหว้า. การติดตามและประเมินคุณภาพน้ำในแม่น้ำพอง. บทคัดย่อการประชุมวิชาการ กรมอนามัย ประจำปี 2540. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2540.

พงษ์ศักดิ์ ฮุ่นตระกูล และสมยศ อรรคฮาดสี. (2553,กันยายน 24) วิกฤติน้ำจีน-อินเดีย กับความตึงเครียดทางการเมือง(1), กรุงเทพธุรกิจ, สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 24 2554 จากhttp://bit.ly/ahXDjo

ภูมินทร์ ขัตตะละ. การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำแม่น้ำท่าจีนตอนบนและตอนกลางตามช่วงฤดู. วิทยานิพนธ์ วท.ม. บัณฑิตวิทยาลัย กรุงเทพฯ, มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี; 2553: 129.

ยรรยง อินทร์ม่วง, นฤมล แสงประดับ และบัญชร แก้วส่อง. การวิจัยและพัฒนาระบบเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในระดับชุมชนใกล้แม่น้ำพอง นนทบุรี: สำนักงานวิจัยระบบสาธารณสุข. 2546: 94.

ราตรี ภารา. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์อักษรพิพัฒน์. 2540: 247.

สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สถานการณ์ปัญหาทรัพยากรน้ำ (ออนไลน์)จาก :http://www.sri.cmu.ac.th/lamphun_envi/modules.php?name (เข้าถึงเมื่อ 3 กรกฎาคม
2555).

สามารถ ใจเตี้ย. พัยพิบัติทางธรรมชาติ. วารสารสาธารณสุขสารภี. 2555; 3(1): 51-54.

หน่วยศึกษาและเฝ้าระวังมลพิษทางน้ำ. รายงานสรุปผลการศึกษาพื้นที่และแหล่งน้ำที่เสี่ยงต่อการเกิดมลพิษทางน้ำในประเทศไทย. กรีนพีชเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. 2552: 11.

อนวัทย์ ผาลี. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพน้ำและความหลากหลายของปลาใน บริเวณรอยต่อของแม่น้ำกวงกับแม่น้ำปิง จังหวัดลำพูน ปี พ.ศ. 2548-2549. วิทยานิพนธ์ วท.ม. บัณฑิตวิทยาลัย,
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2549: 153.

อนามัย เทศกะทึก. ความเป็นพิษในระบบนิเวศและสุขภาพของมนุษย์. กรุงเทพฯ. โอ เอส. พริ้นติ้งเฮาส์. 2550: 256.

Chae E. H., Kim T. W., Rhee S. J. and Henderson T. D. The Impact of flooding on the mental health of affected people in south korea. Comminity Mental Health Journal. 2005; 41(6): 633-645.

Kampbell. D. H., An. Y. J., Jewell. K. P., and Masoner. J. R. Groundwater quality surrounding Lake Texoma during short-term drought conditions. Environmental Pollution” 2003; 125(2): 183-191.

Moiseenko T. I., Voinov. A. A., Megorsky. V. V. et al. Ecosystem and human health assessment to define environmental management strategies: The xase of long-term human impacts on an Artic lake, Science of the total environment. 2006; 369(1-3): 1-20.

Rebecka T., Jerker J. and Bakhtiyor K. Health risks from large-scale water pollution: Trends in central asia. Environment International. 2011; 37(2) 435-442.

Speldewinde P. C., Cook A., Davies P., and Weienstein P. A relationship between environmental degradation and mental health in rural Weatern Australia. Health&Place; 2009; 15(3): 880-887.

UNEP. Methods of assessing human health vulnerability and public health adaptation to climate change. World Health and Gobal Environment Change, Series No.1, WHO,
Colombo, Rome. 2003: 106.

U.S. Geological Survey. Summary of the water cycle. [online] from:http://ga.water.usgs.gov/edu/watercyclesummary.html(retrieved Nov 5,2012).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-01

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป