การลดความผิดพลาดในการแปลผลวินิจฉัยภาพถ่ายทางรังสี ของผู้ป่วยที่มารับบริการนอกเวลาของห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • กรวรรณ หาญประกอบสุข โรงพยาบาลลำพูน

คำสำคัญ:

ความผิดพลาดในการวินิจฉัยภาพถ่ายรังสี, ห้องฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

           การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะความผิดพลาดในการวินิจฉัยภาพถ่ายรังสีของผู้ป่วยที่มารับบริการห้องฉุกเฉินนอกเวลาราชการ ของโรงพยาบาลลำพูน และเพื่อศึกษาผลของกระบวนการที่ใช้ลดความผิดพลาดที่ผู้ทำวิจัยได้คิดขึ้น ว่ามีประสิทธิภาพในการลดความผิดพลาดนี้มากน้อยเพียงใด ทำการศึกษาย้อนหลังตั้งแต่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2553 โดยการทบทวนภาพถ่ายรังสีของผู้ป่วย ที่มาใช้บริการห้องฉุกเฉินนอกเวลาราชการโดยรังสีแพทย์ ใช้สถิติ การแจกแจงความถี่และร้อยละ การศึกษาแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกทำการศึกษาตั้งแต่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2552 เป็นการศึกษาความผิดพลาดในการวินิจฉัยภาพถ่ายทางรังสีก่อนเริ่มกระบวนการลดความผิดพลาด และช่วงที่สองทำการศึกษาตั้งแต่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2553 เป็นการศึกษาความผิดพลาดในการวินิจฉัยภาพถ่ายทางรังสีหลังเริ่มกระบวนการลดความผิดพลาดจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการศึกษาในช่วงแรกมีทั้งหมด 2,935 คน และมีจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยทางรังสีผิดพลาด จำนวน 66 คน คิดเป็นร้อยละ 2.2 โดยพบว่าเป็นความผิดพลาดแบบ false positive 5 คน และ false negative 61 คน จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการศึกษาในช่วงที่สองหลังจากเริ่มกระบวนการลดความผิดพลาดในการวินิจฉัย มีทั้งหมด 3,230 คน และมีจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยทางรังสีผิดพลาดจำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 1.2 เป็นความผิดพลาดจาก false negative ทั้งหมด ไม่ความผิดพลาดแบบ false positive การเปรียบเทียบอัตราความผิดพลาดในการวินิจฉัยภาพถ่ายรังสี พบว่าความผิดพลาดในการวินิจฉัยจากภาพถ่ายทางรังสี มีแนวโน้มลดลงหลังจากได้เริ่มกระบวนการลดความผิดพลาดในการวินิจฉัย ภาพถ่ายรังสีที่มีความผิดพลาดส่วนใหญ่เป็นภาพถ่ายรังสีของทรวงอก ระดับความรุนแรงของความผิดพลาดในการวินิจฉัยภาพถ่ายรังสีส่วนใหญ่เป็นระดับไม่รุนแรง และ ลักษณะของความผิดพลาดในทั้งสองช่วงการศึกษา พบว่าส่วนใหญ่มักจะมองไม่เห็นความผิดปกติอันเกี่ยวเนื่องกับสาเหตุที่ผู้ป่วยมาโรงพยาบาล

References

Trautlein JJ, et al. “Malpractice in the Emergency Department – Review of 200 Cases.” Ann Emerg Med, 1984; 13: 709-711.

Espinosa JA, Nolan TW. Reducing errors made by emergency physicians in interpreting radiographs: longitudinal study. BMJ 2000; 320: 737-740.

Preston CA, Marr JJ, Amaraneni KK, Suthar BS. Reduction of "call-backs" to the emergency department due to discrepancies in the plain radiograph interpretation. AmJ Emerg Med 1998; 16:160-162.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-01

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป