ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะไขมันผิดปกติในเลือดของข้าราชการครูที่มาตรวจสุขภาพ ที่โรงพยาบาลสันป่าตอง ปี 2552
คำสำคัญ:
ภาวะไขมันผิดปกติในเลือด, โคเลสเตอรอลสูงบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับไขมันผิดปกติในเลือดของข้าราชการครูในอำเภอสันป่าตอง หางดง ดอยหล่อ และแม่วาง ที่มาตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลสันป่าตอง โดยวิธีการศึกษาเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง31 ธันวาคม 2552 จำนวนทั้งหมด 387 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 56.6สถานภาพสมรส ร้อยละ 73.6 อายุเฉลี่ย 49 ปี(35-60 ปี) น้ำหนักเฉลี่ย 60 กิโลกรัม(39.8-110 กิโลกรัม) ดัชนีมวลกายเฉลี่ย23.6 กิโลกรัม/ม2 (16.7-40.5) รับประทานอาหารจืด ร้อยละ 54.1 ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 54.8 ไม่สูบบุหรี่ ร้อยละ 81.6 ออกกำลังกายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ร้อยละ 55.6 และพบว่าส่วนใหญ่มีไขมันผิดปกติในเลือด ร้อยละ 67.2ซึ่งเป็นชนิโคเลสเตอรอลสูงอย่างเดียวมากที่สุด ร้อยละ 34.9 ภาวะไขมันผิดปกติในเลือดนี้มีความสัมพันธ์กับ เพศ อายุน้ำหนัก ดัชนีมวลกาย โรคเบาหวาน และบิดามารดาที่มีประวัติการป่วยด้วยโรคเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความรู้แก่ ข้าราชการครูในเรื่องเกี่ยวกับภาวะไขมันผิดปกติในเลือด และผลกระทบที่จะตามมา เพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การดำเนินชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพ รวมถึงต้องมีการติดตามดูแลในผู้ที่มีภาวะไขมันผิดปกติในเลือดเหล่านี้อย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาในภายหลัง
References
วีรพันธุ์ โขวิฑูรกิจ. การดูแลรักษาความผิดปกติของระดับไขมันในเลือด. ใน: ธานินทร์ อินทรกำธรชัย,ชุษณา สวนกระต่าย, บรรณาธิการ. Theme“Rational management in medical practice”. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549. 56-69.
พึงใจ งามอุโฆษ, บรรหาร กออนันตกูล, ปิยะมิตร ศรีธราและคณะ. แนวทางการดูแลรักษาความผิดปกติของระดับไขมันในเลือด Guidelines for management of dyslipidemia. Available from: http://www.anamai. moph.go.th/occmed/hburee/lipidguideline.html. Accessed April 10, 2010.
National Cholesterol Education Program. High Blood Cholesterol What you need to know. Available from:http://www.nhlbi.nih.gov/health/public/heart/chol/wyntk.pdf. Accessed April 10, 2010.
Anita Soni. Cholesterol screening among the U.S. noninstitutionalized Adult Population Age 20 and Older, 2005. Medical Expenditure Panel Survey. Available from: http://meps.ahrq.org/mepsweb/data_files/publications/st187/stat187.pdf. Accessed April 10, 2010.
World Health Organization. Cardiovascular diseases(CVDs). Available from: http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs317/en/. Accessed April 10, 2010.
American Heart Association. Cardiovascular Disease Statistics. Available from: http://www.americanheart.org /presenter.jhtml?identifier=4478. Accessed April 10, 2010.
สมเกียรติ แสงวันฒนาโรจน์. ข้อเสนอแนะการใช้ยาลดไขมันกลุ่มสเตติน(statin)ในคนไทย. ใน: ชุษณา สวนกระต่าย, วีรพันธุ์ โชวิฑูรกิจ, บรรณาธิการ. Update in emergency medicine. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549. 268-281.
Anderson KM, Castelli WP, Levy D. Cholesterol and mortality 30 years of follow-up from the Framingham Study. JAMA 1987; 257(16): 2176-2180.
Humayun A, Shah AS, Alam S, Hussein H. Relationship of body mass index and dyslipidemia in different age group of male and female population of Peshawar. J Ayub Med Coll Abbottabad Available from:http://www.ayubmed.edu.pk/JAMC/PAST/21-2/Anjum.pdf. Accessed April 10, 2010.
อรทิพย์ เทพทิตย์ และคณะ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะไขมันสูงในเลือดของเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 4ราชบุรี Available from: http://hpc4.anamai.moph.go.th/Articles/abstract/2544/hi%20fat.pdf . Accessed April 10, 2010.
AHA Scientific Position. Risk Factors and Coronary Heart Disease. Available from:
http://www.americanheart.org/presenter.jhtml?identifier=4726. Accessed April 10, 2010.
Lynn Yoffee. The Cholesterol-Heart Disease Connection. Available from: http://www.everyday health.com/heart-disease/cholesterol/high-cholesteroland-heart-disease.aspx. Accessed April 10, 2010.
Lynn Yoffee. High Cholesterol Risk Factors. Available from: http://www.everydayhealth.com/high-cholesterol/high-cholesterol-risk-factors.aspx. Accessed April 10, 2010.
Meagher EA. Addressing Cardiovascular Disease in Women: Focus on Dyslipidemia. JABFP 2004; 17(6):424-437.
ธวัชชัย มากมน. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะไขมันในเลือดของบุคลากรสาธารณสุข อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ปี พ.ศ. 2549. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2551; 23: 251-264.
วิลาภรณ์ สิทธิโชคสกุลชัย. ภาวะน้ำหนักเกิน อ้วน และระดับโคเลสเตอรอลในเลือดของบุคลากร โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ปี 2550. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร2551; 5: 822-832.
ชูวงศ์ พงษ์ไชยกุล, ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล, ธงชัย ประฏิภาณวัตร. ความชุกของภาวะไขมันในเลือดผิดปกติในประชากรไทยที่อาศัยอยู่ในเขตชนบท จังหวัดขอนแก่น. J Med Assoc Thai 2005; 88(8): 1092-1097.
Mayo clinic staff. Metabolism and weight loss: How you burn calories. Available from: http://www.mayo clinic.com/health/metabolism/wt00006. Accessed April 10, 2010.
American Diabetes Association. Management of dyslipidemia in adults with diabetes. Diabetes care 2003; 26(S1): 83-86.
วรรณี นิธิยานันท์. โรคเบาหวานและระดับไขมันผิดปกติในเลือด ใน: สุทิน ศรีอัษฎาพร, วรรณี นิธิยานันท์, บรรณาธิการ. โรคเบาหวาน(Diabetes Mellitus).กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์; 2548.251-270