การจัดระบบการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดโดยใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

ผู้แต่ง

  • บุญทิวา เหล็กแก้ว โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

คำสำคัญ:

หญิงตั้งครรภ์, ภาวะตกเลือดหลังคลอด

บทคัดย่อ

           การตกเลือดหลังคลอดเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลกระทบต่อมารดาหลังคลอด หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง และทันทีจะทำให้เป็นสาเหตุการตายของมารดาได้ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการจัดระบบการดูแลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดโดยใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ หญิงหลังคลอดที่มีความเสี่ยงได้รับการปฏิบัติตามระบบการดูแลป้องกันการตกเลือดหลังคลอดทุกรายจำนวน 322 ราย, ผลของการปฏิบัติตามระบบ และสำรวจความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติในบุคลากรสุขภาพที่ปฏิบัติงานในกลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ตั้งแต่ 6เดือนขึ้นไปทุกรายจำนวน 40 ราย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ และร้อยละ

          ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มหญิงหลังคลอดที่ได้ปฏิบัติการตามระบบการดูแลป้องกันการตกเลือดหลังคลอดจำนวน 322 ราย ได้รับการปฏิบัติตามระบบการดูแลป้องกันการตกเลือดหลังคลอดจากทีมการรักษาร้อยละ 96.38 เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดร้อยละ 9 ส่วนใหญ่พบในช่วงอายุ 36-45 ปี(ร้อยละ 47) มีสัญชาติไทยภูเขาร้อยละ 47 อาชีพทำสวน ทำนาร้อยละ 32 มีภูมิลำเนาอยู่ต่างอำเภอร้อยละ 55 และมาฝากครรภ์ตามนัดร้อยละ 99 ทั้งนี้ผู้ป่วยได้รับการตัดมดลูกเพื่อช่วยเหลือชีวิตร้อยละ 0.31 ไม่มีผู้คลอดเสียชีวิตจากการตกเลือดหลังคลอดในช่วงเวลาที่ศึกษา ส่วนบุคลากรสุขภาพสาขาสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์มีการปฏิบัติตามระบบการบริการเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดร้อยละ 96.38 และคะแนนความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติต่อการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดร้อยละ 82.50 อยู่ในระดับมาก สรุป หญิงหลังคลอดที่ได้รับการปฏิบัติตามระบบการดูแลป้องกันการตกเลือดหลังคลอดของทีมการรักษาร้อยละ 96.38 เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดร้อยละ 9 ส่วนมากพบในช่วงอายุ 36-45 ปี ผู้ป่วยได้รับการตัดมดลูกเพื่อช่วยเหลือชีวิตร้อยละ 0.31 ไม่มีผู้คลอดเสียชีวิตจากการตกเลือดหลังคลอดในช่วงเวลาที่ศึกษา และผู้ปฏิบัติมีความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติทางคลินิกในระดับมาก

References

World Health Organizatioin. Reduction of maternal mortality: A joint WHO/UNICEF/UNFPA/ World Bank Statement. World Health Organizatioin Geneva; 1999.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. ข้อมูลอนามัยแม่และเด็กประเทศไทย 2547. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2547.

นิพรรณพร วรมงคล. สถานการณ์อนามัยแม่และเด็กปี 2549-2551. กรมอนามัย; ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2553.

งานประชุมวิชาการงานอนามัยแม่และเด็กเขต 15, 16. วันที่ 21-23 กรกฎาคม 2553. โรงแรมโพธิ์วดล รีสอร์ทแอนสปาจังหวัดเชียงราย. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย; 2553.

ศูนย์ข้อมูลสถิติผู้ป่วยในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. เชียงราย: โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์; 2552.

โครงการจัดประชุมวิชาการอนามัยแม่และเด็กส่วนภูมิภาคครั้งที่ 1/2550.วันที่ 24 สิงหาคม2550. ห้องประชุมเสมพริ้งพวงแก้ว. โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์: ราชวิทยาลัยสูติแพทย์แห่งประเทศไทย;2550; 11-12.

เสาวนีย์ สิริยุตตะ จินตนา พัฒนพงศ์ธ์ธร และบวรงามศิริอุดม: การศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการแก้ปัญหาการตายของมารดาใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย;2546Available From http://www.saiyairakhospital.com/back-office/upload/document/three.pdf

Luque F MA, Bueno CA, Dramarix-Wilmet M, Simon SF, Donado C JD, Herera GD. Increase in maternal mortality associated with change in the reproductive patterminspain: 1996-2005. J Wpidemion Community Health; 2009 Feb 15.

เกศรา ตั้นเซ่ง. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อสแตฟฟิโลค็อกคัสออเรียสที่ดื้อต่อยาเมธิซิลลินในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2550.

สุพรรณี เตรียมวิศิษฎ์ และคณะ ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันการหกล้มและตกเตียงในผู้ป่วยศัลยกรรมประสาท หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย 3 โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2549.

จรีลักษณ์ รักษ์กิตติสกุล. การพัฒนาและการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการควบคุมอุณหภูมิทารกเกิดก่อนกำหนดที่อยู่ในตู้ควบคุมอุณหภูมิโรงพยาบาลนครพิงค์จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-01

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป