การศึกษาระบาดวิทยาเชื้อมาลาเรียที่ทนต่อยาผสมอนุพันธ์อาร์ติมินินบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา โดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

ผู้แต่ง

  • ประยุทธ สุดาทิพย์ สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค
  • เสาวนิต วิชัยขัทคะ สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค
  • รุ่งระวี ทิพย์มนตรี สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

ระบาดวิทยา, มาลาเรีย, อาร์ติมิซินิน, สารสนเทศภูมิศาสตร์

บทคัดย่อ

มาลาเรียยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะบริเวณเขตร้อนและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงแม้ว่าสถานการณ์มาลาเรียมีแนวโน้มลดลง แต่รายงานกลับพบว่า เชื้อมาลาเรียชนิดฟัลซิปารัมดื้อต่อยาผสมอนุพันธ์อาร์ติมิซินิน ดังนั้นประเทศไทยจึงได้ดำเนินโครงการยุทธศาสตร์เพื่อยับยั้งเชื้อมาลาเรียที่ทนต่อยาอนุพันธ์อาร์ติมิซินินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยดำเนินการบริเวณชายไทยและกัมพูชา ระหว่างปี 2552-2554 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบาดวิทยามาลาเรีย ความชุกของเชื้อมาลาเรียที่ดื้อต่อยาอนุพันธ์อาร์ติมิซินิน (การพบเชื้อในวันที่ 3 หลังจากการรักษา) และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพบเชื้อในวันที่ 3 หลังจากการรักษาด้วยยาอนุพันธ์อาร์ติมิซินินของผู้ป่วยมาลาเรียบริเวณชายแดนไทย- กัมพูชา ข้อมูลเก็บรวบรวมจากระบบเฝ้าระวังโรคภายใต้โครงการยุทธศาสตร์เพื่อการยับยั้งเชื้อมาลาเรียที่ทนต่อยาผสมอนุพันธ์อาร์ติมิซินินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างเดือนมกราคม 2552-มิถุนายน 2554 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่และร้อยละสำหรับบรรยายตัวแปรแต่ละตัวและการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกเชิงพหุตัวแปรตามแบบ Multiple Logistic Regression Analysis สำหรับวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพบเชื้อในวันที่ 3 หลังได้รับการรักษา ค่าความน่าจะเป็นน้อยกว่า 0.05 (p<0.05) เป็นเกณฑ์การมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า จำนวนผู้ป่วยมาลาเรียในบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชามีแนวโน้มลดลงและมีรูปแบบเหมือนกับส่วนอื่นของประเทศไทย จำนวนเชื้อมาลาเรียชนิดฟัลซิปารัมลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่อัตราการพบเชื้อฟัลซิปารัมในวันที่ 3 หลังจากได้รับยารักษากลับมีแนวโน้มสูงขึ้นในปี 2553 โดยอัตราการพบเชื้อในวันที่ 3 หลังได้รับยารักษาจะพบมากที่สุดในจังหวัดศรีสะเกษและพบน้อยที่สุดในจังหวัดอุบลราชธานี นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการค้นหาเชื้อมาลาเรียเชิงรุกมีแนวโน้มตรวจพบเชื้อมาลาเรียในวันที่ 3 คิดเป็น 1.89 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับการค้นหาเชื้อมาลาเรียแบบเชิงรับ โดยสรุปเพื่อควบคุมเชื้อมาลาเรียดื้อต่อยาผสมอนุพันธ์อาร์ติมิซินินไม่ให้การแพร่กระจายไปบริเวณอื่น ควรเพิ่มศักยภาพการติดตามผลการรักษาให้มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะวันที่ 3 หลังจากได้รับยารักษา ทั้งนี้เพื่อจะประเมินผลการรักษาและประเมินสถานการณ์การดื้อยาของเชื้อฟัลซิปารัม เนื่องจากในพื้นที่ศึกษาพบสัดส่วนผู้ป่วยไม่แสดงอาการจำนวนมาก ดังนั้นควรมีการค้นหาและจัดการผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการอย่างมีประสิทธิภาพและควรมีการศึกษาเพิ่มเติม ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีอัตราการพบเชื้อในวันที่ 3 มากที่สุด เพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลอัตราการพบเชื้อในวันที่ 3 หลังได้รับยารักษา

References

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. รายงานประจำปี 2553. กรุงเทพฯ: สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2553. 122 หน้า.

Baird JK. Effectiveness of antimalarial drugs. New England Journal of Medicine 2005; 352(15): 1565-77.

Bernhards O, Alfred T, Michael M, Zulfiqarali P, Adama G, David U, et al. Treatment of Asymptomatic carriers with artemether-lumefantrine: an opportunity to reduce the
burden of malaria? Malaria journal 2010; 9: 30.

Cui L, Yan G, Sattabongkot J, Cao Y, Chen B, Chen X, et al. Malaria in the Greater Mekong Subregion: Heterogeneity and Complexity. Acta Tropica 2011.

Dondrop AM, Yeung S, White L, Nguon C, Day NPJ, Socheat D, et al. Artemisinin resistance: current status and scenarios for containment. Nature Reviews Microbiology 2010; 8(4): 272-80.

Hay SI, Guerra CA, Tatem AJ, Noor AM, Snow RW. The global distribution and population at risk of malaria: past, present, and future. The lancet Infectious Diseases 2004; 4(6): 327-36.

Maude RJ, Pontavornpiyo W, Saralamba, S, Aguas R, Yeung S, Dondorp AM, et al. The last man standing is the most resistance: eliminating artemisinin-resistant malaria in
Cambodia. Malaria Journal 2009; 8(1): 31.

Noedl H, Socheat D, Satimai W. Artemisinin-resistant malaria in Asia. New England Journal of Medicine 2009; 361(5): 540-1.

Phuangsombat S. Country Profile Thai Malaria Control Program Bangkok: Ministry of Public Health Thailand, 2011.

Vijaykadga S, Rojanawatsirivej C, Cholpol S, Phoungmanee D, Nakavej A, Wongsrichanalai C. In vivo sensitivity monitoring of mefloquine monotherapy and artesunate-mefloquine combinations for the treatment of uncomplicated falciparum malaria in Thailand in 2003. Tropical Medicine&International Health 2006; 11(2): 211-9.

WHO. Global Plan for Artemision Resistance Containment. Geneva: 2011.

WHO. Global Report on Antimalarial Drug Efficacy and Drug Resistance: 2000-2010. Geneva.

WHO. Strategic Plan to Strengthen Malaria Control and Elimination in the Greater Mekong Subregion: 2010-1014. Bangkok: Mekong Malaria Programme, 2009.

Who. World Malaria Report 2010. World Health Organization, 2010. 9241564105.

Wongsrichanalai C, Pickard AL, Wernsdorfer WH, Meshnick SR. Epidemiology of drug-resistanct malaria. The Lancet Infectious Diseases 2002; 2(4): 209-18.

Zhou G, Sirichaisinthop J, Sattabongkot J, Jones J, Bjornstad ON, Yan G< et al. Spation-temporal distribution of Plasmodium falciparum and P.vivax malaria in Thailand. The
American journal of tropical medicine and hygiene. 2005; 72(3): 256.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-21

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป