ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยโรงพยาบาลดารารัศมี จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ฉันทนา เที่ยงใจ โรงพยาบาลดารารัศมี จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา, โรคเบาหวาน, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ตาบอด เกิดจากหลายปัจจัย การทราบถึงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เหล่านี้ช่วยให้การคัดกรองผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากขึ้น วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาทดารารัศมี เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง ในผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวาน ระหว่างเดือนมิถุนายน 2554 ถึงสิงหาคม 2554 โดยทำการตรวจการมองเห็น วัดความดันลูกตาและการตรวจประสาทตา สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Chi-Square และ Fisher exact probability test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 พบว่ามีผู้ป่วยจำนวน 152 คน อายุเฉลี่ย 60.1 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ความชุกของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ร้อยละ 9.9 ของผู้ป่วยเบาหวาน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะนี้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ (=7.026,  P=0.039) ค่าน้ำตาลสะสมในเลือดที่สูงขึ้น (=5.889, P=0.025) ระยะเวลาการเป็นเบาหวานที่นานขึ้น (=51.352, P=0.001) ชนิดของการรักษาด้วยอินซูลินฉีด (=47.458, P=0.001) ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานที่มีลักษณะดังกล่าว ควรได้รับการตรวจสายตา วัดความดันลูกตา และจอประสาทตาเป็นระยะตามแผนที่กำหนดไว้ อาจช่วยให้สามารถตรวจพบ วินิจฉัยและรักษาโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก และเพื่อลดความเสี่ยงต่อการตาบอดถาวรในผู้ป่วยเบาหวาน

References

กมลวรรณ หวังสุข. ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน. ใน: สมเกียรติ โพธิสัตย์, วรรณี นิธิยานันท์, อัมพา สุทธิจำรูญ, ยุพิน เบ็ญจสุรัตน์วงศ์, บรรณาธิการ. การให้ความรู้เพื่อจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเอง. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2553; 103-11.

ขวัญเรือน วรเตชะ. ปัจจัยทางเมตะบอลิกที่มีผลต่อภาวะจอประสาทตาเสื่อมของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลเพชรบูรณ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2553; 1(2): 10-23.

ดำเรก ผาดิกุลศิลา. เบาหวานขึ้นจอตา. ชมรมจอตา ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์ประเทศไทย. 2554. Available from: URL: http://www.thairetinasociety.org/.RetrievedFabruary, 18, 2011.

พิทยา ภมรเวชวรรณ, อุบลรัตน์ ปทานนท์. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงในการเกิดเบาหวานขึ้นจอประสาทตาใน รพ.ประจวบคีรีขันธ์, จักษุเวชสาร 2547; 18(1): 77-85.

โยชิน จินดาหลวง. ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานเขตเทศบาลเมืองตาก, พุทธชินราชเวชสาร 2552; 26(1): 53-61.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สโตล์ครีเอทีฟเฮ้าส์ จำกัด, 2551.

สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย. ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย, แนวทางการดูแลความผิดปกติของระดับไขมันในเลือด. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สโตล์ครีเอทีฟเฮ้าส์ จำกัด, 2551.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. กรุงเทพมหานคร: บริษัทศรีเมืองการพิมพ์จำกัด, 2554.

สมสงวน อัษญคุณ และจิตร จิรรัตน์สถิต. ความชุกของ diabetic retinopathy ในผู้ป่วยเบาหวานที่รักษาโดไม่ใช้อินซูลิน. จักษุเวชสาร 2534; 5: 133-8.

สุรพงศ์ ออประยูร. ความชุกและลักษณะเสี่ยงของโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในโรงพยาบาลลำพูน, วารสารสาธารณสุขล้านนา 2551; 2: 202-7.

สุนทราภรณ์ ฐิตสมานนท์. ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตา ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิชาการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปเขต 4 2550; 10(5): 965-74.

สำนักควบคุมโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคเบาหวาน. 2553. Available from: URL: http://www.thairncd.com/.Retrievedaygust, 20, 2010.

สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติการคัดกรองและดูแลรักษาจอประสาทตาผิดปกติจากเบาหวาน และแนวทางการวินิจฉัย ป้องกัน และรักษาโรคไตจากเบาหวาน. 2548; 5-7.

วราภณ วงศ์ถาวรวัฒน์, วิทยา ศรีดามา, สมพงษ์ วุวรรณวลัยกร, อินซูลิน, ใน: ธิติสนับสนุนบุญ บรรณาธิการ. การดูแลรักษาเบาหวานแบบองค์รวม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549; 99-108.

วลัยพร ยติพูลสุข. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในจังหวัดแพร่. Available from: URL: http://www.thairncd.com/.RetrievedAugust, 20, 2010.

อรุณี รัตนพิทักษ์. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเบาหวาน. ใน: สมเกียรติ โพธิสัตย์, วรรณี นิธิยานันท์, อัมพา สุทธิจำรูญ, ยุพิน เบ็ญจสุรัต์วงศ์, บรรณาธิการ. การให้ความรู้เพื่อจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเอง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2553; 19-33.

Burns, N., & Grove, K.S. The practice of nursing research conduct. Critique, and Utilization 5th ed. Elsevier. Sanders; 2005.

Chen M.S., Kao C.S. Chang C.J., Wu T.J., Fu C.C, Chen C.J. et al. Prevalence and risk factors of diabetic retinopathy among Non insulin-dependent subjects. Am J Opthalmol 1992; 114(6): 723-30.

International Diabetes Federation. What is diabetes. Available from: URL: http://www.idf.org/home. RetrievedAugust, 15, 2009.

Lim A, Stewart J, Chui TY, Lin M, Ray K, Lietman T, et al. Prevalence and risk factors of diabetic retinopathy in a milti-racial underserved population. Opthalmic Epidermiol
2008; 15(6): 4029.

Prodeepa R, Anitha B, Mohan V, Ganesan A, Rema M. Risk Factors for diabetic retinopathy in a south Indian Type 2 diabetic population in the Chennai Urban Rural Epidemiology Study (CURES). Diabet Med 2008; 25(5): 36-42.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-21

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป