ความชุกของภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดโรงพยาบาลศรีสังวาล จังหวัดแม่ฮ่องสอน
คำสำคัญ:
ภาวะขาดออกซิเจน, โรงพยาบาลศรีสังวาลย์บทคัดย่อ
ภาวะการขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดเป็นภาวะฉุกเฉินที่พบได้บ่อยซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการตายและความพิการในทารกที่ยังคงพบได้เสมอในโรงพยาบาลหลายแห่งในประเทศไทย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการดูแลในระหว่างการคลอด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ป้องกันได้ การศึกษานี้จัดทำขึ้นเพื่อหาความชุกและปัจจัยที่ส่งผลให้ทารกแรกเกิดขาดออกซิเจนโดยเป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (Retrospective study) ในสตรีตั้งครรภ์ที่คลอดทารกในโรงพยาบาลศรีสังวาลย์ ในช่วงเวลา 1 ตุลาคม 2550 ถึง 30 กันยายน 2553 จำนวน 2,394 ราย โดยศึกษาปัจจัยของการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด ซึ่งหมายถึง ทารกที่มี Apgar score แรกเกิดที่ 1 นาทีน้อยกว่าหรือเท่ากับ 7 ผลการศึกษาพบว่า อัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดปี 2551-2553 คือ 131.24, 134.03 และ 87.78 ต่อพันการเกิดมีชีพตามลำดับ สาเหตุที่พบได้แก่ การฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์ และการส่งต่อมาจากโรงพยาบาลชุมชน ภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ระยะการคลอดที่ยาวนาน การคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศการคลอดทารกท่าก้นทางช่องคลอด ภาวะทารกคับขันในครรภ์ และภาวะการมีขี้เทาปนในน้ำคว่ำ ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ ควรคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวเพื่อป้องกันการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดต่อไผ
References
ชาญ พานิชวัฒนะ, สุจินต์ ธรรมดี, เต็มดวง เข้มแข็ง และประภาภรณ์ เลี้ยงเชื้อ. ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกคลอดในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์. วารสารแพทย์เขต 8. 2543; 2(3): 53-66.
ธีระ จิตต์วโรดม. ภาวะขาดออกซิเจนเมื่อขณะเกิดของทารกที่คลอดในโรงพยาบาลสตูล. วารสารวิชาการเขต 12. 2545; 13(3): 43-54.
ธีระพันธ์ ทวีธรรมสถิต. ปัจจัยเสี่ยงของการคลอดทารกคะแนนแอปการ์ที่ 1 นาทีน้อยกว่าหรือเท่ากับ 7 ในโรงพยาบาลมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร. สรรพสิทธิเวชสาร 2547; 25(4): 273-82.
บรรพจน์ สุวรรณชาติ. ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์. ศรีนครินทร์เวชสาร 2547; 19(4): 233-40.
มนตรี ภูริปัญญาวานิช. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลเสนา. J Health Res 2008; 22(2): 83-9.
ลาวัลย์ ปัจจักขภัติ. ปัจจัยเสี่ยงทางสูติศาสตร์ต่อการเกิดคะแนนแอปการ์ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 7 ที่หนึ่งนาทีหลังคลอดและผลกระทบที่มีต่อการครบกำหนดของโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารการแพทย์เขต 11. 2545; 16: 21-33.
วราภรณ์ แสงทวีสิน, วิบูลย์ กาญจนพัฒนกุล และสุนทร ฮ้อเผ่าพันธ์. ปัญหาทารกแรกเกิด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ธนเพลส จำกัด, 2550.
วันชัย วงศ์สุวรรณ. ปัจจัยเสี่ยงที่มีต่อการขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลเสนา. วารสารวิชาการรพ.ศ./รพท.เขต 1. 2547; 6(1): 28-33.
สุธิต คุณประดิษฐ์. ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลลำพูน. วารสารแพทย์เขต 8. 2546; 11: 131-43.
สุนทร ฮ้อเผ่าพันธ์. Definding the scope of perinatal asphyxia. ใน: สุนทร ฮ้อเผ่าพันธ์ บรรณาธิการ. Neonatology. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส จำกัด, 2007: 76-97.
สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ. ข้อเสนอแนะการดูแลทางสูติกรรมและกุมารเวชกรรเพื่อป้องกันและรักษาภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2542: 1-26.
อรรถพล เกิดอรุณสุขศรี. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะการขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลราชพิพัฒน์. วชิรเวชสาร. 2547; 48(2): 79-86.
Chaturvedi P, Yadav B, Bharambe MS. Delivery room management of neonates born through meconium stained amniotic fluid. Indian Pediatrics 2000; 37: 1251-5.
Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Hauth JC, Glistrap III LC, Wenstrom KD. Management of neonates born through meconium stained amniotic fluid. The Newborn Infant. Williams Obsterics 22th ed. New York: McGraw-hill, 2005: 633-48.