ระบบการติดตามผู้ที่มีความผิดปกติจากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่มีประสิทธิภาพในโรงพยาบาลสันป่าตองจังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพของระบบการติดตามมะเร็งปากมดลูก, การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ วัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลขั้นตอนวิธีการและการจัดทำระบบการติดตามผู้ที่มีความผิดปกติจากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่มีประสิทธิภาพ โดยการเก็บข้อมูลจากคลินิกเอกชน สถานีอนามัย และโรงพยาบาลสันป่าตอง อำเภอสันป่าตอง ในระหว่างเดือนมกราคม 2547 ถึง เดือนธันวาคม 2551 ประชากรคือ กลุ่มผู้ที่มีความผิดปกติจากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 568 คน การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน 1) การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา 2) การดำเนินการและ 3) การประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการพรรณนา และข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติร้อยละ
ผลการศึกษา ผู้ที่ไม่กลับมาติดตามการรักษาได้รับการติดตามเพื่อสัมภาษณ์ทุกราย และจำแนกเป็น 2 กลุ่มดังนี้ I) กลุ่มที่มีผลการตรวจคัดกรองผิดปกติที่ไม่กลับมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษา 67 คน (ร้อยละ 11.8) พบว่าเกิดจากสาเหตุดังนี้ 1) ไม่เคยได้รับการติดตาม ร้อยละ 37.2 2)เคยได้รับการติดตามแต่ไม่กลับมาพบแพทย์เพื่อรักษา เนื่องจากไม่เข้าใจข้อมูลของการติดตาม ร้อยละ 33.3 รองลงมาคือ ยังไม่ว่าง, คิดว่าไม่เป็นอะไร และมีเหตุผลอื่น ๆ ร้อยละ 28.6, 21.4 และ 16.7 ตามลำดับ สำหรับความผิดปกติที่พบในกลุ่มนี้สูงสุดคือ ให้ผลทางเซลล์วิทยาในกลุ่ม ASC-US, LSIL, HSIL, ASC-H และ AGUS ร้อยละ 58.2, 20.9, 13.4, 4.5 และ 3.0 ตามลำดับ ในกลุ่มนี้เพื่อติดตามผู้ป่วยมาตรวจพบผลทางพยาธิวิทยาเป็นมะเร็งระยะเริ่มแรกร้อยละ 40.3 และมะเร็งระยะลุกลามร้อยละ 7.5 และ II) กลุ่มที่พบรอยโรคภายในเยื่อบุปากมดลูกหลังการรักษาแล้วไม่กลับมาติดตามผล 111 คน (ร้อยละ 19.5) จำแนกตามสาเหตุดังนี้ 1) กลับมาตรวจติดตามผลการรักษาไม่ครบตามคำแนะนำ ร้อยละ 8.1 2) ไม่เคยได้รับการนัดร้อยละ 19.8 และ 3) เคยได้รับการนัดให้มาตรวจติดตามผลแต่ไม่มาตรวจตามนัดร้อยละ 72.1 โดยมีเหตุผลดังนี้ คือ ไปรักษาที่อื่น ร้อยละ 48.3 รองลงมาคิดว่ารักษาหายแล้ว ยังไม่ว่าง และเหตุผลอื่น ๆ สำหรับกลุ่มนี้ เมื่อติดตามมาตรวจพบผลทางพยาธิวิทยาเป็นมะเร็งระยะเริ่มแรก ร้อยละ 21.6 และเป็นมะเร็งระยะลุกลาม ร้อยละ 1.8 อย่างไรก็ตาม หลังการให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้ป่วย ร่วมกับการพัฒนาระบบการติดตามให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เมื่อสิ้นสุดการวิจัยพบว่า อัตราการกลับมาติดตามการรักษา เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 100
เสนอแนะ การพัฒนาระบบการติดตามและการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเหมาะสม สามารถลดอัตราของการไม่กลับมาติดตามการรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น
References
ชำนาญ เกียรติพีรกุล. การรักษารอยโรคภายในเยื่อบุปากมดลูก. ใน จตุพล ศรีสมบูรณ์ และ ประภาพร สู่ประเสริฐ, บรรณาธิการ. Cervical Cancer Prevention and Treatment. เชียงใหม่: จรัสธุรกิจการพิมพ์, 2551: 55-67.
สัญชัย บัลลังก์โพธิ์ และ สมเกียรติ ศรีสุพรรณดิฐ. การตรวจมะเร็งและมะเร็งปากมดลูกระยะแรกเริ่ม. ในสมเกียรติ ศรีสุพรรณดิฐ, บรรณาธิการ. มะเร็งวิทยานรีเวชรามาธิบดี. กรุงเทพฯ: อาดีพี,2531: 37-65.
จตุพล ศรีสมบูรณ์. มะเร็งปากมดลูกการวินัจฉัยและการรักษา. กรุงเทพฯ: พี.บี.ฟอเรน บุ๊คเซนเตอร์; 2547.
เกรียงศักดิ์ สาลีผล. ผลการรักษาผู้ป่วย Low-grade Squamous Intraepithelial Lesion ของปากมดลูกโดยการจี้ด้วยความเย็นเป็นระยะ. พุทธชินราชเวชสาร. 2549; 23(3): 291-297.
สุวิทย์ จิตภักดีบดินทร์. รายงานการวิจัยประสิทธิภาพของระบบการติดตามผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการตรวจมะเร็งปากมดลูกโดยวิธีเซลล์วิทยาของโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ของแก่น: ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลศรีนครินทร์มหาวิทยาลัยของแก่น, 2540.
ธีระ ทองสง, จตุพล ศรีสมบูรณ์ และ อภิชาต โอฬารรัตนชัย. มะเร็งปากมดลูกระยะก่อนลุกลาม. ใน ธีระ ทองสง, จตุพล ศรีสมบูรณ์ และ อภิชาต โอฬารรัตนชัย, บรรณาธิการ. นรีเวชวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พีบี.ฟอเรน บุ๊คเซนเตอร์, 2539: 295-308.
จตุพล ศรีสมบูรณ์. มะเร็งวิทยานรีเวช. กรุงเทพฯ: พี.บี ฟอเรค บุ๊คเซนเตอร์; 2540.
บัณฑิต ชุมวรฐายี, วันเพ็ญ อึงพินิจพงศ์, สงวนโชค ล้วนรัตนากร, พิสมัย ยืนยาว และ พิไลวรรณ กลีบแก้ว. ความสำคัญทางคลินิกของ Atypical Squamous Cell of Undetermined Significance จากการ ตรวจเซลล์วิทยาของปากมดลูก. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2545; 17(3): 191-198.
สมยศ นาวีการ. การพัฒนาองค์กร: การบริหารสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: บรรณากิจการพิมพ์. 2536.
ทัศนีย์ สันติพงศ์ศุภกร และ มาสินี ไพบูลย์. ประสิทธิภาพของระบบการนัดผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางเซลล์วิทยาห้องตรวจนรีเวชกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร, 2552; 24(2): 112-116.
วิรัช วุฒิภูมิ, สายบัว ชี้เจริญ และ รักชาย บุหงาชาติ. การตัดปากมดลูกด้วยป่วงไฟฟ้า และ กล้องคอลโปสโคป. สงขลานครินทร์เวชสาร. 2542; 17(2): 133-138
ผ่องใส สิงหพัฬ. ความไว ความจำเพาะ และ ความแม่นยำ ในการตรวจวินิจฉัยภาวะก่อนเป็นมะเร็ง หรือนลินี เดียววัฒนาวิวัฒน์. ความผิดปกติของเซลล์เยี่ยบุปากมดลูกในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2551; 17(3): 433-441.
สายบัว ชี้เจริญ. ภาวะระยะก่อนลุกลามของมะเร็งปากมดลูก. ในหเทิญ ถิ่นธารา, ฐิติมา สุนทรสัจ, บรรณาธิการ. นรีเวชวิทยา. สงขลา: ลิมบราเดอร์การพิมพ์, 2546: 46-166.